comparemela.com


นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ตามที่ได้มีการส่งต่อข่าวสารในประเด็นเรื่อง ยา 6 ชนิด ที่ต้องเตรียมไว้ใช้รักษาโควิด-19 ด้วยตนเองที่บ้าน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลเรื่องยารักษาโควิด-19 ที่ต้องเตรียมไว้เพื่อรักษาตนเองที่บ้าน 6 ชนิด คือ ยาพาราเซตามอล แอมบรอกซอล เดกซ์โทรเมทอร์แฟน คลอเฟนิรามีน วิตามินซี และฟ้าทะลายโจรนั้น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ home isolation ต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์เท่านั้น โดยการจ่ายยารักษาผู้ป่วยที่กักตัวที่บ้านเป็นไปตามที่แพทย์ประเมินอาการรายบุคคล เพราะการรับประทานยาเอง อาจทำให้เกิดอันตราย จากภาวะแทรกซ้อนของยาได้
ทั้งนี้ กรมการแพทย์เผยแพร่แนวทาง Home isolation (การแยกกักตัวที่บ้าน) เป็นแนวทางสำหรับ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ระหว่างรอ admit โรงพยาบาล แพทย์พิจารณาว่ารักษาที่บ้านได้ และรักษาที่โรงพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันและจำหน่ายกลับบ้านเพื่อรักษาต่อเนื่องที่บ้านโดยวิธี Home isolation
ส่วนผู้ที่เข้าเกณฑ์การทำ Home isolation ประกอบด้วย 1.เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดีหรือ ไม่มีอาการ (asymptomatic cases) 2.มีอายุน้อยกว่า 60 ปี 3.มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง 4.อยู่คนเดียว หรือ มีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1คน 5. ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกาย > 3030กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว > 90 กก.) 6.ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD Stage 3,4 ) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆตามดุลยพินิจของแพทย์ และ 7.ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง
ซึ่งตามแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด - 19 แบบ Home Isolation ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 กรณีระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือระหว่างรอครบกำหนด 14 วัน หรือหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้ก่อนกำหนด ตามลิงก์ https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=136
ขอเน้นย้ำการรับประทานยาเองอาจทำให้เกิดอันตราย จากภาวะแทรกซ้อนของยาได้ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000 และขอความร่วมมือประชาชน เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลผ่านโซเชียล ควรตรวจสอบให้ถูกต้องรอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ และสามารถติดตามผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand เฟซบุ๊ก ANTI-FAKE NEWS CENTER และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87 เพื่อหลีกเลี่ยงจากการเป็นเหยื่อข่าวปลอมหรือข่าวบิดเบือน
 
 

Related Keywords

China ,France ,London ,City Of ,United Kingdom ,French ,Chinese , ,London Center ,Department Of State ,Twitter ,Department Of State Medical ,Facebook ,Alcoa ,Alcoa David ,State Doctor ,Ministry Public Health ,Optional Last ,Permission Medical ,State Medical ,Hospital Medical ,Gan Chinese ,Alcoa David Xix ,July May ,World Wide Web ,சீனா ,பிரான்ஸ் ,லண்டன் ,நகரம் ஆஃப் ,ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் ,பிரஞ்சு ,சீன ,லண்டன் மையம் ,துறை ஆஃப் நிலை ,ட்விட்டர் ,முகநூல் ,அல்கோவா ,நிலை மருத்துவர் ,அமைச்சகம் பொது ஆரோக்கியம் ,நிலை மருத்துவ ,மருத்துவமனை மருத்துவ ,ஜூலை இருக்கலாம் ,உலகம் பரந்த வலை ,

© 2025 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.