เดลินิวส์
วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม 2021
ทำความรู้จัก ‘กลุ่มเส้นด้าย’ …ไม่ควรมีใครต้องตายเพราะระบบอีกแล้ว และไม่ควรต้องมีใครนอนรอวันตาย
หลังพิธีศพของ อัพ-กุลทรัพย์ วัฒนผล อดีตนักกีฬา E-Sports ที่ต้องเสียชีวิตจากโควิด-19 อย่างโดดเดี่ยวในที่พัก เพราะไม่สามารถติดต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษาได้ และต้องนอนรอคอยเตียงจากโรงพยาบาล เขย่าหัวใจใครหลายคนให้รู้สึกคับข้องใจ และกลายมาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มประชาชนอาสา ภายใต้ชื่อ “กลุ่มเส้นด้าย” กับภารกิจช่วยเหลือผู้คนในวิกฤติโควิด-19
ย้อนกลับไป 3 เดือนที่แล้ว หลังพิธีศพของ
อัพ-กุลทรัพย์ วัฒนผล อดีตนักกีฬา E-Sports และหัวหน้าแคลน VGB (Vagabond Team) ที่ต้องเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยวในที่พักของตนเองจากโควิด-19 จากการที่ไม่สามารถติดต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษาได้ และต้องนอนรอคอยเตียงรักษาจากโรงพยาบาล จนที่สุดก็ต้องเสียชีวิตลงไปในแบบที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น แน่นอนว่านอกจากความเศร้าที่ห่มคลุมครอบครัว คนใกล้ชิด และคนที่ได้ติดตามเรื่องราวนี้แล้ว ยังเขย่าหัวใจใครหลายคนให้รู้สึกคับข้องใจ เพราะไม่ใช่จะมีแค่กรณีของอัพ-กุลทรัพย์ เท่านั้น แต่กลับเกิดกรณีลักษณะนี้ขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันอีกหลาย ๆ กรณี ที่ดูสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับคนบางกลุ่มที่ดูเหมือนจะได้รับอภิสิทธิ์มากกว่าคนไทยอีกหลายคน
อัพ-กุลทรัพย์ วัฒนผล เสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว
เรื่องนี้ได้กลายมาเป็นแรงผลักดันทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มประชาชนอาสาภายใต้ชื่อ
“กลุ่มเส้นด้าย”
ขึ้นเมื่อวันที่ 27 เม.ย.2564 หรือหลังพิธีศพของอัพ-กุลทรัพย์ เพียงแค่ 2 วันขึ้นมา เพื่อเป็น
“เส้นให้กับคนที่ไม่มีเส้น” ในสังคมไทย โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น เส้นด้ายก็จะแยกย้ายสลายตัวกันไปตามเส้นทางของแต่ละคน โดยไม่มีใครคาดคิดเลยว่า…ด้ายเส้นนี้จะถักทอต่อมายาวนานขนาดนี้
ภูวกร ศรีเนียน–
คริส โปตระนันทน์ ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเส้นด้าย
สถานการณ์วันนี้ไปไกลกว่าที่คิด
“วันนี้กับวันนั้นสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปมากอย่างที่เราไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ประเทศไทยจะเดินมาถึงจุดนี้ได้ ตอนนั้นเส้นด้ายเกิดขึ้นเพราะต้องการเป็นคนทำหน้าที่จับซ้ายให้มาเจอขวา จับขวาให้มาเจอซ้ายเท่านั้น เนื่องจากวันนั้น เตียงไม่เต็ม รถไม่เต็ม แต่คนไข้กลับหาเตียงไม่เจอ หารถไม่เจอ ทั้งที่ตอนนั้นระบบสาธารณสุขทุกอย่างยังโอเคดีหมด วันนั้นเส้นด้ายก็เลยเกิดขึ้นมาเพราะอยากจะเป็นตัวประสานเรื่องนี้ให้ เพราะวันนั้นทรัพยากรทุกอย่างยังมีพร้อม แต่มันมีอะไรบางอย่างที่ทำให้สองฝั่ง มันไม่ได้มาเจอกัน”
คริส โปตระนันทน์
คริส โปตระนันทน์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเส้นด้าย จั่วหัวเรื่องนี้ไว้ เขาบอกว่า ในวันนั้น เส้นด้ายแค่จับรถที่ไม่ได้ใช้มาทำเป็นรถขนส่งคนไข้ให้กับคนที่ไม่สามารถหารถไปส่งที่โรงพยาบาลได้ หรือแค่เอาโทรศัพท์ที่ไม่ได้ใช้งานมาทำเป็นคอลเซ็นเตอร์ เพื่อช่วยรับเรื่องจากประชาชนและประสานงานกับโรงพยาบาล เพื่อให้เขาได้เข้ารับการรักษา แต่ไม่ใช่กับสถานการณ์วันนี้ ที่เปลี่ยนไปจากวันนั้นค่อนข้างมาก ซึ่งวันนี้เตียงคนไข้เต็มหมดแล้ว ทั้งสีเขียว สีเหลือ และสีแดง คริส สมาชิกกลุ่มเส้นด้ายฉายภาพสถานการณ์วันนี้ที่เปลี่ยนไป พร้อมกับระบุว่า วันนี้ต้องยอมรับว่า ระบบสาธารณสุขล้นจริง ๆ ชนิดที่ไม่มี รพ.ไหนที่ยังมีเตียงว่างอยู่เลย สวนทางกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลัก 13,000-14,000 คนต่อวัน ซึ่งสำหรับเขามองว่า ตัวเลขที่ประกาศนี้ น่าจะน้อยเกินไปกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น ที่ตัวเลขจริง ๆ ต่อวันน่าจะมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่า 20,000 คนเป็นอย่างน้อย และมีโอกาสที่จะไต่พุ่งขึ้นไปถึงหลัก 3-4 หมื่นคนในอนาคต
รถตรวจปอดดึงคนเข้าสู่ระบบรักษา
จากสถานการณ์น่าหวาดกลัวข้างต้น
คริส บอกว่า ยิ่งถ้าเราไม่ทำอะไรกันเลย เขาคิดว่าตัวเลขนี้ไปถึงอย่างแน่นอน ซึ่งเส้นด้ายทุกคนได้คุยกันว่า ทุกคนจะพยายามเพื่อไม่ให้ไปถึงจุดนั้นให้ได้ ทำให้ตอนนี้จึงทำโปรเจคท์ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเชิงรุกในชุมชน เอาแบบทั้งชุมชนจริง ๆ เลย ไม่เหมือนกับของภาครัฐ ที่บอกว่าตรวจเชิงรุกในชุมชน แต่กลับมีการจำกัดคิว แต่ของเราที่คิดไว้คือ ถ้าจะตรวจก็ตรวจให้คลีนทุกคนเลย ใครเป็นจะได้รู้ จะได้แยกตัวออกมาเลย รวมถึงการจัดทำ
“โครงการรถตรวจปอด” ซึ่งสาเหตุที่ทำเรื่องนี้เพราะกลุ่มเส้นด้ายเห็นว่าระบบที่มีอยู่ ไม่รองรับตอบโจทย์กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ก็เลยนำรถเอกซเรย์ออกมาให้บริการกับประชาชน เพื่อถ่ายรูปเอกซเรย์ให้กับทุกคน ซึ่งข้อดีของวิธีนี้คือสามารถตรวจเชิงรุกผู้ติดเชื้อได้เร็วมากขึ้น เพราะใช้เวลาต่อไม่นาน แถมค่าใช้จ่ายไม่สูง เพื่อที่อย่างน้อยจะได้รู้ว่าใครติดเชื้อแล้ว เพราะตอนนี้แค่รู้ว่าใครติดเชื้อไม่พอ แต่ต้องรู้ว่าใครบ้างที่เชื้อเริ่มลงปอดแล้วด้วย
รถเอ็กซ์เรย์
“ผมไม่รู้ว่าทุกคนรู้หรือไม่ว่า ผู้ป่วยที่ลงทะเบียน
Home Isolation นี่ จำนวนมากไม่ได้รับการเอกซเรย์นะ แล้วเรื่องของผลการตรวจแบบ RT-PCR นี่ก็ยังเป็นปัญหามาก เพราะคนเข้าไม่ถึง เพราะมันมีจำกัด ก็เลยทำให้แม้จะมีผลตรวจ Rapid Antigen Test ก็ยังเข้ารับการรักษามาได้ เพราะเขาบอกว่ามันไม่มาตรฐาน ที่สุดคนก็ต้องไปดิ้นรนต่ออยู่ดี ซึ่งกว่าจะหาตรวจได้ 3-4 วัน รอผลตรวจอีก 3-4 วัน ป่านนั้นเชื้อมันลงปอดไปหมดแล้ว มันไม่ทันการ เราก็เลยมีรถตรวจปอด เพื่อที่จะเอาผลนี้ให้ประชาชนนำไปใช้เพื่อให้มีน้ำหนักมากขึ้น” คริสเล่าถึงโปรเจคท์ใหม่โปรเจคท์นี้ของเส้นด้าย
ภูวกร ศรีเนียน
ปัญหายิ่งซับซ้อน-กฎยิ่งต้องเรียบง่าย
ด้าน
ภูวกร ศรีเนียน ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเส้นด้ายอีกคน เสริมเรื่องนี้ว่า เรื่องผลตรวจ RT-PCR นี้เป็นปัญหามากในขณะนี้ และสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาจากกลไกที่รัฐใช้อยู่ ที่ทั้งเพิ่มความลำบากให้กับคน ทั้งทำให้ปัญหายิ่งซับซ้อนมากขึ้น แถมยังไม่ทันกับสถานการณ์ที่พัฒนาไปเร็วมากทุกวันอีกด้วย โดย ภูวกร ย้ำว่า สิ่งที่อยากฝากไปถึงเจ้าภาพที่มีหน้าที่ดูแลประชาชนมาก ๆ คือ ความตั้งใจในการดูแลประชาชน โดยขอวิงวอนไว้เลยว่า ระเบียบไม่ได้สำคัญไปกว่าความตาย ถ้าหากต้องรักษาระเบียบแล้ว ทำให้คนตาย ขอให้ก้าวข้ามระเบียบเหล่านั้นไปเถอะ ซึ่งนาทีนี้เป็นแบบนั้นจริง ๆ เพราะในขณะที่มีคนตายเพิ่มขึ้นทุกวัน มีคนตายตามถนน มีคนนอนจมกองปัสสาวะและอุจจาระตาย แต่เวลานี้เรามัวมาแต่เถียงกันเรื่องผลตรวจมาตรฐานไม่มาตรฐาน ซึ่งกลายเป็นว่าคนป่วยจะได้เข้าระบบหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่อาการป่วย แต่กลับอยู่ที่มีผลตรวจมาตรฐานที่ราชการรองรับหรือไม่มีเท่านั้น ซึ่งสถานการณ์จริงเวลานี้ มันหาได้ยากมาก นั่นก็เลยทำให้ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่แม้อาการจะเปลี่ยนจากกลุ่มสีเหลืองตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มเหล่านี้รอเวลาไปเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีแดง ถ้าไม่ได้ถูกดึงเข้าไปสู่ระบบในเร็ววัน
ผู้คนล้มตายเป็นใบไม้ร่วง
“ไม่ควรมีใครต้องตายเพราะระบบอีกแล้ว และไม่ควรต้องมีใครนอนรอวันตาย ทั้งที่มันยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกมากมายที่น่าจะพอช่วยเขาได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้กลุ่มเส้นด้ายทำรถตรวจปอดขึ้น เพราะสนามตรวจของรัฐที่มีอยู่มันน้อยจริง ๆ อย่างน้อยก็ช่วยให้คนที่มีผลตรวจ
Antigen test แต่ไม่มีผลตรวจอื่น มีผลเอกซเรย์ปอดไปใช้ยื่นกำกับเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้เขาถูกดึงเข้าสู่ระบบการรักษาที่ดีเพียงพอ หรือไม่ก็อย่างน้อย รถตรวจปอดนี้น่าจะช่วยทำให้คำถามของเราดังขึ้ไปสู่สังคมว่า อันนี้มากพอที่จะพิจารณาได้หรือยัง เพื่อเอาเขาเข้าระบบได้เสียที ผมมองว่าตอนนี้คนไทยเหมือนอยู่ในสถานการณ์เขื่อนแตก ใครแข็งแรงก็พยุงคอลอยไป ส่วนใครไม่ไหวก็ต้องจมลงไปใต้น้ำ ซึ่งถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงวันนี้ อีก 3 เดือนข้างหน้าจะเลวร้ายกว่านี้มาก”
ภูวกร ย้ำเรื่องนี้
“ศูนย์รอยต่อ” ช่วยผู้ป่วยเหลือง-แดง
จากสถานการณ์วันนี้ ที่มีกรณีผู้ป่วยต้องเสียชีวิตในบ้าน ตายข้างถนน ทำให้กลุ่มเส้นด้าย และพันธมิตรจากหลายภาคส่วนผลักดันโปรเจคท์
“ศูนย์รอยต่อ” เพื่อดูแลผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเหลือง สีเหลืองเข้ม จนถึงสีแดง ระหว่างที่รอเข้ารับการรักษา เพื่อพยุงชีวิตให้อยู่รอดในระหว่างที่รอเข้าสู่ระบบการรักษาจากภาครัฐ โดยสถานที่ตอนนี้
คริส บอกว่า น่าจะเป็นที่ จ.ปทุมธานี โดยได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในเรื่องของสถานที่ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ต้องตั้งศูนย์ฯ นี้ขึ้น คริส เล่าว่า ตอนนี้ท�
Related Keywords