comparemela.com


พฤหัสบดี 8 กรกฎาคม 2564
กูรูไต้หวันวิพากษ์กลยุทธ์วัคซีนโควิดไทย
8 กรกฎาคม 2564
536
กูรูไต้หวันวิพากษ์กลยุทธ์วัคซีนโควิดไทยว่า เป็นแผนการที่ดีเพื่อตอบสนองความต้องการวัคซีนภายในประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของวัคซีนที่ไทยรับจ้างผลิต แต่ในภาคปฏิบัติ ยังคงต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
นับถอยหลัง 98 วันตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประกาศเปิดประเทศ ทำให้ต้องเร่งการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อยเข็มแรกให้บประชาชน50 ล้านคนทั่วประเทศ ภายในสิ้นปี 2564
แต่กลยุทธ์ด้านวัคซีนที่รัฐบาลไทยนำมาใช้รับมือสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร “ชิต ลี” หรือเต๋อ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารบริษัทวีทีกรุ๊ป (VISION THAI) ในฐานะที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์และการตลาดต่างประเทศ (ประเทศไทย) ของสถาบันเพื่ออุตสาหกรรมสารสนเทศแห่งไต้หวัน (ไอไอไอ) กล่าวถึงกลยุทธ์วัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาลไทยว่า เป็นแผนการที่ดีเพื่อตอบสนองความต้องการวัคซีนภายในประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของวัคซีนที่ไทยรับจ้างผลิต
การที่บริษัทยายักษ์ใหญ่ในสหราชอาณาจักรและสวีเดนถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนให้กับโรงงานไทย ช่วยยกระดับคุณภาพและกำลังการผลิตของไทย ทั้งยังมีการตรวจสอบคุณภาพโดยบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) และจัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ โดยรวมแล้วจึงถือว่าเป็นรูปแบบการแบ่งงานที่ค่อนข้างดี
“แต่ในภาคปฏิบัติ ยังคงต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เช่นเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา วัคซีนที่ไทยรับจ้างผลิตมีการส่งมอบเพียง 3 ล้านกว่าโดสเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่ บริษัทแอสตราเซนเนก้าและบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ คงจะต้องเร่งหาวิธีรับมือให้จนได้” เต๋อกล่าว
แผนการฉีด-ความคืบหน้าของวัคซีนโควิด-19
แผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยรวมของไทยสามารถแบ่งออกเป็นการผลิตในประเทศ และการจัดซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งในส่วนของการผลิตในประเทศ แบ่งออกเป็นรับจ้างผลิต (OEM) และวิจัยและพัฒนาเอง สำหรับวัคซีนที่ไทยรับจ้างผลิตเป็นหลักในปี 2564 คือ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทแอสตร้าเซนเนก้ากับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ เริ่มผลิตเดือน มิ.ย. โดยจะผลิต 60 ล้านโดส คิดเป็น 40% ของความต้องการวัคซีนภายในประเทศ ส่วน 60% หรือประมาณ 90 ล้านโดสที่เหลือเป็นการจัดซื้อจากต่างประเทศ
ปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการอนุมัติแล้วในประเทศไทยมีทั้งหมด 6 บริษัท ได้แก่แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวคจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โมเดอร์นา ซิโนฟาร์ม และวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์
เป้าหมายการจัดซื้อวัคซีนของไทยในปีนี้คือ 100 ล้านโดส วัคซีนที่รัฐจัดหาให้ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นวัคซีนจาก5บริษัทได้แก่ แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน, สปุตนิก วี และไฟเซอร์
ปัจจุบันคนไทยได้รับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และซิโนแวคแล้วประมาณ 10 ล้านโดสคิดเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในสัดส่วน 10% และวัคซีนซิโนแวค 90%
วัคซีนทางเลือก
วัคซีนทางเลือกเป็นวัคซีนของ 2 บริษัทคือ วัคซีนโมเดอร์นา ที่สมาคมโรงพยาบาลเอกชนจะจัดซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ปริมาณรวม 10 ล้านโดส ซึ่งจะทยอยเข้ามาล็อตแรก 4 ล้านโดสในช่วงเดือนต.ค. วัคซีนของอีกบริษัทคือ วัคซีนซิโนฟาร์ม ที่ซื้อตรงจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ช่วงแรกรัฐบาลไทยไม่ทราบเกี่ยวกับการจัดซื้อวัคซีนนี้ ทำให้เกิดความสับสนอยู่บ้าง
ข้อมูลที่เปิดเผยโดยรัฐบาลบ่งชี้ว่า ประเทศไทยได้เจรจาจัดหาวัคซีนไว้แล้ว 105.5 ล้านโดส และจะจัดหาเพิ่มเติมให้ครบ 150 ล้านโดส ภายในปี 2565
วัคซีนที่ผลิตในไทย:รับจ้างผลิตและพัฒนาเอง
วัคซีนที่ไทยรับจ้างผลิต (OEM)
วัคซีนที่ผลิตในไทยแบ่งเป็น “รับจ้างผลิต (OEM)” กับ “วิจัยและพัฒนาเอง” ซึ่งในส่วนของการรับจ้างผลิตนั้นได้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นหลัก รับผิดชอบผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ และหนึ่งในนักลงทุนผู้อยู่เบื้องหลังบริษัทนี้คือ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จึงทำให้เกิดข้อสงสัยบางประการ
อย่างไรก็ตาม วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ไทยรับจ้างผลิต ตั้งเป้าผลิตที่ 200 ล้านโดส โดย 60 ล้านโดสจะใช้ในประเทศไทย ส่วนที่เหลือจะส่งออกไปต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ลาว และไต้หวัน
วัคซีนที่ไทยวิจัยและพัฒนาเอง
วัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดยคนไทยมี 2 ตัว ได้แก่ ChulaCov19 ของจุฬาฯ และNDV-HXP-S ของมหาวิทยาลัยมหิดล
ซึ่งมีชื่อเต็มว่า NDV-HXP-S Newcastle disease virus, HexaPro, and spike protein)

Related Keywords

Mexico ,Taiwan ,Philippines ,Thailand ,United Kingdom ,Texas ,United States ,Durban ,Kwazulu Natal ,South Africa ,Pennsylvania ,Ireland ,Russia ,Soviet ,Prayuth Chan ,Maha King ,John Anderson Mo ,Cass Basel ,Jason Mckee ,John Anderson ,Ireland College ,Organization Pharmacy Ethan ,Thailand The Institute ,Division Lx Or ,University ,Mo Durban Na Association Hospital ,Information Technologya Taiwan ,Consultants Bureau ,Augsburg Ford Motor Companya English Start ,Alcoaa University ,Union Europe ,Alcoa ,Alcoa David Thailand Telugu ,Alcoa David Thailand ,Information Technology ,United Kingdom Sweden ,Augsburg Ford Motor Company ,English Start ,South Division ,Buy Direct ,Philippines Cambodia Vietnam Malaysia Laos Taiwan ,Soviet Union Europe ,Professor Drew Man ,Psi Ferrari ,Professor Man ,Texas Oregon ,Brazil Mexico Vietnam Thailand ,மெக்ஸிகோ ,டைவாந் ,பிலிப்பைன்ஸ் ,தாய்லாந்து ,ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் ,டெக்சாஸ் ,ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,டர்பன் ,க்வஸூல்யூ நேட்டல் ,பென்சில்வேனியா ,ஐயர்ல்யாஂட் ,ரஷ்யா ,சோவியத் ,பிரயுத் சான் ,ஜேசன் மகீ ,ஜான் ஆண்டர்சன் ,ஐயர்ல்யாஂட் கல்லூரி ,பல்கலைக்கழகம் ,தொழிற்சங்கம் யூரோப் ,அல்கோவா ,தகவல் தொழில்நுட்பம் ,ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் ஸ்வீடந் ,தெற்கு பிரிவு ,வாங்க நேரடி ,ப்ரொஃபெஸர் மனிதன் ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.