comparemela.com


"หมอบุญ" เตรียมเซ็นสัญญานำเข้าไฟเซอร์ 20 ล้านโดส คาดได้ล็อตแรกในเดือนนี้
15 ก.ค. 2564 เวลา 3:27 น.
หมอบุญ เตรียมจับมือหน่วยงานรัฐเซ็นสัญญานำเข้าวัคซีน mRNA โนวาแวกซ์ และไฟเซอร์-ไบออนเทค 20 ล้านโดสวันนี้ โดยคาดว่าได้รับล็อตแรกภายใน ก.ค.นี้ เคาะราคาถูกกว่าโมเดอร์นา
จากการแพร่ระบาดอย่างหนักและกลายพันธ์ของ
โควิด-19 ที่เกิดจากการผสมระหว่างเดลตากับอัลฟา คนไทยจำเป็นต้องได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพอย่าง mRNA เพื่อควบคุมไวรัสกลายพันธุ์ดังกล่าว ซึ่งในปัจุบันประเทศไทยยังไม่มี
วัคซีนทางเลือก mRNA
 ทั้งนี้วัคซีนทางเลือก mRNA ที่คาดว่าไทยจะได้รับเร็วที่สุดคือ
โมเดอร์นา ซึ่งองค์การเภสัชกรรมได้มีการจัดสรรโควต้าวัคซีนให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ ทั้งสิ้น 285 แห่ง และในวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 องค์การฯจะเริ่มทยอยลงนามในสัญญาซื้อ-ขายและรับชำระเงินค่าวัคซีนจากโรงพยาบาลต่างๆ ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 หลังจากนั้น คาดว่าประมาณวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 องค์การฯจะลงนามในสัญญาซื้อ-ขาย กับบริษัทซิลลิค ฟาร์ม่า จำกัด ตัวแทนของโมเดอร์นา และจะได้รับวัคซีนโมเดอร์นา จำนวน 5 ล้านโดสในไตรมาส 4 ปี 64 และไตรมาส 1 ปี 65
 ด้าน
นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG ผู้บริหารเครือโรงพยาบาลธนบุรี เปิดเผยว่า คนไทยจำเป็นต้องได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพอย่าง mRNA เพื่อควบคุมไวรัสกลายพันธุ์ ซึ่งเชื้อไวรัสเองมีการพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง ล่าสุดก็มีการพบสายพันธุ์ผสมระหว่างเดลตากับอัลฟา ดังนั้นวัคซีนเองก็ต้องมีการพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์ ซึ่งการสั่งซื้อวัคซีนปริมาณมากในระยะยาว เชื่อว่าจะต้องปรับเปลี่ยนแผน เพราะจะไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้
 จนถึงปัจจุบันไทยก็ยังไม่มีวัคซีนทางเลือก ซึ่งยังต้องรอเซ็นสัญญาต้นเดือนสิงหาคม และนำเข้าในไตรมาส 4 เช่นเดิม ทั้งๆที่สถานการณ์เช่นนี้ควรจะต้องเร่งเซ็นสัญญาสั่งซื้อ และนำเข้าให้รวดเร็วที่สุด
 
การระบาดเยอะและรวดเร็ว จะทำให้เกิดการผสมสายพันธุ์ได้ง่าย ขณะที่วัคซีนเชื้อตายไม่สามารถพัฒนาได้ทัน แต่ขณะเดียวกันวัคซีนหลายชนิดก็อยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนาต่อยอด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสให้ได้มากที่สุด เช่น ไฟเซอร์ โมเดอร์นา ที่พัฒนาเวอร์ชั่น 2 และคาดว่าจะเปิดตัวได้เร็วๆนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โนวาแวกซ์ (Novavax) ประเทศสหรัฐอเมริกา
 และ
ไฟเซอร์-ไบออนเทค (Pfizer-BioNTech) ประเทศเยอรมนีนั้น โดยร่วมมือกับหน่วยงานรัฐที่มีสิทธินำเข้าวัคซีนและไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
 ทั้งนี้ได้มีการเตรียมการด้านเอกสารสำคัญ คำสั่งซื้อ ร่างสัญญาต่างๆ มากว่า 1 เดือน และการลงนามสัญญานี้จะเกิดขึ้นในวันนี้ 15 ก.ค ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการยืนยันจำนวนวัคซีนที่สั่งซื้อและนำเข้า เหลือเพียงแค่ทางด้านสหรัฐฯ เท่านั้นว่า จะอนุมัติตามที่ขอไป 20 ล้านโดส ในระยะแรกหรือไม่
 อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยรายชื่อหน่วยงานรัฐที่ร่วมมือกับ THG  ซึ่งคาดว่าจะมีการเปิดเผยรายชื่อหลังจากเซ็นสัญญาในวันนี้ แต่จากข้อมูลของเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเผยแพร่ประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โควิด-19) เรื่องแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ระบุถึงการอนุญาตให้ 5 หน่วยงานหลักมีสิทธิในการนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19 ได้อย่างเร่งด่วน ประกอบด้วย
1. กรมควบคุมโรค
4. สภากาชาดไทย
 ส่วนการขึ้นทะเบียนวัคซีน เนื่องจากเป็น
วัคซีนไฟเซอร์ชนิดเดียวกันกับที่บริษัทไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำหรับใช้ในไทยได้ในภาวะฉุกเฉินแล้ว คาดว่า ใช้ระยะในการพิจารณาเพียงหนึ่งวัน และนำเข้าวัคซีนได้ภายใน 1 สัปดาห์ โดยเครือ รพ.ธนบุรี จะเป็นผู้กระจายวัคซีน
 ขณะนี้ผ่านขั้นตอนต่างๆ มากแล้ว เหลืออีก 3-4 ขั้นตอน อาทิ การพิจารณาของนายกรัฐมนตรี, การติดต่อประสานทางของกระทรวงต่างประเทศ เป็นต้น
 หากดำเนินการได้อย่างรวดเร็วก็สามารถสั่งซื้อและนำเข้ามาได้เร็วที่สุดคือในปลายเดือนกรกฎาคมนี้ หรืออย่างช้าเดือนสิงหาคมก็สามารถฉีดให้กับคนไทยได้ โดยเบื้องต้นหากกระบวนการต่างๆแล้วเสร็จ จะสั่งซื้อโนวาแวกซ์ ล็อตแรก 10 ล้านโดส และไฟเซอร์-ไบออนเทคอีก 10 ล้านโดส
 ซึ่งทั้งสองบริษัทยังไม่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องมีการจดทะเบียนบริษัทใหม่ พร้อมกับนำเข้าโดยตรง ทำให้ได้ต้นทุนที่ถูกลงทำให้ราคาวัคซีนและค่าบริการต่างๆ จะถูกกว่าโมเดอร์นา
 สำหรับ แผนการส่งมอบวัคซีนล็อตแรก คาดว่า จะขนส่งจากโรงงานในเยอรมนีมาถึงไทยภายในเดือน ก.ค. นี้ จำนวน 5 ล้านโดส จากทั้งหมด 20 ล้านโดส ส่วนที่เหลือจะทยอยจัดส่งมา โดยจะเข้ามาสมทบช่วยแผนการกระจายของรัฐบาล แบบคู่ขนาดผ่านภาคเอกชน ตั้งเป้าว่าจะกระจายวัคซีนให้ได้ในอัตรา 500,000 โดสต่อวัน และจะทำให้อัตราการฉีดต่อวันของทั้งประเทศเพิ่มเป็นวันละ 1 ล้านโดส
 ทั้งนี้ THG  ยินดีขายให้ภาคเอกชนที่ต้องการฉีด เบื้องต้นราคาต้นทุนอยู่ที่ 17 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส หรือราว 555 บาทต่อโดส ยังไม่รวมค่าขนส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคิดราคารวมโดยประมาณ 900 บาทต่อโดส
 สำหรับ การนำเข้าล็อตนี้ เพื่อช่วยการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้นในจังหวัดและเมืองหลักๆ ด้านเศรษฐกิจ เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต เกาะสมุย เชียงใหม่ และพัทยาให้ครอบคลุมร้อยละ 80 ของประชากรโดยเร็วที่สุด
 นอกจากนี้ กรณีการนำเข้าวัคซีนโนวาแวกซ์ ของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นวัคซีนใหม่ที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง นพ.บุญ กล่าวว่า การเจรจาซื้อดังกล่าวตั้งเป้าไว้ว่าให้เป็นเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (booster dose) ที่จะเป็นเข็มที่ 3 และ 4 ในอนาคต คาดว่า จองไว้ราว 10 ล้านโดส ซึ่ง รพ.ธนบุรี จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนทั้งหมดเอง
“การที่โรงพยาบาลสั่งมาในปริมาณมากนั้นเพราะเรามีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในอนาคตหากโรงพยาบาลอื่นต้องการ เราก็ยินดีขายให้ในราคาทุน ไม่เอากำไร แต่ที่เราต้องเริ่มผลักดันให้มีการนำเข้ามาเร็วๆ เพราะมองว่า วัคซีน คือหัวใจสำคัญของการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังกลายพันธุ์และเป็นวิกฤติของประเทศในขณะนี้”
 

Related Keywords

Germany ,Taiwan ,United States ,Thailand ,Thonburi ,Krung Thep Mahanakhon ,Roma ,Lazio ,Italy ,Durban North ,Kwazulu Natal ,South Africa ,Durban ,Phuket ,Ireland ,Oregon ,Phrae ,Thai ,Deltaa Alpha ,Samui Chiang Mai Pattaya ,Ireland College ,Organization Pharmacy ,Alcoa ,Office The Board ,Phrae Province ,Metamorphosis Connection ,July Laurent Ravens ,President Director Thonburi ,Hospital Thon ,Sir Mo Durban ,New Nova ,World Wide Web ,Royal Thai Government Gazette ,Alcoa Roma Na ,National Iv Federation ,Red Cross Thailand ,Sir Thailand ,Province Island Samui Chiang Mai Pattaya ,ஜெர்மனி ,டைவாந் ,ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,தாய்லாந்து ,ரோமா ,லேஸியோ ,இத்தாலி ,டர்பன் வடக்கு ,க்வஸூல்யூ நேட்டல் ,டர்பன் ,ஃபூகெட் ,ஐயர்ல்யாஂட் ,ஓரிகந் ,தாய் ,ஐயர்ல்யாஂட் கல்லூரி ,அல்கோவா ,புதியது நோவா ,உலகம் பரந்த வலை ,அரச தாய் அரசு கஸெட் ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.