comparemela.com


สมเด็จฯ องค์หน้าม่าน
พลายชุมพล
บันทึก
SHARE
มีความในใจ ที่อยากจะขอสารภาพ การเขียนเรื่องพระสมเด็จฯองค์ที่แท้ ดูง่าย เขียนไปมากๆองค์เข้า ก็ทำท่าจะซ้ำซาก ใช้สำนวนนักรบ ไม่กี่เพลง ก็ตกม้าตาย
แต่เมื่อเจอองค์ที่แน่ใจว่าแท้ แต่ดูยาก มีแง่ เงื่อน ให้พูดถึงมากๆ แล้วสรุปได้
ความยาก เป็นแรงกระตุ้นสำคัญ ทำให้อยากจะเขียนต่อๆไป
ตัวอย่าง พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์คุ้นตา จะเอาองค์เล่าปี่ หรือองค์เปาบุ้นจิ้น เทียบก็ได้ องค์ในคอลัมน์วันนี้ เนื้อหาและธรรมชาติครบถ้วน
ดูด้านหน้าแผ่นรักสีเลือดหมูเหลือประปราย แล้วก็พลิกดูหลัง เนื้อรักหลุมร่อง สัญลักษณ์ตามธรรมชาติ ก็สมบูรณ์ สรุปได้ว่าเป็นพระแท้
แต่พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่แท้ องค์นี้ กลับมีแง่...บางจุดสะดุด ให้คิด
ในพื้นผนังสองข้างองค์พระ ปรากฏเป็นเส้นนูนกลม ทิ้งดิ่งลงมา ดูเผินๆ เหมือนมีม่านห้อยระย้า เป็นฉากหลัง
ส่องแว่นขยาย ดูให้แน่ใจ ก็ยังเห็นเป็น เส้นนูน...นึกถึงเส้นน้ำตก ในพื้นผนัง พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่...ก็น่าจะได้ กรณีของพระผงสุพรรณ เนื้อดินอายุราว 600 ปี บรรจุอยู่ในเจดีย์อับร้อนอบอ้าว...พอมีเหตุปัจจัยให้เกิดเส้นหดเหี่ยวขึ้นได้
แต่กรณีพระเนื้อผงปูนขาว อย่างพระสมเด็จฯ ยิ่งเป็นวัดระฆังไม่ลงกรุ ปัจจัยความร้อนอบอ้าวก็ไม่มี
ลองใช้ทฤษฎี “ตรียัมปวาย” กรณีริ้วรอยที่ปรากฏในแผ่นหลัง รอยกาบหมาก รอยกระดาน รอยสังขยา ฟองเต้าหู้ รูพรุนปลายเข็ม ฯลฯ สมมติฐานแรก เกิดจากแรงดึงของแผ่นเนื้อด้านหน้า ตอนที่เนื้อพระจะระเหิดแห้ง
สมมติฐานที่สอง เกิดจากแรง กด ครูด ปาด ของแผ่นไม้ หรือเครื่องมืออะไรสักอย่าง
ส่วนริ้วรอยแตกลายงา ในพื้นผนังด้านหน้า เกิดจากแรงหดเหี่ยว ของเนื้อรักจากบนลงล่าง ปะทะกับแรงระเหิดแห้งของเนื้อพระจากล่างขึ้นบน ที่ไม่เท่ากัน
ไม่ว่าจะเอาทฤษฎี ริ้วรอยแผ่นหลัง หรือทฤษฎีลายงา ด้านหน้า ก็เอามาใช้กับ เส้นนูนเล็กในพื้นผนังด้านหน้า ที่ปรากฏในสมเด็จวัดระฆัง องค์นี้...ไม่ได้
เหลือสมมติฐานเดียว พื้นผนังแม่พิมพ์พระ ซึ่งผมเชื่อว่า ทำด้วยไม้เนื้อดี ตอนที่ใช้พิมพ์องค์นี้ แม่พิมพ์เกิดชำรุดเปื่อยยุ่ย เป็นร่องยาว... แต่นี่ ก็เป็นสมมติฐาน ที่เป็นไปได้ยากเต็มที
สมมติฐานนี้ ผมได้จากเคยดูพระสมเด็จหลวงปู่ภู พิมพ์ปรกโพธิ์ ที่ไปออกที่วัดเกาะ ราชบุรี มีตำหนิเป็นรอยแม่พิมพ์ชำรุดเป็นปื้นยาวระหว่างช่องฐานสามชั้น
เดาเอาว่า ปรกโพธิ์หลวงปู่ภูชุดนี้ ใช้แม่พิมพ์เก่าที่เหลือจากเอาไปใช้พิมพ์สมเด็จวัดระฆัง และบางขุนพรหม
แต่กรณีแม่พิมพ์แกะด้วยไม้ ก็มีข้อสงสัย ทำไมจึงไม่เคยเหลือให้เห็นกันไว้บ้างเลย
กรณีพื้นผนัง เป็นเส้นยาวเหมือนเส้นน้ำตกอย่างองค์นี้ ไม่เคยปรากฏในพระสมเด็จฯองค์ไหนในวงการ
จึงเหลือสมมติฐานกำปั้นทุบดิน ข้อเดียว ก็ในเมื่อพระสมเด็จวัดระฆังองค์นี้ เป็นพระแท้ ดูง่ายไปทั้งพิมพ์ เนื้อหา และธรรมชาติ ชนิดที่คนเป็นพระจริงๆ คุยได้ว่า “แท้แบบไม่ต้องเข้าแว่น”
เส้นนูนยาวๆ ที่ปรากฏนั้น เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าด้านหน้าด้านหลัง เช่นเดียวกับรอยยุบ รอยแยก รอยยับ และริ้วรอยอื่นๆ
แง่คิดที่ได้จากเส้นนูนยาวในพื้นผนังข้างองค์พระ เจ้าของพระเป็นมือเก่า ขอมโนเอาเองว่า ในเมื่อพระสมเด็จพิมพ์เจดีย์แหวกม่าน กรุเจดีย์เล็ก เคยมี เส้นนูนยาวห้อยระย้าองค์นี้ จึงขอตั้งสมญาให้องค์นี้ว่า “องค์หน้าม่าน”
เขามั่นใจ จะไม่มีสมเด็จวัดระฆังองค์หน้าม่าน เป็นองค์ที่สอง.
พลายชุมพล

Related Keywords

Ratchaburi ,Thailand ,United Kingdom ,Temple Bell Laurent ,Mike Laurent ,Laurent Bao Zheng ,Temple Bell , ,Next Generation ,Venus Maroon ,Bell Laurent ,Island Ratchaburi ,Bodhi Tree Grandfather ,தாய்லாந்து ,ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் ,கோயில் மணி ,அடுத்தது ஜெநரேஶந் ,மணி பரிசு பெற்றவர் ,

© 2025 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.