comparemela.com


ผลการศึกษาวิจัยชี้ กว่าร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ปี 2563 ซึ่งเป็นผู้ที่มีงานทำมาก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียรายได้
กว่าร้อยละ 92 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองก่อนที่ภาครัฐจะออกมาตรการต่างๆ  โดยร้อยละ 94 มีการเว้นระยะห่างทางสังคม
สื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิค-19 ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาครัฐได้มีการจัดรายการเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19
หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด (MORU) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และกองทุนเวลคัม สหราชอาณาจักร ได้จัดทำการศึกษาวิจัยเรื่อง
"มุมมองเชิงสังคม จริยธรรม และความเปลี่ยนแปลงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19"  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามข้อคิดเห็นและทัศนคติจากกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่อมาตรการยับยั้งและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่ไม่ใช่มาตรการทางการแพทย์ (อาทิ มาตรการในการกักตัว การรักษาระยะห่างทางสังคม และการจำกัดการเดินทาง )และการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19
ผลจากการศึกษาวิจัยที่จัดทำในประเทศไทยได้ชี้ให้เห็นถึงกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการการยับยั้งและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่ไม่ใช่มาตรการทางการแพทย์ โดยได้แสดงถึงอายุ การศึกษา และรูปแบบครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากรในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการสื่อสารและการรับรู้ข่าวสารของประชากรในระหว่างการระบาดของโรคฯ
การศึกษานี้จัดทำขึ้นในระหว่างเดือนพฤษภาคม ปี 2563 ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรกในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะจัดทำขึ้นในประเทศไทยแล้ว ยังได้จัดทำขึ้นในอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย สหราชอาณาจักร อิตาลี และสาธารณรัฐสโลวีเนีย ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยในประเทศไทยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามแบบออนไลน์ทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 1,020 คน  (แบ่งเป็น ภาคกลางร้อยละ 28 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 27 ภาคใต้ร้อยละ 19 ภาคเหนือร้อยละ 19 และภาคตะวันออกร้อยละ 7)
กลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบ
ผลจากการศึกษาวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า กว่าร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้ที่มีงานทำมาก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียรายได้ ร้อยละ 50 ถูกลดเวลาในการทำงานและสถานที่ทำงานจำต้องปิดกิจการลงชั่วคราว ร้อยละ 20 ต้องหยุดทำงาน และร้อยละ 18 มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานไปเป็นแบบนิวนอลมอล อาทิ มีการทำงานจากที่บ้าน
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในช่วงอายุอื่น โดยร้อยละ 32 ของผู้ที่อยู่ในช่วงอายุนี้ตอบว่าถูกเลิกจ้างในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เปรียบเทียบกับผู้ที่มีช่วงอายุระหว่าง 25-34, 35-64 และ 65ปีขึ้นไป ที่ได้รับผลกระทบนี้ ที่ร้อยละ 25, 20 และ 22 ตามลำดับ
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการศึกษาในระดับต่ำกว่าประถมหรือมัธยมศึกษา ร้อยละ 90 ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียรายได้ ร้อยละ 24 ต้องออกจากงาน และกว่าร้อยละ 89 มีความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่าย
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 5 คนขึ้นไปหรืออยู่ในครอบครัวขยาย กว่าร้อยละ 80 มีความกังวลเป็นอย่างมากในเรื่องรายได้ในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในด้านภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลคนในครอบครัว
ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า กลุ่มผู้ที่ทำงานอยู่ในภาคการท่องเที่ยว และในธุรกิจนอกระบบในประเทศไทยได้รับผลกระทบและเป็นกลุ่มที่มีความกังวลต่อมาตรการต่างๆ มากที่สุด โดยจากรายงานดัชนีความเข้มงวดของภาครัฐต่อมาตรการด้านสาธารณสุขซึ่งจัดทำโดย the Oxford COVID-19 Government Response Tracker (OxCGRT) ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกแรก (ช่วงเดือนพฤษภาคม 2563) และอยู่ในช่วงของการดำเนินการวิจัยนี้พบว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเข้มงวดต่อมาตรการด้านสาธารณสุขมากที่สุดประเทศหนึ่ง (โดยมีคะแนนความเข้มงวดของมาตรการด้านสาธารณสุขถึง 75 จาก 100 คะแนน)  โดยมาตรการต่างๆ อาทิเช่น มาตรการการปิดพรมแดน มาตรการเคอร์ฟิว ฯลฯ ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการธุรกิจนอกระบบ อาทิ ร้านอาหารแนวสตรีทฟู๊ด และผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยว โดยก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ การถูกเลิกจ้าง และการปิดกิจการ
พฤติกรรมของประชากรในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
การศึกษาวิจัยนี้ยังพบว่า กว่าร้อยละ 92 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองก่อนที่ภาครัฐจะออกมาตรการต่างๆ  โดยร้อยละ 94 มีการเว้นระยะห่างทางสังคม ร้อยละ 85 หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้สูงอายุหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ร้อยละ 97 ใช้เครื่องป้องกันส่วนบุคคล อาทิ หน้ากากอนามัย และร้อยละ 95 ใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคในการทำความสะอาดร่างกาย ก่อนที่จะมีการออกมาตรการจากภาครัฐ แม้ว่าการศึกษานี้ไม่ได้มีการระบุถึงเหตุผลจากผู้ตอบแบบสอบถาม แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ได้แสดงถึงความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศอื่นๆ
การสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19
ในส่วนของการสื่อสาร และรูปแบบในการรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 นั้นมีรูปแบบที่คล้ายกันในทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคกลาง  ซึ่งสื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิค-19 ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาครัฐได้มีการจัดรายการเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ให้แก่ประชาชนผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในทุกเที่ยงวันตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรคฯ
ในส่วนของการรับข้อมูลข่าวสารนั้น ร้อยละ 88 ของผู้ตอบแบบสอบถามรับทราบข้อมูลผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ ผ่านทางเฟซบุ๊ก และแอพพลิเคชั่นไลน์
ในส่วนของความชัดเจนของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้น ส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ชัดเจน โดยร้อยละ 59 ตอบว่ายังคงสับสนเกี่ยวกับมาตรการความช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐ ร้อยละ 46 ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับโทษ หรือค่าปรับที่ไม่ปฎิบัติตามมาตรการภาคบังคับของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ตอบแบบสอบถามที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศ แต่ในด้านของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและการควบคุมโรค อาทิ แนวทางการเว้นระยะห่างทางสังคม การจัดการคนเองเมื่อเกิดอาการต่างๆ และความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ผู้ตอบแบบสอบถามกลับตอบว่าได้รับข้อมูลในหัวข้อนี้อย่างชัดเจนและมากเพียงพอ เมื่อเทียบกับข้อมูลด้านอื่นๆ
ข้อสังเกตที่สำคัญที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้ที่สามารถนำมาปรับใช้กับการออกมาตรการของภาครัฐในอนาคต สามารถแบ่งได้เป็น 4 ข้อใหญ่ ดังนี้
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับโรคโควิด-19 มาตรการต่างๆ ของภาครัฐ และความเข้าใจเชิงบวกต่อมาตรการของภาครัฐ มีส่วนทำให้การควบคุมโรคประสบความสำเร็จในประเทศไทยในช่วงแรกของการระบาดของโรค
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และแม่นยำ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก และเพื่อย้ำเตือนให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและตรงเป้าหมายโดยแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ สม่ำเสมอ เรียบง่าย และชัดเจนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโรค เนื่องจากข้อความเชิงบวกหรือเชิงลบอาจมีอิทธิพลต่อสาธารณะ
การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของประชากรในในช่วงแรกของการระบาดอยู่ระดับที่ดีถึงดีมากต่อมาตรการการด้านสาธารณสุขทั้งมาตรการภาคบังคับหรือโดยความสมัครใจ เช่นการกักกัน การแยกตัว และการรักษาระยะห่างทางสังคม
จากการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า การส่งข้อมูลมาตรการด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยช่องทางสื่อสารมวลชนของไทยและเครือข่ายการดูแลสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ประชาชนยังมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะช่วยให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้โดยการไม่ละเลยที่จะรักษาระยะห่างทางสังคม สวมหน้ากากอนามัย / หน้ากากผ้า และล้างมือบ่อยๆ
ท่านสามารถดาว์นโหลดผลการศึกษาวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://wellcomeopenresearch.org/articles/5-245  และ https://bmjopen.bmj.com/content/11/7/e046863.full

Related Keywords

Thailand ,Roma ,Lazio ,Italy ,United Kingdom ,London ,City Of ,Phrae ,Slovenia , ,K Center ,Or High School ,Public Health ,University Ford Motor Company ,Ford Motor Company ,Facebook ,Fund United Kingdom ,Alcoa ,Phrae Province ,Department State ,Board Medicine Field ,Medical Sunday ,Antalya Sunday ,Systemic Thailand ,Mass Thailand ,தாய்லாந்து ,ரோமா ,லேஸியோ ,இத்தாலி ,ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் ,லண்டன் ,நகரம் ஆஃப் ,ஸ்லோவேனியா ,கே மையம் ,அல்லது உயர் பள்ளி ,பொது ஆரோக்கியம் ,ஃபோர்ட் மோட்டார் நிறுவனம் ,முகநூல் ,நிதி ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் ,அல்கோவா ,துறை நிலை ,

© 2025 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.