comparemela.com


อังคาร 6 กรกฎาคม 2564
บ.ญี่ปุ่นกว้านซื้อกิจการต่างแดนเพิ่ม 56%
6 กรกฎาคม 2564
94
บ.ญี่ปุ่นกว้านซื้อกิจการต่างแดนเพิ่ม 56% สะท้อนให้เห็นถึงภาวะอิ่มตัวของธุรกิจในประเทศ การลดลงของจำนวนประชากรเกิดใหม่ และการกระจายวัคซีนที่ครอบคลุมประชากรกลุ่มต่างๆได้มากขึ้นทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว
รีคอฟ บริษัทที่ปรึกษาด้านผนวกและควบรวมกิจการ เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทญี่ปุ่นกลับมาขยายธุรกิจในต่างแดนมากขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้มีการทำข้อตกลงผนวกและควบรวมกิจการ (เอ็มแอนด์เอ) นอกประเทศในช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย.จำนวน 182 ข้อตกลง เพิ่มขึ้น 56% และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยรวม 455% เป็น 2.16 ล้านล้านเยน (19,000 ล้านดอลลาร์)
การทำข้อตกลงซื้อกิจการในต่างประเทศเพิ่มขึ้นของบริษัทญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นถึงภาวะอิ่มตัวของธุรกิจในประเทศ การลดลงของจำนวนประชากรเกิดใหม่ และการกระจายวัคซีนที่ครอบคลุมประชากรกลุ่มต่างๆได้มากขึ้นทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ในแง่ดีว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว โดยบริษัทญี่ปุ่นเริ่มทำข้อตกลงเอ็มแอนด์เอก่อนจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขณะที่มีบริษัทญี่ปุ่นมากขึ้นที่พยายามสร้างความหลากหลายแก่ธุรกิจและขยายการลงทุนในต่างประเทศ โดยในปี 2562 มีการทำข้อตกลงครอบครองกิจการในต่างประเทศของบริษัทญี่ปุ่นโดยรวมสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 826 ข้อตกลง
เมื่อเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 บริษัทหลายแห่งชะลอการลงทุนในต่างประเทศเนื่องจากวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะซบเซาและกลัวว่าปัญหาการดิสรัปของระบบห่วงโซ่อุปทานโลกจะรุนแรงขึ้น ขณะที่ธุรกิจจำนวนมากให้ความสำคัญกับการปกป้องพนักงานและเก็บเงินสดไว้กับตัวให้ได้มากที่สุดแทนที่จะเพิ่มการลงทุนด้านต่างๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มมีการกระจายวัคซีนให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆทั่วประเทศ และเศรษฐกิจของบรรดามหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐและจีนเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัว การกว้านซื้อกิจการในต่างประเทศของบริษัทญี่ปุ่นก็เริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในไตรมาส2 การเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศขยับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. มีการทำข้อตกลงซื้อกิจการเพิ่มขึ้น 29%เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ขณะที่มูลค่าการซื้อกิจการโดยรวมเพิ่มขึ้น 9% ส่วนมูลค่าการทำข้อตกลงโดยรวมในไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 4.1 ล้านล้านเยน เทียบกับมูลค่าข้อตกลงโดยรวมปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ 4.4 ล้านล้านเยน
บิซิท(BIZIT)ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มจับคู่ด้านการลงทุนทางออนไลน์ในเครือบริษัทจีซีเอ คอร์ป บริษัทที่ปรึกษาด้านเอ็มแอนด์เอ กล่าวว่า “การเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศของบริษัทญี่ปุ่นเริ่มมีมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่มีบริษัทมากขึ้นเข้ามาใช้บริการบริษัทเราในช่วง2 -3เดือนที่ผ่านมา”
การเข้าซื้อกิจการใหญ่สุดในปีนี้คือบริษัทฮิตาชิ ทำข้อตกลงครอบครองกิจการโกลบอลลอจิก บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์สัญชาติสหรัฐในวงเงิน 9,600 ล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ มีบริษัทพานาโซนิก ที่ประกาศแผนเข้าครอบครองกิจการบริษัทบลู ยอนเดอร์ ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานสัญชาติสหรัฐ ในวงเงิน 7,100 ล้านดอลาร์ ถือเป็นการทำข้อตกลงครอบครองกิจการใหญ่สุดในรอบ10ปี
“ส่วนใหญ่ของการทำข้อตกลงเอ็มแอนด์เอของบริษัทญี่ปุ่น จะเป็นการซื้อกิจการบริษัทซอฟต์แวร์หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับไอทีของสหรัฐ”เคอิชิ ซากากิบารา ผู้จัดการแผนกทำข้อตกลงข้ามพรมแดนของนิฮอน เอ็มแอนด์เอ เซนเตอร์ ซึ่งเป็นบริษัทเอ็มแอนด์เอ อิสระรายใหญ่สุดของญี่ปุ่น กล่าว
ซากากิบารา กล่าวเพิ่มเติมว่า เหตุผลที่บริษัทญี่ปุ่นซื้อบริษัทซอฟต์แวร์สหรัฐเพราะซื้อกิจการได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการซื้อกิจการบริษัทที่เป็นผู้ผลิตในอุตสาหกรรม และมาตรการคุมเข้มด้านการเดินทางของประเทศต่างๆก็ทำให้บริษัทญี่ปุ่นไม่สะดวกที่จะเดินทางไปตรวจสอบบรรดาโรงงานผลิตในต่างประเทศ และเมื่อไม่มีโอกาสได้ตรวจสอบโรงงานที่ต้องการซื้อด้วยตาตัวเอง โอกาสที่จะซื้อกิจการบริษัทที่เป็นโรงงานผลิตจึงมีน้อยตามไปด้วย
กลุ่มบริษัทเพื่อการลงทุนด้านเทคโนโลยีชั้นนำของญี่ปุ่นอย่างซอฟต์แบงก์ กรุ๊ป ก็เข้าซื้อหุ้น 40% ในออโต้สโตร์ บริษัทหุ่นยนต์ที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติในโกดังสินค้า มีฐานดำเนินงานอยู่ในนอร์เวย์ ด้วยความหวังว่าจะชิงส่วนแบ่งตลาดโลจิสติกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19ที่กระตุ้นให้ผู้คนหันมาช็อปปิ้งทางออนไลน์มากขึ้น

Related Keywords

Norway ,Taiwan ,Japan ,United States ,Durban ,Kwazulu Natal ,South Africa ,Congo ,China ,Phrae ,Thailand ,Barcelona ,Comunidad Autonoma De Cataluna ,Spain ,Japanese , ,Japanese Bank ,Company Japan ,Daily Department ,Alcoa ,Japan Lake ,New Taiwan ,Japan Start ,Phrae Province ,Japanese Start ,Global Los ,Blue Canyon Durban ,Dark Top ,Auto Store ,Barcelona Chi ,நோர்வே ,டைவாந் ,ஜப்பான் ,ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,டர்பன் ,க்வஸூல்யூ நேட்டல் ,காங்கோ ,சீனா ,தாய்லாந்து ,பார்சிலோனா ,காமுனிடட தன்னாட்சி டி கடலுள் ,ஸ்பெயின் ,ஜப்பானிய ,ஜப்பானிய வங்கி ,நிறுவனம் ஜப்பான் ,தினசரி துறை ,அல்கோவா ,புதியது டைவாந் ,ஆட்டோ கடை ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.