comparemela.com


Covid-19 : 'ผื่น' อาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 2)
วันที่ 05 ก.ค. 2564 เวลา 09:30 น.
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เผยโรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 2) พร้อมไขข้อข้องใจ "ผื่นหลังวัคซีน" และ "ปัญหาจากการใส่หน้ากากอนามัย"
เราทุกคนคงเคยได้รับวัคซีนกันมาหลายตัว เช่น วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไข้หวัดใหญ่ และอื่น ๆอีกมากมาย วัคซีนทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหรือลดความรุนแรงของโรค ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต บางครั้งหลังจากได้รับวัคซีนอาจมีอาการข้างเคียงเฉพาะบริเวณที่ฉีด ได้แก่ อาการปวด บวม แดง ร้อน หรืออาจมีอาการทั่ว ๆไป เช่น ไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ปวดเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่น เป็นต้น อาการเหล่านี้พบได้ทุกวัคซีน ซึ่งไม่รุนแรงและหายได้เองมักพบ 1-3 วันหลังฉีดและไม่เกิน 7 วัน
วัคซีนโควิด-19 ก็คล้ายกับวัคซีนอื่น ๆ  จากข้อมูลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบุว่าตั้งแต่เริ่มฉีดวัคซีนวันที่  28 กุมภาพันธ์ ถึง 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา จำนวนเกือบ 2 ล้านโดส ไม่พบอาการข้างเคียงเลย 89% มีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการ โดยเป็นผื่นเพียง 0.7% เท่านั้น
ผื่นหลังวัคซีน
รศ.พญ.จิตติมา ฐิตวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผื่นที่เป็นอาการข้างเคียงหลังวัคซีนจะมีลักษณะดังนี้ 1.ผื่นเป็นบริเวณที่ฉีด ถ้าฉีดแขนซ้ายแต่ผื่นเป็นแขนขวาก็ไม่เกี่ยวข้องกันหรือผื่นกระจายทั่วตัว ผื่นมักขึ้นใน 3 วัน ไม่เกิน 7 วัน 2.ไม่เคยเป็นผื่นลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน เช่น เคยเป็นผื่นคันทั่ว ๆไปเกือบทุกวัน ฉีดวัคซีนก็เป็นเหมือนเดิมหรือโดนยุงกัดเป็นผื่นไปโดนยุงกัดอีกหลังฉีดวัคซีนก็เป็นผื่น จึงไม่เกี่ยวกับวัคซีน 3. ผื่นที่พบเป็นอาการข้างเคียงหลังรับวัคซีนที่พบได้คือ ลมพิษและผื่นคล้ายออกหัด 4. ลมพิษลักษณะเป็นปื้น นูน แดง คัน ผื่นขึ้นตามรอยเกา ผื่นมักหายใน 24 ชม ไม่ทิ้งรอย อาจมีผื่นใหม่ขึ้นๆยุบๆ เลื่อนที่ เป็นทั่วๆทั้งตัว ลมพิษอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ยา อาหาร การติดเชื้อ โรคแพ้ภูมิ หรือไม่มีสาเหตุ 5.ผื่นคล้ายออกหัด เป็นตุ่มสาก ๆ เล็ก ๆ สีแดงกระจายทั่วตัว ผื่นแบบนี้เกิดในไข้ออกผื่นจากเชื้อไวรัสหรือแพ้ยาหรืออื่น ๆ ก็ได้
ถ้ามีผื่นหลังรับวัคซีน ควรทำดังนี้ คือ
1.อย่าตกใจ ผื่นเป็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ มักไม่รุนแรง หายได้เอง 
2.ถ่ายรูปไว้ ใช้มือถือถ่ายรูปผื่นใกล้ ๆ จะได้เห็นลักษณะของผื่นชัด และถ่ายรูปทุกบริเวณที่เป็นผื่น เพื่อให้เห็นการกระจายของผื่นว่าเป็นส่วนใดของร่างกายบ้าง ในวันที่เราไปพบแพทย์ ผื่นอาจหายแล้ว 
3.ใส่ประวัติ บันทึกประวัติไว้เพื่อช่วยในการวินิจฉัยของแพทย์ว่าเป็นผื่นจากสาเหตุใด ได้แก่ ผื่นขึ้นกี่ชั่วโมงหรือกี่วันหลังฉีดวัคซีน บริเวณที่ผื่นเริ่มเป็น มีอาการอื่นเช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูกร่วมด้วยหรือไม่ เป็นผื่นอยู่กี่วันหาย เคยเป็นผื่นแบบนี้มาก่อนหรือไม่ เป็นบ่อยแค่ไหน
4.นัดพบแพทย์ นำภาพผื่นและประวัติที่บันทึกไว้ไปคุยกับแพทย์ ให้แพทย์วินิจฉัยว่าผื่นเป็นอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนหรือจากสาเหตุอื่น
คำถามตามมาหลังเป็นผื่น เช่น แพ้วัคซีนหรือไม่ ฉีดวัคซีนเข็มถัดไปได้หรือเปล่า จะเป็นผื่นอีกมั้ย
คนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องแล้วแต่การวินิจฉัยของแพทย์ว่าเป็นอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนหรือไม่ และเป็นผื่นที่ต้องเปลี่ยนยี่ห้อวัคซีนหรือฉีดต่อได้  อย่าลืมนะคะ ถ้าเป็นผื่นหลังฉีดวัคซีนอย่าตกใจ ถ่ายรูปไว้ ใส่ประวัติ นัดพบแพทย์   ขอให้ทุกคน เชื่อมั่น สิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้ คือการฉีดวัคซีนโควิด-19ให้เร็ว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองและช่วยประเทศชาติของเราให้พ้นวิกฤตินี้ ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้นั้น มีเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง ไม่น่ากลัวโปรดเชื่อมั่นในพวกเรา “บุคลากรทางการแพทย์” เราพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลทุก ๆ คน
ปัญหาจากการใส่หน้ากากอนามัย
อ.นพ.ชนัทธ์ กำธรรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การใส่หน้ากากอนามัย ( mask) อย่างไรไม่ให้เป็นสิว นั้น ผื่นที่สัมพันธ์กับการใส่หน้ากากสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ผื่นที่เกิดจากการสัมผัส ซึ่งอาจเป็นการระคายเคือง  เช่นการกดทับ เสียดสี หรือการแพ้จากสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้ากาก และอีกกลุ่มหนึ่งคือ ผื่นของโรคผิวหนังที่อาจมีอยู่เดิม และเป็นมากขึ้นจากการใส่หน้ากาก โรคที่พบบ่อยได้แก่ สิว, ผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, ผิวหนังอักเสบซีโบเรอิก และผิวหนังอักเสบอะโทปิก โดยในที่นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดเฉพาะสิวที่มีสัมพันธ์กับการใส่หน้ากากเท่านั้น จากรายงานส่วนใหญ่พบว่าการใส่หน้ากากจะกระตุ้นสิวให้กำเริบและมีอาการที่แย่ลง แต่ส่วนน้อยพบว่าทำให้เกิดโรคเหล่านี้โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยมีประวัติสิวมาก่อนเลย ทั้งนี้สิวที่เป็นมักจะมีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง ปัจจัยที่พบว่ามีความสำคัญคือ เพศหญิง การมีสิวอยู่แล้วและยังควบคุมได้ไม่ดีและการใส่หน้ากากอนามัยที่ต่อเนื่องกันเกิน 4-6 ชม.
สิวเห่อจากการใส่หน้ากาก
คำแนะนำสำหรับประชาชนโดยทั่วไปในการป้องกันไม่เกิดสิวเห่อจากการใส่หน้ากาก คือควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาสิวให้เข้าที่และสงบให้เร็วที่สุดร่วมกับการดูแลสภาพผิวหนังให้แข็งแรง โดยการทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์อ่อนโยนและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื้นที่ไม่ก่อให้เกิดสิวอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเนื้อหนา เช่น Petrolatum หรือ Mineral Oil และควรรอให้ครีมที่ทาแห้งสนิทก่อนสวมใส่หน้ากาก ประมาณอย่างน้อย 30 นาที ส่วนชนิดของหน้ากากที่ใส่ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล แต่ไม่ว่าเป็นชนิดไหน อย่างน้อยควรมีการถอดหรือเปลี่ยนหน้ากากทุก 4-6 ชม. (ถ้าสามารถทำได้โดยไม่กระทบต่อความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ)
อ.นพ.ชนัทธ์ กล่าวต่อว่า เมื่อเป็นสิวแล้วแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและเหมาะสม โดยแพทย์ผู้รักษาควรระวังในการใช้ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ เนื่องจากจะมีโอกาสระคายเคืองได้ง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณที่ใส่หน้ากาก แนะนำให้เริ่มจากยาชนิดที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและความเข้มข้นที่ต่ำก่อน และให้พิจารณายาทาเฉพาะที่สิว เช่นการแต้มยาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์หรือกรดซาลิไซลิกเฉพาะบริเวณที่เป็นสิว เพื่อลดการระคายเคืองของผิวหนังข้างเคียง ยาทาในกลุ่มที่เป็นเนื้อแป้ง  จะช่วยทำให้ผิวหนังที่ชื้นจากการใส่หน้ากากแห้งได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่เป็นระดับปานกลางถึงรุนแรงให้พิจารณาให้ยารับประทานได้ตามความเหมาะสม
เครื่องสำอางหรือครีมบำรุงติดหน้ากาก
ส่วนปัญหาเครื่องสำอางหรือครีมบำรุงติดหน้ากาก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและอาจก่อให้เกิดความไม่สบายใจในผู้ป่วยบางคน ในฐานะแพทย์ทางออกสำหรับปัญหานี้ คือให้หลีกเลี่ยงหรือลดการแต่งหน้าที่มากเกินไปในบริเวณที่สวมใส่หน้ากาก โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีปัญหาสิว หรือกำลังรักษาด้วยยาทารักษาสิวอยู่แล้ว เพราะนอกจากจะทำให้หลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องที่หน้ากากอนามัยติดเครื่องสำอางแล้ว ยังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น สิวที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือการระคายเคืองของสิวและผิวหนังจากการทำความสะอาดใบหน้า  ส่วนครีมบำรุงควรพิจารณาเลือกเนื้อที่เป็นเจลหรือโลชั่นในคนที่มีผิวมัน และให้เป็นเนื้อครีมสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวแห้งอยู่แล้ว นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นที่ต้องแต่งหน้า แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทรองพื้น (foundation) และแป้งที่มีเนื้อหนา และเน้นการแต่งหน้าบริเวณที่ไม่ได้ปกปิดด้วยหน้ากาก เช่น รอบดวงตา แทน
สุดท้าย การทาครีมกันแดดบริเวณที่ใส่หน้ากากอนามัย อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการแพ้หรือทำให้สิวเห่อมากขึ้นเช่นเดียวกับเครื่องสำอาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของครีมกันแดดที่ใช้และสภาพผิวหนังของผู้ใช้ คำแนะนำ คือให้หลีกเลี่ยงการใช้ครีมกันแดดบริเวณที่ใส่หน้ากาก และใช้หน้ากากที่ทำจากผ้าที่มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสียูวี (Ultraviolet protective factor, UPF) ตั้งแต่ 50 ขึ้นไป และควรมีจำนวนเส้นด้ายที่มากและทอแบบแน่น ส่วนบริเวณอื่น ๆ อาจพิจารณาทาครีมกันแดดได้ตามปกติ
ข่าวที่เกี่ยวข้องในอดีต

Related Keywords

Germany ,Thailand ,Roma ,Lazio ,Italy ,Ben Sochi Ile ,Congo Shea ,Dodge ,Alcoa ,United Nations ,Charity Valley ,Higher Education ,Valley Medical ,Association Medical ,Medical Diagnosis ,Roma Congo Shea ,Ben Sochi Ile Super ,ஜெர்மனி ,தாய்லாந்து ,ரோமா ,லேஸியோ ,இத்தாலி ,டாட்ஜ் ,அல்கோவா ,ஒன்றுபட்டது நாடுகள் ,அதிக கல்வி ,பள்ளத்தாக்கு மருத்துவ ,மருத்துவ நோயறிதல் ,

© 2025 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.