comparemela.com
Home
Live Updates
เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่สิบแปด): สามขี้เมาคุยการเมือง : comparemela.com
เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่สิบแปด): สามขี้เมาคุยการเมือง
เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่สิบแปด): “สามขี้เมาคุยการเมือง”
วันที่ 05 ก.ค. 2564 เวลา 11:19 น.
นวนิยาย
“สามขี้เมาคุยการเมือง” หรือ A Discourse by Three Drunkards on Government เป็นผลงานของนากาเอะ โชมิน ส.ส. พรรคเสรีนิยมของญี่ปุ่นเมื่อร้อยกว่าปีก่อน นวนิยายเรื่องนี้มีดีถึงขนาดองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) คัดเลือกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมยิ่งใหญ่ของโลก
ตัวละครขี้เมาสามคนในเรื่องคือ อาจารย์นันไคที่รักในการดื่มสุราและคุยเรื่องการเมืองเป็นชีวิตจิตใจ และแขกแปลกหน้าสองคนที่มาหาอาจารย์ที่บ้านเพื่อหวังจะได้มีบทสนทนาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของญี่ปุ่น อาจารย์นันไคไม่รู้จักสองคนนี่มาก่อน และก็ไม่สนใจที่จะถามชื่อเสียงเรียงนาม แต่กลับตั้งชื่อให้เองเลย คนแรกถูกตั้งชื่อว่า
“สุภาพบุรุษ (ตะวันตก)” เพราะเขาเป็นคนญี่ปุ่นที่แต่งตัวตามแบบฝรั่ง ส่วนอีกคนหนึ่งได้ชื่อว่า
“นักสู้” เพราะแต่งชุดฮะกะมะตามประเพณีของญี่ปุ่นและออกแนวบู๊แบบซามูไร
คราวที่แล้ว
“สุภาพบุรุษ” ได้เปิดฉากการสนทนาโดยวิพากษ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และชื่นชมระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเสรีนิยมประชาธิปไตย เนื้อหาที่เขากล่าวออกมานั้นแสดงให้เห็นว่าเขาเข้าใจในหลักเสรีนิยมประชาธิปไตยเป็นอย่างดี และเขาได้ตบหน้าชาติตะวันตกอย่างแรงจากการวิจารณ์ว่า ชาติตะวันตกที่อวดอ้างว่าเป็นเสรีประชาธิปไตย แต่ในทางปฏิบัติกลับย้อนแย้งในตัวเอง เพราะถ้าเป็นเสรีประชาธิปไตยจริงๆแล้ว ควรยกเลิกการมีกองทัพ และเปลี่ยนการรบให้เป็นการค้า แต่ชาติตะวันตกกลับรบราฆ่าฟันกันเอง แถมยังมารุกรานประเทศในเอเชียอีกด้วย
“สุภาพบุรุษ” เสนอว่า ญี่ปุ่นควรต้องรีบเปลี่ยนแปลงให้เป็นเสรีประชาธิปไตยที่แท้จริง และยกเลิกกองกำลัง หันมาทำการค้าการอุตสาหกรรม และหากชาติตะวันตกมารุกราน ญี่ปุ่นก็ไม่ควรจะต้องไปจับอาวุธสู้ แต่ควรต้อนรับชาติตะวันตกอย่างสุภาพ หากพวกตะวันตกใช้กำลัง แต่ญี่ปุ่นไม่สู้ซะอย่าง ชาติตะวันตกก็ไม่ต่างจากแกว่งดาบในอากาศธาตุ ไม่มีประโยชน์อันใดทั้งสิ้น
------------------
ฟังมาแค่นี้ ท่านผู้อ่านน่าจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มนะครับ กลุ่มแรกคงเห็นว่า ความคิดทางการเมืองของ
“สุภาพบุรุษ” นั้นฟังดูดี แต่ช่างอุดมคติเหลือเกินเหมือนเดินเล่นอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็คงจะชื่นชมและตาม
“สุภาพบุรุษ” เข้าไปเดินเล่นในทุ่งลาเวนเดอร์ด้วย
ก่อนจะตัดสินอะไร เราควรต้องฟังแกสาธยายต่อ
-------------------------
“สุภาพบุรุษ” กล่าวต่อไปว่า การที่ประเทศเล็กๆและไม่มีอำนาจ (ญี่ปุ่นขณะนั้น) ใช้กำลังต่อกรกับมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ มันก็จะไม่ต่างจากการปาไข่ไปบนหิน ไข่มันต้องแตก แต่หินมันไม่มีทางเป็นอะไรได้เลย และจากการที่คู่ต่อสู้ (ชาติตะวันตก) มีความทระนงอย่างยิ่งในอารยธรรมของตน พวกเขาจึงไม่น่าจะไร้ซึ่งหลักศีลธรรมที่เป็นแก่นแกนของอารยธรรมของพวกเขาเอง ทำไมชาติเล็กๆอย่างเราไม่ใช้หลักศีลธรรมเป็นอาวุธ โดยหลักศีลธรรมที่ว่านี้เป็นสิ่งที่คู่ต่อสู้ของเราคาดหวังที่จะเป็น แต่ไม่สามารถทำได้?
ถ้าเราเอาหลักเสรีภาพต่างกองทัพ เอาความเสมอภาคต่างป้อมปราการ เอาภราดรภาพต่างดาบและปืนใหญ่ ใครในโลกจะกล้าโจมตีเรา ? กลับกัน ถ้าเราจะอิงอยู่แต่เฉพาะป้อมปราการ ดาบ ปืนใหญ่ กองกำลังทหาร ที่ศัตรูของเราเราก็ใช้ และผลที่จะเกิดขึ้นก็คือ คนที่แข็งแรงมีแสนยานุภาพมากกว่าก็จะชนะ มันเป็นตรรกะทางคณิตศาสตร์ที่ไม่มีใครจะเถียงได้
แล้วทำไมเราจึงจะไม่ยอมรับการใช้เหตุผลที่มันชัดเจนแจ่มแจ้งในตัวมันเองอยู่แล้ว ถ้าศัตรูของเราใช้กำลังรุกรานและยึดครองประเทศของเรา แผ่นดินนี้จะต้องแบ่งกัน เพราะทั้งเขาและเราก็ต่างยีงมีชีวิตอยู่ มันจะมีความขัดแย้งแบบไหนเกิดขึ้น ? สมมุติว่า พวกเขายึดเอาไร่นาหรือบ้านของพวกเราไป หรือกดขี่ขูดรีดด้วยการเก็บภาษีอย่างหนักจากเรา คนที่มีปัญญาจ่ายก็ทนได้ แต่คนที่ไม่มีก็จะหาวิธีการตอบโต้ เพราะวันนี้ เราอาศัยอยู่ในประเทศ A และเราก็เป็นคนสัญชาติประเทศ A อย่างไรก็ตาม ถ้าพรุ่งนี้ เราอาศัยอยู่ในประเทศ B และเราก็จะเป็นคนสัญชาติประเทศ B มันไม่มีอะไรซับซ้อน ตราบเท่าที่โลกยังอยู่ และโลกยังไม่ใช่บ้านสำหรับมนุษยชาติ ไม่ใช่ว่าทุกๆประเทศในโลกเป็นบ้านของเราหรือ ?
-----------------------
คำกล่าวของคุณสุภาพบุรุษที่ว่า
“วันนี้ เราอยู่ประเทศ A เราก็มีสัญชาติ A แต่หากพรุ่งนี้ เราอยู่ประเทศ B เราก็เป็นคนสัญชาติ B” เขาต้องการสื่อว่า เรื่องประเทศชาติ หรือสัญชาตินั้นเป็นสิ่งสมมุติ อย่าไปยึดติดมาก ชาติและสัญชาติไม่สำคัญเท่ากับเสรีภาพและความเสมอภาคที่มนุษย์มีโดยธรรมชาติ และเมื่อมนุษย์ทุกคนมี ทุกคนจึงมีสายสัมพันธ์ร่วมกันหรือมีภราดรภาพนั่นเอง และจริงๆแล้ว โลกทั้งใบนี้น่าจะเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองสำหรับมนุษย์ทุกคน โดยไม่ต้องมีการแบ่งแยกเป็นประเทศเป็นชาติ และนิยมชาติหรือชาตินิยม
----------
สุภาพบุรุษกล่าวต่อไปว่า จริงๆแล้ว ศัตรูของเราไม่มีความสุภาพอ่อนน้อม แต่เรามี พวกเขาขัดแย้งกับหลักเหตุผล แต่เรายืนหยัดด้วยหลักเหตุผล สิ่งที่พวกเขาเรียกว่าอารยธรรม ก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากความป่าเถื่อน แต่สิ่งที่พวกเขาเรียกเราว่าป่าเถื่อน จริงๆแล้วมันคือแก่นแท้แห่งอารยธรรม หากพวกเขาโกรธและใช้ความรุนแรงตามอำเภอใจ พวกเขาจะทำอะไรได้ ถ้าเรายิ้มและยึดมั่นใน
“วิถีแห่งความเป็นมนุษย์”
เพลโต เม่งจื่อ สเปนเซอร์ (Herbert Spencer นักทฤษฎีวิวัฒนาการ) มาลบรานฌ์ (Nicolas Malebranche นักปรัชญาที่ให้ความสำคัญกับการใช้เหตุผล) อริสโตเติลหรือวิคเตอร์ ฮูโก้จะมองเราอย่างไร ? และทั้งโลกที่กำลังเฝ้าเราดูอยู่จะว่าอย่างไร ? เราไม่ควรต้องสนใจว่าปรากฎการณ์แบบนี้จะเคยหรือไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนการเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ แต่มันดูประหลาดมาก ที่ไม่มีใครเคยลองทำมาตั้งแต่ครั้งนั้น ทำไมเราไม่เริ่มทำให้เป็นตัวอย่าง ? สรุปคือ ความคิดในการทำสงครามเพื่อปกป้องชาติคือความโง่เขลาอย่างถึงที่สุด !
ยังไม่ทันที่
“สุภาพบุรุษ” จะพูดจบ
“นักสู้” ก็ได้กล่าวขึ้นมาว่า ท่านเสียสติไปแล้วหรือ ? ท่านบ้าไปแล้ว มันวิปลาสมากที่ประเทศที่ประกอบไปด้วยคนที่แข็งแรงนับล้านๆเลือกที่จะไม่ลุกขึ้นสู่ เลือกที่จะไม่ชักดาบออกจากฝักหรือไม่ยิงแม้แต่กระสุนนัดเดียว แต่กลับปล่อยให้ผู้รุกรานปล้นประเทศของเรา ดีที่ข้าฯยังไม่บ้า อาจารย์นันไคก็ไม่บ้า และพี่น้องร่วมชาติเราก็ไม่บ้า เป็นไปไม่ได้ที่พวกเราจะเห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านได้กล่าวไป
แต่ก่อนที่
“นักสู้” จะพูดต่อไป อาจารย์นันไคก็ยิ้มและขัดขึ้นมาว่า เดี๋ยวก่อน รอแป๊บหนึ่ง ท่านนักสู้ ขอให้
‘คุณสุภาพบุรุษ’ พูดให้เสร็จก่อนเถิด ‘นักสู้’ ยิ้มเช่นเดียวกันและน้อมรับคำขอของอาจารย์นันไค คุณสุภาพบุรุษจึงได้กล่าวต่อไปว่า อันที่จริง บรรดาผู้คิดว่าตัวเองเป็นนักการเมืองนั้น แท้จริงแล้ว พวกเขาคือ นักนักบวชที่รับใช้เทพเจ้าแห่งการเปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเขาไม่ควรเพียงแต่ให้ความสนใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า แต่ควรต้องคิดให้ดีถึงอนาคต นั่นคือ เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการชอบที่ก้าวไปข้างหน้ามากกว่าจะถอยหลัง และถ้าเส้นทางการไปสู่อนาคตมันราบรื่น สดใส มันก็ดี ต่แม้นว่า มันจะเต็มไปด้วยอุปสรรคแสนยากแค้นเพียงไร แต่เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการก็ย่อมไม่ท้อถอย พระองค์ไม่สะทกสะท้าน และจะปลุกเร้าตัวเองให้ก้าวต่อไปข้างหน้า และต่อสู้กับอุปสรรคขวากหนามทั้งหลาย พระองค์จะไม่วิตกกลัวเกรงเมื่อบรรดาคนผู้ไร้เหตุผลจะต่อสู้ห้ำหั่นกันเอง อันทำให้เกิดภาพแห่งความโกลาหลของการปฏิวัตินองเลือด เพราะพระองค์เห็นว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นสาเหตุตามธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ดังนั้น บรรดานักการเมืองที่ประดุจได้ดั่งนักบวชที่อุทิศตัวเองให้เทพเจ้าก็จะยืนหยัดที่จะต่อสู้กับอุปสรรคขวากหนามและกำจัดสาเหตุใดๆที่ขัดต่อพระประสงค์ของเทพเจ้า และนี่คือหน้าที่อันสำคัญยิ่งของนักบวชแห่งการวิวัฒนาการ ระบบอะไรเล่าที่ขัดขวางหลักการแห่งความเสมอภาค ? และระบบอะไรที่ขัดขวางและทำลายหลักการอันยิ่งใหญ่แห่งเสรีภาพ ?
ถ้านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เป็นรัฐบาลในสมัยพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งของอังกฤษหรือพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ของฝรั่งเศสเปิดตาเปิดใจตัวเอง และถ้าพวกเขาสามารถรับรู้แนวโน้มแห่งกาลเวลาได้อย่างรวดเร็ว คาดการณ์ถึงอนาคตของประวัติศาสตร์ และมีปัญญาที่จะแผ้วทางให้เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการ พวกเขาก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดกลียุคได้ (กลียุคที่ว่านี้ คือ สงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งและฝ่ายรัฐสภาในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1642-1649 ที่ลงเอยด้วยการพ่ายแพ้ของฝ่ายกษัตริย์และพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งถูกพิพากษาสำเร็จโทษด้วยการบั่นพระเศียร --- ส่วนในกรณีของฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหก ได้เกิดการปฏิวัติที่ตามมาด้วยยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัว และพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหกถูกพิพากษาสำเร็จโทษบั่นพระเศียรด้วยเครื่องกิโยติน)
ชาร์ลสที่หนึ่ง
อย่างไรก็ตาม อังกฤษไม่เคยมีตัวแบบให้เรียนรู้มาก่อนหน้านั้น อังกฤษเป็นชาติแรกที่จะต้องผ่านประสบการณ์อันเลวร้าย และด้วยเหตุนี้ จึงสมควรที่จะได้รับความเห็นใจในความล้มเหลวของรัฐบุรุษอังกฤษในการที่จะหามาตรการจำเป็นที่จะทำให้ไม่เกิดความหายนะ อังกฤษสมควรได้รับความเห็นใจในความสูญเสียที่เกิดขึ้น
ตรงกันข้าม ฝรั่งเศสไม่สามารถมีข้อแก้ตัวได้ เพราะฝรั่งเศสได้รับรู้ความหายนะอันน่าสะพรึงกลัวของอังกฤษที่เกิดขึ้นก่อนหน้าการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นเวลานานนับศตวรรษ แต่ฝรั่งเศสก็ไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจากประสบการณ์ของอังกฤษ แต่กลับยังมีจิตใจคับแคบ และนโยบายต่างๆที่ออกมาก็เป็นนโยบายที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่สูญเปล่า ในขณะที่อาการของกลียุคมันปรากฎให้เห็นชัดๆ แต่ฝรั่งเศสก็กลับกลบเกลื่อนความเจ็บไข้ของตนและไม่พยายามที่จะหานายแพทย์ที่เชี่ยวชาญ การลังเลทำให้เกิดข้อสงสัยในหมู่ประชาชนคนธรรมดา และการกระทำและคำพูดที่ยั่วยุก็ได้ไปปลุกอารมณ์ความไม่พอใจของผู้คน ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เกิดความหายนะอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เลือดท่วมแผ่นดิน ประเทศทั้งประเทศได้กลายเป็นโรงฆ่าสัตย์ จะโทษใครเล่า ? เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการ ? หรือนักบวชแห่งศาสนาแห่งวิวัฒนาการ ?
หลุยส์ที่สิบหก
เมื่อตอนที่พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่เป็นกษัตริย์หรือในช่วงต้นรัชสมัยของหลุยส์ที่สิบห้า ถ้านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสามารถที่จะมองไปในอนาคตข้างหน้าได้ไกลๆหลายทศวรรษหรือศตวรรษและพากันร่วมไม้ร่วมมือในการค่อยๆขจัดประเพณีอันเลวร้ายที่สืบเนื่องมายาวนาน และแทนที่ด้วยโครงการใหม่ๆที่ดี ฝรั่งเศสน่าก็จะต้องการเพียงแค่การก้าวไปเพียงทีละก้าวในการรับประชาธิปไตยและความเสมอภาคในช่วงปลายรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ (โดยไม่ต้องมีการปฏิวัติที่เป็นการก้าวกระโดดและเกิดความรุนแรงและเสียหายมากมาย)
พระองค์ก็จะไปรัฐสภาด้วยอาการที่สุขุมสงบนิ่ง ถอดมงกุฎและพระแสงดาบของพระองค์ และต้อนรับโรเบสปิแอร์และคนอื่นๆด้วยรอยยิ้มบนพระพักตร์อันสงบสุขุมและกล่าวว่า
“ท่านสุภาพบุรุษทั้งหลาย มีภารกิจตรงหน้าของพวกเรา ข้าพเจ้าได้กลายเป็นสามัญชนและจะทำเพื่อประเทศของเรา” จากนั้นพระองคและพระบรมวงศานุวงศ์จะทรงเลือกที่ที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม ซื้อที่ดินแปลงใหญ่เพื่อทำการเกษตรและมีชีวิตที่พอสุขสบาย และพระองค์จะทรงสามารถทำให้คนรุ่นหลังจดจำพระองค์ในฐานะกษัตริย์ที่สละอำนาจอย่างงดงามและมีเกียรติศักดิ์ศรี
นวนิยายเรื่องนี้ปรากฏสู่สายตาคนญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2430 ก่อนหน้าที่จะมีรัฐธรรมนูญสองปี และก่อนที่จะมีการเลือกตั้งครั้งแรกสามปี
จะเห็นได้ว่า ความคิดทางการเมืองของ
“สุภาพบุรุษ” เป็นแนวคิดที่เชื่อในกฎวิวัฒนาการ ที่เห็นว่า อย่างไรเสีย โลกมนุษย์ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลงนี้นำไปสู่ความก้าวหน้าของมนุษยชาติ เสรีภาพและความเสมอภาคคือเป้าหมายสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถยืนหยัดฝืนกฎวิวัฒนาการได้ การเมืองการปกครองของทุกประเทศย่อมจะต้องก้าวไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ผู้คนมีเสรีภาพและความเสมอภาค
ดังนั้น ถ้าตระหนักรู้และเข้าใจในกฎวิวัฒนาการนี้ แทนที่จะฝืนรอให้สถานการณ์สุกงอมจนเกินไป ผู้มีอำนาจทางการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ก็จะรู้จักที่จะปรับเปลี่ยนพาตัวเองและสังคมก้าวไปสู่การเป็นสังคมเสรีประชาธิปไตยเสียแต่เนิ่นๆและอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการเปลี่ยนแปลงอย่างฉบับพลันที่เกิดจากการใช้กำลังความรุนแรงก็ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น บทเรียนมีมาแล้วในอดีต เราไม่จำต้องให้เกิดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น
ข่าวที่เกี่ยวข้องในอดีต
Related Keywords
China
,
Japan
,
Roma
,
Lazio
,
Italy
,
United Kingdom
,
Spain
,
France
,
Belarus
,
Japanese
,
British
,
Chai Providence
,
Noonan Chi
,
King Louis
,
Society Dempsey
,
Society Free Democratic
,
United Nations
,
United Enterprises
,
It Enterprises
,
Panasonic
,
Parliament English
,
British National
,
China Talisman Chai Providence
,
Education Science
,
Noonan Chi Darling
,
Constitution Liberal Democratic
,
National East
,
Free Democratic
,
Field La Bowen Durban
,
Fort Fortress
,
Plato Spain Sir
,
Dempsey Forward
,
Dempsey Next
,
English God Louis
,
Kali Yuga
,
King God
,
France King Louis
,
God Louis
,
Statesman United Kingdom
,
Holocaust English
,
Revolution France
,
Policy Various
,
Country The Metamorphosis
,
Rush Mod
,
Panasonic Together Wood
,
Rush Mod God
,
All United Enterprises
,
சீனா
,
ஜப்பான்
,
ரோமா
,
லேஸியோ
,
இத்தாலி
,
ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம்
,
ஸ்பெயின்
,
பிரான்ஸ்
,
பெலாரஸ்
,
ஜப்பானிய
,
பிரிட்டிஷ்
,
கிங் லூயிஸ்
,
ஒன்றுபட்டது நாடுகள்
,
ஒன்றுபட்டது நிறுவனங்கள்
,
அது நிறுவனங்கள்
,
பானாசோனிக்
,
பிரிட்டிஷ் தேசிய
,
கல்வி அறிவியல்
,
தேசிய கிழக்கு
,
இலவசம் ஜனநாயக
,
காளி யுகா
,
கிங் இறைவன்
,
பிரான்ஸ் கிங் லூயிஸ்
,
அரசியல்வாதி ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம்
,
புரட்சி பிரான்ஸ்
,
comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.