comparemela.com


เปิดประเทศใน 120 วัน คงต้องต่อเวลา เมื่อวัคซีนไม่มาตามนัด เศรษฐกิจแย่
บันทึก
"พันธสัญญา" ด้วยวาจาที่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้อำนวยการ ศบค. ให้ไว้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 นั่นคือ เป้าหมาย
"เปิดประเทศภายใน 120 วัน" ...มาถึงวันนี้ผ่านมา 1 เดือน ส่อแววว่าอาจคงต้อง
"ขอต่อเวลา!"
ณ วันนั้น (16 มิ.ย. 64) ที่ประเทศไทยมียอดติดเชื้อรายใหม่ 2,331 ราย และเสียชีวิต 40 ราย ทาง "รัฐบาล" ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ นำทัพ ให้พันธสัญญาทางวาจากับเป้าหมาย
"120 วัน เปิดประเทศ" อะไรไว้บ้าง? เพื่อไม่ให้ "คุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์" ลืมเลือน จึงขอทบทวนคร่าวๆ คือ
1) ฉีดวัคซีนให้ประชาชนเฉลี่ย 10 ล้านโดสต่อเดือน หากวัคซีนเพียงพอ และ 2) ประมาณต้นเดือนตุลาคม 2564 ประชาชนจะได้ฉีดวัคซีนเข็ม 1 แล้ว 50 ล้านคน
แต่พอมาถึง... ณ วันนี้ (18 ก.ค. 64) เหลือเวลาไม่ถึง 100 วันแล้ว สำหรับเป้าหมาย
"120 วัน เปิดประเทศ" พร้อมอ้าแขนรับผู้เยี่ยมเยือนจากต่างแดน กลับกลายเป็นว่า สถานการณ์ในประเทศไทยขมุกขมัวไปด้วยมรสุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่แสนเลวร้ายและรุนแรงกว่าห้วงเวลา 1 เดือนที่แล้วหลายเท่า
ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 ยอดติดเชื้อรายใหม่ 11,397 ราย เสียชีวิต 101 ราย เฉลี่ยรอบ 7 วันที่ผ่านมา มียอดติดเชื้อสูงถึง 9,308 ราย และเสียชีวิตเฉลี่ย 88 ราย
ทำ "นิวไฮ" อย่างต่อเนื่องจนน่าหวาดหวั่น เมื่อพิจารณาช่วง 2 สัปดาห์จากข้อมูลของ Our World in Data ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 ก็พบว่า
แม้ประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่แต่ละวันน้อยกว่า "สหรัฐอเมริกา" แต่กลับมีอัตราการติดเชื้อต่อประชากร 1,000,000 คนนั้น "สูงกว่า"
สวนทางกับมหกรรมระดมฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่อยู่ๆ ก็เชื่องช้าลง ซึ่งนั่นไม่ใช่เพราะคนไทยไม่ยอมออกไป
"ถกแขนเสื้อ"
แต่เป็นเพราะสถานะการเดินทางของ "วัคซีน" ตอนนี้กลับไม่ยอมมาตามนัด!
แค่ 2 ข้อพันธสัญญาจากวาจาของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ให้ไว้ข้างต้นนั้น เมื่อเทียบเคียง "สถานการณ์จริง" ที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ก็พอประเมินเบื้องต้นได้แล้วว่า
"120 วัน เปิดประเทศ" คงต้องต่อเวลาเป็นแน่แล้ว...
ณ วันนั้น (16 มิ.ย. 64) พล.อ.ประยุทธ์ แถลงไว้ว่า รัฐบาลเจรจากับผู้ผลิตวัคซีน 6 รายแล้ว นั่นก็คือ ไฟเซอร์, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน, โมเดอร์นา, แอสตราเซเนกา, ซิโนแวค และซิโนฟาร์ม โดยลงนามทำสัญญาจองและสัญญาซื้อไปแล้ว 105.5 ล้านโดส
สอดคล้องกับแผนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ที่ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ให้ข้อมูลผ่านเวทีขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2564 ไว้ว่า วัคซีนซิโนแวค 10-15 ล้านโดส จะทยอยส่งมอบตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ทีละ 2-3 ล้านโดส ส่วนวัคซีนไฟเซอร์และวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน
ปริมาณไม่ได้ตามที่ "รัฐบาล" ต้องการ
แต่เป็นปริมาณที่ "ผู้ผลิต" จัดหาให้ได้มากที่สุดภายในปี 2564 แบ่งเป็น ไตรมาส 3 ไฟเซอร์ประมาณ 20 ล้านโดส และไตรมาส 3-4 จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ประมาณ 5 ล้านโดส
ขณะที่ วัคซีนแอสตราเซเนกา จนถึงห้วงเวลานั้น (4 มิ.ย. 64) รัฐบาลได้รับมาแล้ว 2.15 ล้านโดส
ที่บอกว่าจะฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชน 10 ล้านโดสต่อเดือน หาก
"วัคซีนเพียงพอ" ปรากฏว่า ผ่านมาครึ่งทางของเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ (1-17 ก.ค.) ฉีดวัคซีนโควิด-19 รวม 3.99 ล้านโดสเท่านั้น เฉลี่ยฉีดเพียงวันละ 2.5 แสนโดส
นั่นเท่ากับว่า "ตัวเลข" ที่เกิดขึ้นนี้เสมือนการยอมรับกลายๆ หรือไม่ว่า ณ วันนี้ (18 ก.ค.) ประเทศไทยมีวัคซีนโควิด-19 "ไม่เพียงพอ"
เมื่อเป็นแบบนั้นแล้ว พันธสัญญาด้วยวาจา
"ข้อ 2" ของ "รัฐบาล" ที่บอกว่า ประมาณต้นเดือนตุลาคม 2564 ประชาชนจะฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 แล้ว 50 ล้านคน คงเป็นไปได้ยาก...
ตอนนี้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 เท่าไรแล้ว?
ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 จากประชากรรวม 72 ล้านคน ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 1 แล้ว 10,780,432 คน หรือคิดเป็น 15% ของประชากร
เท่ากับว่า ทางเดียวที่จะทำให้ "พันธสัญญาวาจาข้อ 2" สำเร็จได้ รัฐบาลต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 วันละ 5 แสนโดส ซึ่งหากทำได้ไม่เพียงแต่เป้าหมายนี้เท่านั้น แต่เป้าหมาย 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี (2564) ก็จะพิชิตได้ด้วย
แต่ทีนี้... วัคซีนโควิด-19 ไม่ได้อลหม่านเพียงแค่นี้ นอกจาก
"ไม่เพียงพอ" แล้ว ยังตามมาด้วยการกระจายวัคซีนที่เหมือนจะเป็นการเล่นแง่ "กั๊ก" กันไปมา เห็นชัดๆ จากกรณีสนามใหญ่ กทม. ที่สวนหมัดกันไปแล้วรอบหนึ่ง จนกระทั่งโควิด-19 สายพันธุ์ "เดลตา" เข้ามาป่วน ก็ยิ่งทำให้เห็นชัดขึ้น
โดยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมข่าวเฉพาะกิจฯ ได้ติดตามกรณีการกระจายวัคซีนโควิด-19 ของสนาม กทม. มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การพบว่า
ประชาชนที่จองคิวฉีดวัคซีนผ่าน "ไทยร่วมใจ" กลายเป็น "คนไทยถูกเท" เพราะเลื่อนคิวแล้วเลื่อนคิวอีก จนได้ความว่า วัคซีนที่ว่าจะกระจายมาให้กลับไม่ยอมมาตามนัด
ทาง "หอการค้าไทย" เองก็เตรียมพับ 25 ศูนย์ฉีดฯ กลับเข้ากรุ แม้แต่ภาคเอกชนอื่นๆ ที่ผนึกกำลังด้วยก็งงว่า ทำไมถึงไม่กระจายวัคซีนมายัง 25 ศูนย์ฉีดฯ นี้ จนกระทั่งการเรียกถก 1-2 วัน และเป็นไปตามที่ ดร.กฤษณะ วจีไกรลาศ หอการค้าจังหวัดนนทบุรี ในฐานะกรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย บอกให้เราจับตาดูผล ซึ่งก็ไม่ผิดคาดนัก คือ
รัฐบาล (ยอม) จัดสรรวัคซีนโควิด-19 มาให้ กทม. เพื่อใช้กระจายฉีดตามจุดต่างๆ รวมถึง "ไทยร่วมใจ" หลังคนไปแออัดอยู่ "ศูนย์ฉีดฯ บางซื่อ" ที่เป็นความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงคมนาคมอยู่เนิ่นนาน
แต่อย่างไรก็ตาม วัคซีนโควิด-19 ที่กระจายมาให้ในยามนี้สำหรับโควตา กทม. ก็ยังเพียงพอกับเพียงแค่กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 โรคกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น
สำหรับอายุอื่นๆ ที่ลงทะเบียนกับ "ไทยร่วมใจ" ไปแล้ว ก็คงต้องรอต่อไป...
มาถึงตรงนี้ แน่นอนอาจมี "คำถาม" ว่า แล้วทำไมรัฐบาลต้องรีบ "เปิดประเทศ" นัก?
ถ้าย้อนวาจา พล.อ.ประยุทธ์ ในวันนั้น (16 มิ.ย. 64) ก็นับได้ว่า แคมเปญ
"120 วัน เปิดประเทศ" เป็น
"มูลค่าความเสี่ยงที่คำนวณไว้แล้ว" และยอมรับกลายๆ ได้ว่า
เวลานี้ ประเทศไทยไม่สามารถ "รอเวลา" จนถึงวันที่ประชาชนทุกคนได้รับวัคซีนเต็มศักยภาพครบ 2 เข็ม (เว้นจอห์นสันฯ 1 เข็ม) ได้อีกต่อไป หรือหากรอจนถึงวันที่โลกใบนี้ "ปราศจากไวรัส" ก็มีแววว่า เศรษฐกิจจะดิ่งเหวจนยื้อขึ้นมาไม่ไหวแล้ว ถึงมี "เงินกู้" มาช่วยพยุงให้รอดพ้นปีนี้ (2564) ไปได้ แต่ปีหน้า (2565) ไม่มั่นใจ ยิ่งรอนานไป "รายได้" ไม่เข้า ประเทศก็คล้ายกับกำลังจะสิ้นใจ...
แน่นอนว่า "รายได้" ที่รัฐบาลหวัง คือ รายได้ท่องเที่ยว!
ก่อนจะเกิดวิกฤติโควิด-19 อันน่าสะพรึง ต้องยอมรับว่า ภาคท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้ประเทศไทยมากมาย คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้สกุลเงินต่างชาติหลักที่หลั่งไหลเข้าประเทศ แต่พอเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องปิดพรมแดน ปิดการท่องเที่ยว ก็ย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะ "แรงงาน" ในภาคนี้ ที่มีกว่า 7 ล้านคน รายได้ที่เคยมี รายได้ที่เคยได้ ลดหายไปมากกว่าครึ่ง
ขณะที่ อีกหนึ่งรายได้หลักอย่าง
"ภาคส่งออก" ที่สัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรม ที่พบว่า ขณะนี้กำลังการผลิตมีไม่เพียงพอ สาเหตุหลัก คือ
เกิดการแพร่ระบาดในโรงงานจนกลายเป็น "คลัสเตอร์" ทำให้โรงงานหลายแห่งไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มที่
ซึ่ง นายสุพันธ์ มงคลสุธ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ก็มองว่า
แคมเปญ "120 วัน เปิดประเทศ" นั้นเป็นไปได้ยาก หากยังแก้ปัญหาคอขวดวัคซีนไม่ได้ประเทศไทยจะลำบาก ต้องยอมรับความจริงว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ ภาคอุตสาหกรรมเองก็แย่ ประชาชนก็ยิ่งแย่ไปกันใหญ่
ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ "แบงก์ชาติ" ก็คาดการณ์ว่าอาจมีการปรับทบทวนประมาณการ GDP ปี 2564 หลังวิกฤติโควิด-19 ในเวลานี้อยู่ในภาวะที่เข้าขั้นเลวร้ายกว่าที่เคยเป็นมา อีกทั้งภาคเอกชนที่เป็นฟันเฟืองสำคัญก็พบว่าการเติบโตลดลง ประมาณการณ์ที่ 0-1.5% เท่านั้น
ฉะนั้น ในเวลานี้ "อุปสรรคใหญ่" ที่ทำให้แคมเปญ "120 วันเปิดประเทศ" ไม่เป็นไปตามใจหวัง คงหนีไม่พ้น "วัคซีนโควิด-19" ที่ไม่มาตามนัด
จากเป้าหมายจัดหา
"วัคซีนแอสตราเซเนกา" ที่เป็น 1 ใน 2 วัคซีนหลักของประเทศไทย จำนวน 61 ล้านโดสของวัคซีน ล่าสุดวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ได้รับมาเพิ่ม 5.06 แสนโดส
แต่เมื่อรวมทั้งหมด (28 ก.พ.-16 ก.ค. 64) ได้รับมาแล้วทั้งสิ้น 8.19 ล้านโดส หรือคิดเป็น 13.43% ของจำนวนที่ทำสัญญาจองซื้อ
ซึ่งหากจะฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ได้ตามเป้าหมายเพื่อ "120 วันเปิดประเทศ" ปริมาณวัคซีนที่มีเพียงไม่กี่ล้านโดสนี้เห็นทีจะไม่เพียงพอ ทาง "รัฐบาล" คงต้องหามาเพิ่ม
โดยนับจากนี้ต้องมาลุ้นกันว่า 2 วัคซีน mRNA ที่คนเรียกร้องอย่าง "ไฟเซอร์" และ "โมเดอร์นา" จะมาตามนัดหรือไม่.

Related Keywords

United States ,Thailand ,Glamorgan ,Eastern Cape ,South Africa ,Phrae ,Durban ,Kwazulu Natal ,Thai ,Sebastopol Boone ,John Anderson Mo ,John Anderson ,Alcoa ,Reading Thai Rath ,October People ,Phrae Province ,Prayuth Express ,Sir John Anderson ,Sebastopol Boone Ravens ,City Prem Sri ,ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,தாய்லாந்து ,கிளாமோர்கன் ,கிழக்கு கேப் ,டர்பன் ,க்வஸூல்யூ நேட்டல் ,தாய் ,ஜான் ஆண்டர்சன் ,அல்கோவா ,அக்டோபர் மக்கள் ,ஐயா ஜான் ஆண்டர்சன் ,

© 2025 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.