comparemela.com


‘เครือข่ายหมอ’ จี้รัฐฝ่าวิกฤติ จับมือเอกชน-จิตอาสาฯช่วย!
ยังไม่มีใครสามารถจะให้คำตอบได้ว่า มหาวิกฤติโควิด-19 ระลอก 4 ที่กำลังถาโถมระบาดอย่างหนักในประเทศไทยและทั่วโลก จะลงเอยเช่นไร? ในประเทศไทย แม้ทาง ศบค.จะยกระดับมาตรการคุมเข้มล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด สีแดงเข้ม 13 จังหวัด เพื่อหาทางสกัดเจ้าเชื้อสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) เอาไว้ให้ได้ แต่ตัวเลขกลับวิ่งสวนทางอย่างสิ้นเชิง
-19
ที่กำลังถาโถมระบาดอย่างหนักในประเทศไทยและทั่วโลก จะลงเอยเช่นไร
?  ในประเทศไทย แม้ทาง ศบค.จะยกระดับมาตรการคุมเข้มล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด สีแดงเข้ม 13 จังหวัด  เพื่อหาทางสกัดเจ้าเชื้อสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) เอาไว้ให้ได้ แต่ตัวเลขกลับวิ่งสวนทางอย่างสิ้นเชิง
วันที่
18,192
178
ราย เมื่อย้อนกลับไปดูข้อมูลของเดือน ก.ค. 64 ตั้งแต่วันที่ 1-31 ก.ค. เพียงเดือนเดียวเท่านั้น ยอดติดเชื้อสะสม 337,986 ราย ผู้เสียชีวิต 2,834 ราย !!
เสียงสะท้อนจากบุคลากรด่านหน้า
ขณะเดียวกันข้อมูลการฉีดวัคซีนในประเทศไทย 77 จังหวัด ที่ทาง ศบค.รายงานเอาไว้ว่า
จำนวนการได้รับฉีดวัคซีนสะสม (28 ก.พ.-29 ก.ค. 64) รวม 17,011,477 โด๊ส เข็มที่ 1 สะสม 13,225,233 ราย, เข็มที่ 2 สะสม 3,786,244 ราย นอกจากนี้เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ที่ผ่านมา วัคซีน mRNA ไฟเซอร์ จำนวน 1.5 ล้านโด๊ส ลอตแรกซึ่งทางสหรัฐอเมริกามอบให้กับประเทศไทยได้เดินทางมาถึงเรียบร้อยแล้ว และยังจะส่งมาให้เพิ่มอีก 1 ล้านโด๊ส ซึ่งทางรัฐบาลก็เตรียมจัดสรรกระจายวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโด๊สที่ได้รับบริจาค จะนำไปฉีดใน 4 กลุ่ม คือ
1. ฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ทั่วประเทศ (เป้าหมายที่ตั้งไว้  7 แสนโด๊ส) 
2.กลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค, คนท้อง 12 สัปดาห์ขึ้นไป และเด็กอายุ 12 ปี ขึ้นไปที่มีโรคเรื้อรัง ในพื้นที่ 13 จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (เป้าหมาย 645,000 โด๊ส)
3.กลุ่มชาวต่างชาติ สูงอายุ,ป่วย 7 กลุ่มโรค, คนท้อง 12 สัปดาห์ขึ้นไป และชาวไทยที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศ (เป้าหมาย 150,000 โด๊ส) และ
4.การศึกษาวิจัย (เป้าหมาย 5,000 โด๊ส)
อย่างไรก็ดีช่วงปลายเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ก่อนที่วัคซีนไฟเซอร์ จะมาถึงประเทศไทย ได้มีตัวแทนของกลุ่ม
แนวร่วมบุคลากรทางการแพทย์ ได้ยื่นหนังสือที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเรียกร้องให้เกิดความโปร่งใสในการ กระจายวัคซีนไฟเซอร์ ที่สหรัฐอเมริกาบริจาคมาให้ และบุคลากรด่านหน้าได้เข้าถึงวัคซีนนี้อย่างแท้จริง เพราะตอนนี้สถานการณ์ของแพทย์ด่านหน้า ค่อนข้างประสบปัญหาในด้านการจัดการข้อมูล ดังนั้นสิ่งนี้ทุกภาคส่วนควรร่วมหาทางแก้ไข เพื่อบริหารจัดการคนไข้ และลดอัตราผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ให้ลดลงโดยรวดเร็ว
ทีมข่าว 1/4 Special Report ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ตัวแทนจากเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์ไม่ขอเปิดเผยนาม
หมอหนึ่ง (นามสมมุติ) กล่าวว่า ตอนนี้รัฐบาลประเมินสถานการณ์ผิดตั้งแต่ทั้งเรื่อง     โควิดกลายพันธุ์ และจำนวนวัคซีน จนนำมาสู่ปัญหาที่มีวัคซีนไม่เพียงพอ มีประชาชนที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ไม่ถึง 10% อีกทั้งการกระจายวัคซีนค่อนข้างมีปัญหาเข้าไม่ถึง
กลุ่มเสี่ยง ถึงแม้รัฐจะมีฐานข้อมูลคนกลุ่มนี้ นอกจากนี้ศูนย์กระจายวัคซีนยังมีน้อย ไม่คำนึงถึงพื้นที่ระบาดสีแดงเข้ม กลายเป็นว่ามีบางพื้นที่ได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่าพื้นที่สีแดงเข้ม
“แพทย์หน้างานตอนนี้ทำงานกับโควิดมา 14 เดือน เราไม่เคยรู้ว่า ข้อมูลทรัพยากรที่เรามี และสิ่งที่มีเหลืออยู่เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดแต่ละวันเหลือเท่าไร ขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่ก็ไม่มีความชัดเจน คือแต่ละหน่วยงานทำงานแยกกัน ทำให้แพทย์หน้างานไม่มีข้อมูลที่จะช่วยวิเคราะห์ว่า อาทิตย์นี้เราต้องเตรียมรับมือกับผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน ตอนนี้การทำงานของแพทย์หน้างาน เหมือนเดินตามข้อมูลในภาพรวมอยู่ 1 วัน โดยไม่มีการวางแผนไปข้างหน้า ไม่รู้ว่าอีก 10 วันข้างหน้า ตัวเลขผู้ป่วยที่กระทรวงสาธารณสุขประมาณไว้จะมีเท่าไร หรือมีเตียงว่าง เตียงเต็ม และจะเหลือบุคลากรทางการแพทย์โดยรวมที่พร้อมทำงานเท่าไรข้อมูลนี้ไม่มีการบอก ทีมแพทย์หน้างานต้องทำงานกันแบบวันต่อวัน”
เร่งวางระบบรักษาตัวอยู่บ้านให้เข้มแข็ง
หมอหนึ่ง มีมุมมองต่อว่า ขณะนี้ศักยภาพการรับผู้ป่วยโควิด เกินกว่าที่โรงพยาบาลจะรองรับ ในโรงพยาบาลยังมีผู้ป่วยในทุกกลุ่มอาการปะปนกันอยู่ ถ้ามีการจัดการให้ผู้ป่วยโควิดที่อาการไม่หนัก กลับไปรักษา
แยกกักตัวอยู่ที่บ้าน (โฮม ไอโซเลชั่น) ได้จะทำให้มีเตียงที่ว่างพอรับคนไข้ที่มีอาการหนักได้ แต่ขณะนี้เมื่อคนไข้เข้าสู่กระบวนการรักษาช้า ทำให้คนไข้จากอาการไม่มาก ก็มีอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างรอคัดกรองเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา การปล่อยให้อาการลุกลามระหว่างรอทำให้คนไข้ที่มีอาการหนัก ไม่สามารถเข้ามารักษาที่ห้องไอซียูได้เพราะเตียงไม่เพียงพอ ดังนั้น รัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้ป่วยที่รอการรักษา โดยจะต้องมีกระบวนการรักษาคนไข้ตั้งแต่เริ่มอยู่ที่บ้าน เช่น ถ้าพบว่าคนไข้ติดเชื้อจริง ควรรีบนำคนไข้เข้าระบบโฮม ไอโซเลชั่น ซึ่งเมื่อ 2 เดือนที่แล้วเคยมีการคาดการณ์ว่า คนไข้จะล้นโรงพยาบาล แต่ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมระบบ แต่พอมาถึงจุดนี้จึงต้องทำอย่างเร่งด่วน ทำให้โรงพยาบาลไม่มีการเตรียมพร้อมทั้งบุคลากร และชุมชนในพื้นที่ส่งผลให้การทำงานค่อนข้างช้า ตั้งแต่การรับแจ้งและนำคนไข้เข้าระบบ
สิ่งที่รัฐต้องเร่งทำคือ การวางระบบโฮม ไอโซเลชั่นให้มีความเข้มแข็ง ข้อมูลคนไข้ในทุกโรงพยาบาลควรมีการรวบรวมสถิติแบบเรียลไทม์ กระจายข้อมูลให้แพทย์และประชาชนทราบ ซึ่งข้อมูลนี้จะทำให้แพทย์เห็นว่าขณะนี้มีผู้ป่วยอยู่กี่คน เตียงว่างกี่เตียง เพื่อเตรียมยาสร้างความพร้อมให้กับบุคลากรภาคสนามเพื่อช่วยคนไข้ไม่ให้เสียชีวิตการจะช่วยผู้ป่วยไม่ให้เสียชีวิตได้ ต้องมีการให้ยาเพื่อรักษาผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพราะในสภาวะนี้วัคซีนมีไม่เพียงพอ และกว่าจะฉีดครบ 2 เข็ม ภูมิต้านทานขึ้น ต้องใช้เวลาไม่ต่ำ      กว่า 3 เดือน ซึ่งยังช่วยอะไรไม่ได้มาก ในสภาวะที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
“ปกติคนไข้โควิดจะมีอาการปอดบวม ในวันที่  7 หลังรับเชื้อ และอาการจะเริ่มหนักขึ้น ตั้งแต่วันที่ 7-9 โดยคนที่มีอาการหนักจนเสียชีวิตมักมีอาการรุนแรง ประมาณวันที่ 14-20 หลังรับเชื้อ จากประสบการณ์คนไข้ที่มีอาการหนัก จะเริ่มแสดงอาการในวันที่ 3 แต่กว่าจะหาสถานที่ตรวจเชื้อได้ก็เข้าสู่วันที่ 7 ที่สำคัญตอนนี้กว่าจะได้รับการติดต่อจากโรงพยาบาลเริ่มมีอาการหนักช่วงวันที่ 9 แต่ถ้าเราตรวจเจอเชื้อเร็วตั้งแต่วันที่ 3 แล้วให้ยาในวันนั้น อาการคนไข้จะไม่รุนแรงจนเสียชีวิต การทำงานเพื่อช่วยเหลือคนไข้ของรัฐตอนนี้ใช้เวลาค่อนข้างนาน ทำให้คนไข้กว่าจะถึงมือหมอก็มีอาการหนักแล้ว”
ดึงภาคเอกชน
จิตอาสามาช่วยเสริม
หมอหนึ่ง กล่าวทิ้งท้ายว่า การจะแก้ไขให้มีการทำงานที่รวดเร็วขึ้น รัฐบาลอาจต้องให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วย โดยเฉพาะการจัดการในด้านข้อมูล เพราะเอกชนหลายรายมีศักยภาพ และช่วยให้ระบบการรักษาส่งต่อผู้ป่วยเร็วขึ้น ขณะเดียวกันข้อมูลคนไข้ก็มีเอกชนที่เก่ง ๆ ในเรื่องการจัดการดาต้าดิจิทัล สามารถแชร์ข้อมูลแบบรายชั่วโมงให้ทีมแพทย์ทำงานทั่วประเทศเห็น และโรงพยาบาลจะได้เตรียมพร้อมหากมีเหตุร้ายกว่านี้ได้ล่วงหน้า หรือ
ทีมจิตอาสา เช่น
กลุ่มเส้นด้าย ซึ่งตอนนี้เอกชนและภาคประชาสังคมมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือ เพียงแต่รอการตอบรับจากรัฐบาลที่จะเข้ามาร่วมมือ เพื่อจัดการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบนอกจากนี้สิ่งที่สังคมต้องการเห็นคือความโปร่งใสเปิดเผยข้อมูลวัคซีนทั้งเรื่องของราคาและจำนวนที่นำเข้ามาประเทศไทย
ขณะเดียวกัน
หมอเอ (นามสมมุติ) กล่าวว่า รัฐควรทำงานเชิงรุกในการเข้าถึงคนกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในชุมชนเพื่อฉีดวัคซีนให้มากกว่านี้ แต่ตอนนี้กลับทำงานตั้งรับ และรอให้ประชาชนเดินเข้ามาฉีดอย่างที่เป็นอยู่ ทั้งที่จริงควรจัดสรรให้กับโรงพยาบาลประจำตำบลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ขณะที่การฉีด
วัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ก่อนหน้านั้นบางโรงพยาบาลมีการประกาศให้บุคลากรด่านหน้าทราบว่า วัคซีนไฟเซอร์ ที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐอาจจะไม่พอฉีดให้จึงแนะให้มาลงชื่อฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันไปก่อน ทำให้มีบุคลากรจำนวนไม่น้อยต้องพลาดการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 จากวัคซีน mRNAของไฟเซอร์
อยากเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดนำบุคลากรทางการแพทย์ไปหาความชอบธรรมให้กับตัวเอง โดยต้องหยุดติดป้ายคำว่า


เพราะเราเป็นเพียงแค่บุคลากรทางการแพทย์ สิ่งที่ต้องการคือ ผลประโยชน์สูงสุดของสุขภาพประชาชน และไม่ต้องการถูกส่งไปตายในสมรภูมิไหน ๆ ขณะที่ค่าตอบแทนการทำงานในช่วงที่มีความเสี่ยง หลายท่านต้องการค่าตอบแทนที่สูงขึ้น จึงต้องออกให้ตรงเวลา ไม่ใช่ค้างตกเบิกมาครึ่งปี หรือบางที่ก็ไม่มีเงินเพิ่มเติมให้ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยง จึงอยากให้รัฐผลักดันค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ให้เท่าเทียมและเป็นธรรม
.
ข่าวอื่นๆ

Related Keywords

United States ,Thailand ,India , ,Public Health ,Alcoa ,Delta India ,States United ,Alcoa David The Metamorphosis ,Dark The Metamorphosis ,Dark Medical ,Alcoa David ,All Hospital ,Hospitald District ,Sebastopol Boone Ravens ,ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,தாய்லாந்து ,இந்தியா ,பொது ஆரோக்கியம் ,அல்கோவா ,டெல்டா இந்தியா ,மாநிலங்களில் ஒன்றுபட்டது ,

© 2025 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.