ส่งเสริม

ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในไทย สะท้อนผ่านค่าไฟ 45.43 สต.ต่อหน่วย


อาทิตย์ 18 กรกฎาคม 2564
ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในไทย สะท้อนผ่านค่าไฟ 45.43 สต.ต่อหน่วย
18 กรกฎาคม 2564
| โดย ณัฐณิชา ดอนสุวรรณ
96
ผลพวงนโยบายรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน สะท้อนต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าปัจจุบันรวม 45 สตางค์ต่อหน่วย และผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศต้องมีส่วนร่วมรับภาระดังกล่าว ขณะที่กระทรวงพลังงาน คาดหวังว่า อนาคตภาระนี้จะลดลงตามการแข่งขันและเทคโนโลยีที่ถูกลง
การส่งเสริมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านการให้เงินสนับสนุนทั้งในรูปแบบการ
กำหนดส่วนเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้า (Adder) และ
การใช้เงินสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง (Feed-in-Tariff) หรือ FiT ตามนโยบายภาครัฐ
ล่าสุดใน
งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2564 คิดเป็นต้นทุนสะท้อนผ่านค่าไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องจ่าย อยู่ที่ 31.13 สตางค์ต่อหน่วย หรือ เป็นวงเงินรวม 18,302
ล้านบาท ซึ่งลดลงจากงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2564 ที่กระทบค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 33.28 สตางค์ต่อหน่วย หรือ คิดเป็นวงเงิน 19,934 ล้านบาท
อีกทั้ง ในงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2564 ที่อุดหนุน 31.13 สตางค์ต่อหน่วยดังกล่าว เป็นในส่วนของค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (FT) และยังมีการอุดหนุนพลังงานหมุนเวียนก่อนหน้านี้ที่ถูกคำนวณรวมอยู่ในค่าไฟฟ้าฐานอีก 14.30 สตางค์ต่อหน่วย (คำนวณไว้เมื่อปี 2558 รวมเป็นเงิน 8,284 ล้านบาท)
เท่ากับว่าใน
งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2564 ประเทศไทย มีต้นทุนการอุดหนุนค่าไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องจ่ายรวม 45.43 สตางค์ต่อหน่วย ( คิดเป็นเงินประมาณ 26,586
ล้านบาท )​ จากค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ย 3.61 บาทต่อหน่วย
โดยการอุดหนุนพลังงานหมุนเวียนที่มีแนวโน้มลดลงจากช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.2564 เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าระบบน้อยลง รวมทั้งความผันผวนของสภาพอากาศทำให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไม่เสถียรและลดลง ประกอบกับโครงการเดิมที่ได้รับเงินส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder)ในอัตราสูง ก็เริ่มทยอยหมดอายุลง
คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และในฐานะโฆษก กกพ. กล่าวว่าในปี 2564-2565 ยังมีโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่จะทยอยเข้าระบบเพิ่มเติม คือ
โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาลและสูบน้ำเพื่อการเกษตร(โครงการนำร่อง) จำนวน 50 เมกะวัตต์ กำหนดผลิตไฟฟ้าเข้าระบบ (SCOD) ภายใน 31 ธ.ค. 2564 ซึ่งโครงการนี้จะมีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าน้อย เนื่องจากเป็นการกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าต่ำ
รวมถึง ยังมี
โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก นำร่อง 150
เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการนี้อาจมีผลกระทบต่อค่าไฟบ้าง แต่ก็เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายภาครัฐ
ทั้งนี้ โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่ได้รับเงินส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ในอัตราที่สูงถึง 8 บาทต่อหน่วย ที่มีสัญญาระยะ 10 โดยกลุ่มสุดท้ายที่จะได้รับ Adder ซึ่งมีการผลิตไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2557 ที่ผ่านมา จะหมดอายุสัญญาในปี 2567 และจะช่วยให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนลดลงได้อีก

Related Keywords

Thailand , , Secretariat Office The Board , Nationala Dcsa Prayuth Chan , Policyk State , Secretariat Office , Light Sun , Place Education Hospital , Last Systemic , Board Director , Prayuth Chan , Minister Chairman , தாய்லாந்து , செயலகம் அலுவலகம் , பலகை இயக்குனர் , பிரயுத் சான் ,

© 2025 Vimarsana