ความเจ็บ

ความเจ็บปวดและการแก้ไขในวิกฤติต้มยำกุ้ง VS โควิด-19 | ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


อังคาร 6 กรกฎาคม 2564
โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR
6 กรกฎาคม 2564
77
ความเจ็บปวดและการแก้ไขในวิกฤติต้มยำกุ้ง VS โควิด-19
จนถึงวันนี้เป็นเวลาประมาณปีครึ่งแล้ว ตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด-19 ดูเหมือนว่าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น
 à¹à¸•à¹ˆà¸à¸¥à¸±à¸šà¹à¸¢à¹ˆà¸¥à¸‡à¹à¸¥à¸°à¹„ม่รู้ว่าโรคจะติดต่อร้ายแรงไปอีกนานแค่ไหน ซึ่งก็จะมีผลให้เศรษฐกิจตกต่ำลงต่อไป จนอาจจะทำให้ประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะที่มีรายได้น้อยประสบกับปัญหาจน “รับไม่ไหว” à¸œà¸¡à¹€à¸­à¸‡à¹€à¸„ยพูดว่า เวลาของการเติบโตทางเศรษฐกิจของเราอาจจะ “หายไป 3 ปี” แต่ลึกๆ แล้วก็มีโอกาสที่จะกลายเป็น 4 ปี ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น นี่ก็จะเป็นวิกฤติที่รุนแรงเท่าๆ กับวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ปี 2540 ที่เศรษฐกิจไทย “หายไปประมาณ 4 ปี” แต่ถ้ามองในมุมของจำนวนคนที่ถูกกระทบจากวิกฤติซึ่งไม่ได้มีแค่ทางเศรษฐกิจ แต่ในด้านสังคมและอื่นๆ ด้วยแล้ว à¸œà¸¡à¸„ิดว่าวิกฤติโควิด-19 นั้นรุนแรงกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งมาก à¸¥à¸­à¸‡à¸¡à¸²à¸—บทวนความหลังกันในฐานะของคนที่เคยอยู่ในท่ามกลางวิกฤติทั้ง 2 ครั้ง
วิกฤติต้มยำกุ้งนั้น เป็น “วิกฤติคนรวย” นั่นก็คือ คนรวยหรือคนที่มีฐานะดี โดยเฉพาะที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ที่สามารถกู้เงินโดยเฉพาะดอลลาร์จากต่างประเทศเข้ามาใช้ลงทุน ประสบกับปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อมีการลดค่าเงินบาทซึ่งทำให้เกิดภาวะล้มละลาย ซึ่งส่งผลให้สถาบันการเงินล้มตามไปด้วย ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินที่หล่อเลี้ยงธุรกิจทั้งประเทศหายไปเกือบหมด เศรษฐกิจโดยเฉพาะจากบริษัทใหญ่ๆ “หยุดชะงัก” à¸ªà¹ˆà¸§à¸™à¸§à¸´à¸à¸¤à¸•à¸´à¹‚ควิด-19 นั้น à¸šà¸£à¸´à¸©à¸±à¸—ขนาดใหญ่และคนรวยมีปัญหาน้อย ยอดขายอาจจะลดลงบ้างแต่พวกเขาก็ยังมีกำไร à¸„นที่เจ็บหนักก็คือ “คนจน” หรือคนชั้นกลางใน บางภาคของเศรษฐกิจ à¹€à¸Šà¹ˆà¸™à¸—ี่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเดินทางและความบันเทิงที่มีการชุมนุมผู้คน เพราะโควิด-19 ทำให้กิจการเหล่านั้นถูกปิดและพวกเขาไม่สามารถหางานอื่นที่ให้ผลตอบแทนเท่ากันได้
ในช่วงวิกฤติปี 40 นั้น ผมเป็นพนักงานของสถาบันการเงินที่ในที่สุดก็ “ถูกปิด” ในช่วงเวลาก่อนที่จะถูกปิดซึ่งกินเวลาเป็นปีๆ นั้น ผมไม่ได้เดือดร้อนอะไรนัก ผมยังได้เงินเดือนเหมือนเดิม งานที่ทำนั้นอาจจะน้อยลง เนื่องจากไม่มีเงินที่จะปล่อยกู้แล้ว งานที่ทำก็กลายเป็นการหาทางทำให้บริษัทรอดจากการล้มละลายซึ่งในที่สุดก็ไม่สำเร็จ เพราะ “ภาพใหญ่” ของประเทศไปไม่ไหวแล้ว ในช่วงนั้น สิ่งที่รบกวนจิตใจจริง ๆ ก็คือ “อนาคตเราจะเป็นอย่างไร” เกือบทุกเที่ยงวัน ผมก็มักจะเดินไปกินอาหารกลางวันย่านสยามสแควร์คนเดียว แล้วก็มองดูร้านค้า ทั้งด้านนอกและใน ชอปปิงมอลล์ ที่เหงาหงอยและหลายร้านก็ปิดร้าง คนชั้นกลางขั้นสูงหลายคนเริ่ม “เปิดท้ายขายของ” เอาเสื้อผ้าหรูหรือของใช้มีค่าใส่ท้ายรถหรูมาขายในชุมชนหรูเช่นย่านทองหล่อ ไม่มีใครบ่นว่า “ไม่มีจะกิน” อย่างในช่วงโควิดนี้
ออกจากงานในสถาบันการเงินผมก็สามารถได้งาน “ที่ปรึกษา” ในบริษัทสื่อสารขนาดใหญ่แทบจะทันที ดูเหมือนว่ากลุ่มคนที่ทำงานในสถาบันการเงินส่วนใหญ่ที่ถูกปิดจะสามารถเข้าไปทำงานให้กับบริษัทในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่กำลังดีขึ้นมากเนื่องจากค่าเงินบาทที่ลดลง ส่วนผู้ใช้แรงงานเองนั้น ในช่วงแรกที่ต้องตกงานก็อาจจะมีบ้างที่ “กลับบ้านต่างจังหวัด” ที่จะมีอาหารและที่อยู่ที่จะเอาตัวรอดได้ รัฐบาลเองนั้น ถ้าผมจำไม่ผิดก็มี “โครงการมิยาซาวา” ที่เป็นเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นจำนวนประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ที่จะหางานให้คนในท้องถิ่นทำ ผมยังจำได้ว่ามีญาติคนหนึ่งที่เป็น “แม่บ้าน” และก็ไม่ได้ยากจนหรือลำบากอะไรอุตส่าห์ไป “เรียน” การทำงานฝีมือของโครงการหนึ่ง
ในระดับของคนชั้นกลางกินเงินเดือนนั้น ผมเองถูกถามจากเพื่อนว่า เขามีเงินกู้บ้านและรถอยู่จะทำอย่างไร เพราะบริษัทเงินทุนที่กู้มาถูกปิดหรืออาจจะกำลังถูกปิด ถ้าผ่อนต่อจะเป็นปัญหาไหม พวกเขามีเงินและพร้อมที่จะผ่อน แต่ผ่อนไม่ได้ และอาจจะถือโอกาสไม่ยอมผ่อน เพราะคนให้กู้กำลังจะเจ๊ง ดังนั้น ลูกหนี้จำนวนมากในบัญชีของสถาบันการเงินอาจจะเป็น “หนี้เสีย” แต่จริงๆ แล้วพวกเขายังจ่ายหนี้ได้ ว่าที่จริงผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น ข้อสรุปของผมก็คือ คนจนและคนชั้นกลางส่วนใหญ่ไม่ได้เจ็บหนักอะไรนัก ในขณะที่คนรวยหรือเศรษฐีใหญ่จำนวนมากจนลง หรือมีความมั่งคั่งน้อยลงมาก เหตุเพราะบริษัท “ล่มสลà¸�

Related Keywords

Thailand , Taiwan , Japan , Toronto , Ontario , Canada , Congo , Si Lom , George Sochi , Alcoa The Company , Panasonic , Alcoa , International Council , Great Depression , Sping Mall , Alcoa David , Finance Division , New Thailand , Sin Thorn , New Taiwan , Thailand Meena , Buster Communist , Doctor Who , Big Jew , தாய்லாந்து , டைவாந் , ஜப்பான் , டொராண்டோ , ஆஂடேரியொ , கனடா , காங்கோ , சி லோம் , பானாசோனிக் , அல்கோவா , சர்வதேச சபை , நன்று மனச்சோர்வு , நிதி பிரிவு , புதியது தாய்லாந்து , புதியது டைவாந் , மருத்துவர் ஹூ ,

© 2025 Vimarsana