comparemela.com


ประเด็นสำคัญ
โดยจะเลือกเข้ารับ Home isolation หรือ Community isolation หรือในสถานพยาบาล
เนื่องจากจัดเป็น “ ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (probable case) ” ตามนิยามกรมควบคุมโรค

อธิบดีกรมการแพทย์ย้ำว่าผู้ที่เข้าข่ายติดเชื้อ COVID-19 จากการตรวจด้วย Antigen test kit สามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันทีเช่นเดียวกับการตรวจด้วยวิธี RT-PCR โดยสามารถรับยา รับการรักษาแบบ Home isolation ได้ทันที
ส่วนในรายที่ต้องรับการรักษาแบบ Community isolation หรือรักษาในสถานพยาบาล สามารถดำเนินการรับเข้าได้ทันทีพร้อมกับดำเนินการตรวจยืนยันด้วย RT-PCR ควบคู่พร้อมกัน โดยผู้ป่วยจะต้องรับทราบและเซ็นใบยินยอมเข้ารับการรักษาและจะต้องดำเนินการแยกผู้ที่ตรวจด้วย Antigen test kit ออกจากผู้ป่วย COVID-19 รายอื่นก่อนระหว่างรอผลตรวจด้วย RT-PCR
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ผู้ที่มีผลการตรวจด้วย Antigen test kit จัดเป็น “ ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (probable case) ” ตามนิยามของกรมควบคุมโรค ซึ่งอาจจะพบผลบวกปลอมได้ประมาณร้อยละ 3-5 โดยแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย การดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกรมการแพทย์ วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ให้แนวทางไว้ว่า
“ในสถานการณ์ที่มีการระบาดอาจมีความจําเป็นต้องใช้ Antigen test kit เพื่อการวินิจฉัย ถ้าผู้ป่วยตรวจด้วยตนเองแล้วได้ผลบวกให้ดำเนินการดูแลรักษาเสมือนเป็นผู้ป่วย COVID-19 สามารถดำเนินการ Home isolation รับยาได้ทันที หากจะรับไว้ในโรงพยาบาลควรตรวจยืนยันด้วย RT-PCR ตามแนวทางของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และต้องแยกกับผู้ปวยCOVID-19 รายอื่นก่อนจนกว่าจะได้ผล RT-PCR ยืนยัน”
นอกจากนี้ได้มีการหารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ที่ประชุมมีมติให้ เมื่อผู้ที่มีผลการตรวจ Antigen test kit ให้ผลบวกสามารถรับยา รับบริการแบบ Home isolationได้ทันที หรือหากมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาแบบ Community isolation หรือในสถานพยาบาล หรือในสถานที่อื่นใดที่จัดไว้เพื่อดูแลผู้ป่วย COVID-19 จะต้องได้รับการตรวจยืนยันด้วย RT-PCR แต่จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ารับการรักษาใดๆ
โดยให้ดำเนินการรับผู้ป่วยเข้ารักษา ชี้แจงให้ผู้ป่วยรับทราบถึงความเสี่ยงจากผลบวกปลอม เซ็นใบยินยอมเข้ารับการรักษา พร้อมกับตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR เร่งรัดการรายงานผล ดำเนินการแยกผู้ที่ตรวจด้วย Antigen test kit ออกจากผู้ป่วย COVID-19 รายอื่นระหว่างรอผลตรวจยืนยันด้วย RT-PCR การดำเนินการดังกล่าวเป็นการปรับเปลี่ยนแนวทางเพื่อให้ผู้ป่วย COVID-19 ได้เข้าถึงการบริการได้เร็วขึ้นลดการเจ็บป่วยที่รุนแรงและลดการเสียชีวิต รวมถึงการแยกผู้ป่วยจากครอบครัวและชุมชนเป็นการป้องกันการแพร่กระจายโรคได้อีกทาง
WRITER
Suthee C.
คนออนไลน์ ประสบการณ์ใช้ Netcape Navigator เปิดเว็บไซต์, ใช้ Notepad ทำเว็บ ผ่านเรื่องราวหลายๆ อย่างที่ผ่านมา เอามาเล่าให้ฟังกัน
RELATED
“รามอินทราเฮลท์สหคลินิก” ร่วมระบบ Home Isolation ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน เผยเป็นระบบที่ดี ช่วยลดวิกฤติเตียงไม่พอ สนับสนุนการทำงานเชิงรุก ครอบคลุมอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าบริการ และยารักษา เพื่อผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าไม่ถึงบริการ         นทพ.นันทศักดิ์​ …
ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 17 กรกฎาคม 2564 พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วประเทศสูงถึง 856 ราย ในจำนวนดังกล่าวเป็นคนไทย 550 ราย

Related Keywords

Roma ,Lazio ,Italy ,Phrae ,Thailand , ,Department Of State Medical Private ,Board Committee Top ,Department Science ,Department Of State ,Department Of State Medical Yum ,Alcoa Roma Naa Department Of State ,State Medical ,Director Department ,State Medical Yum ,Designation Arts Director Department ,State Medical Private ,Protection Phrae Province ,ரோமா ,லேஸியோ ,இத்தாலி ,தாய்லாந்து ,துறை அறிவியல் ,துறை ஆஃப் நிலை ,நிலை மருத்துவ ,இயக்குனர் துறை ,

© 2025 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.