comparemela.com


เมื่อวันที่ 14 ก.ค. รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิดว่า ว่าสถานการณ์ทั่วโลก 14 กรกฎาคม 2564 รัสเซียแซงฝรั่งเศสขึ้นเป็นอันดับที่ 4 ของโลกแล้ว ในขณะที่สถานการณ์ไทยน่าเป็นห่วง มีจำนวนเคสป่วยรุนแรงและวิกฤติมากเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ส่วนมาเลเซียติดเพิ่มกว่า 11,000 คนสูงสุดเท่าที่เคยระบาดมา
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 472,107 คน รวมแล้วตอนนี้ 188,541,534 คน ตายเพิ่มอีก 7,025 คน ยอดตายรวม 4,064,234 คน 5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ อินโดนีเซีย บราซิล สเปน อินเดีย และสหราชอาณาจักร อเมริกา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 23,513 คน รวม 34,801,060 คน ตายเพิ่ม 266 คน ยอดเสียชีวิตรวม 623,382 คน อัตราตาย 1.8% อินเดีย ติดเพิ่ม 40,159 คน รวม 30,944,893 คน ตายเพิ่ม 623 คน ยอดเสียชีวิตรวม 411,439 คน อัตราตาย 1.3% บราซิล ติดเพิ่ม 45,022 คน รวม 19,151,993 คน ตายเพิ่มถึง 1,527 คน ยอดเสียชีวิตรวม 535,838 คน อัตราตาย 2.8% รัสเซีย ติดเพิ่ม 24,702 คน รวม 5,833,175 คน ตายเพิ่ม 780 คน ยอดเสียชีวิตรวม 144,492 คน อัตราตาย 2.5% ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 6,950 คน ยอดรวม 5,820,849 คน ตายเพิ่ม 54 คน ยอดเสียชีวิตรวม 111,407 คน อัตราตาย 1.9%
อันดับ 6-10 เป็น ตุรกี สหราชอาณาจักร อาร์เจนตินา โคลอมเบีย และอิตาลี ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่น
สหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเพิ่มถึง 36,600 คน ตายเพิ่มถึง 50 คน เป็นขาขึ้นของระลอกสี่ แถบอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย อย่างชิลี เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา บังกลาเทศ เนปาล ญี่ปุ่น เมียนมา เกาหลีใต้ เวียดนาม และมาเลเซีย ติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น เกาหลีใต้เกินพันมาติดกันเป็นวันที่ 7 ล่าสุด 1,150 คน แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่อยู่หลักร้อย ยกเว้นคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน จอร์เจีย และมองโกเลียที่ติดเพิ่มหลักพัน ที่น่าติดตามคือ เดนมาร์กติดเกินพันแล้ว ครั้งสุดท้ายที่เกินพันคือ 3 มิถุนายน 2564
แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน อิสราเอลมีติดเชื้อเพิ่มเกินพันเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ในขณะที่อิหร่านติดเพิ่มหลักหมื่นอย่างต่อเนื่อง กัมพูชาติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ไต้หวัน สิงคโปร์ ลาว นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกงติดเพื่มต่ำกว่าสิบ
วิเคราะห์ภาพรวมของการระบาดจากข้อมูล Worldometer เช้านี้ ขณะนี้จำนวนการติดเชื้อใหม่รายวัน มีสัดส่วนมาจากทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือมากขึ้นกว่าเดิม หากจำกันได้เคยอยู่ระดับ 20% แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 35.5% ในขณะที่มาจากทวีปเอเชีย 41% ทวีปอเมริกาใต้ 18% ที่เหลือมาจากแอฟริกาและโอเชียเนีย หากวันนี้ยอดติดเชื้อใหม่ของไทยยังใกล้เคียงเดิม เราจะมีจำนวนติดเชื้อสะสมแซงโครเอเชียขึ้นเป็นอันดับที่ 59 ของโลกได้ และมีสิทธิจะแซงอุรุกวัยได้ภายในสุดสัปดาห์นี้
วิเคราะห์กลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย 49 ประเทศ จะพบว่าจำนวนติดเชื้อใหม่เมื่อวานนี้ของไทยมากเป็นอันดับที่ 7 จำนวนผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในการดูแลรักษาก็มากเป็นอันดับที่ 7 โดยมีมากถึง 95,410 คน ด้วยจำนวนเคสในระบบมีมากขนาดนี้คงต้องระวังเรื่องจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันที่จะมากขึ้นกว่าเดิมไปแตะหลักร้อยได้ ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยรุนแรงและวิกฤตินั้น ไทยเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย โดยมีถึง 3,042 คน เป็นรองเพียงอินเดียและอิหร่าน
ยุทธศาสตร์ที่รัฐบาล/ศบค.ควรพิจารณาทำคือ หนึ่ง ทบทวนและปรับเปลี่ยนกลไกนโยบายและมาตรการด้านการควบคุมป้องกันโรค รวมถึงวัคซีน ทั้งด้านบริหารและวิชาการ ทั้งที่ปรึกษา คณะกรรมการ และคณะทำงานต่างๆ สอง สร้างนโยบายและมาตรการต่างๆ โดยใช้ Evidence-based policy making อิงข้อมูลความรู้ที่ได้ มาตรฐานสากล ตรวจสอบ พิสูจน์ได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่สาธารณชนและเป็นที่ยอมรับของวงวิชาการในสังคม สาม ประกาศเปลี่ยนนโยบายและแผนการจัดซื้อจัดหาวัคซีน 150 ล้านโด๊ส โดยทำทุกทางเพื่อจัดหาวัคซีน mRNA ได้แก่ Pfizer/Biontech และ Moderna มาใช้เป็นวัคซีนหลักของประเทศเพื่อใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนทุกคนฟรี สี่ จัดหาวัคซีนประเภทอื่นๆ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วมีประสิทธิภาพสูง เช่น Novavax ซึ่งเป็น protein subunit vaccine, วัคซีน Johnson&Johnson ซึ่งเป็น Ad26 vector vaccine และวัคซีน Sinopharm ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีประสิทธิภาพดีเช่นกัน มาใช้เป็นวัคซีนเสริมของประเทศ
ห้า ปรับการใช้วัคซีน Astrazeneca ไปใช้เป็นวัคซีนเสริม สำหรับกลุ่มอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หก มาตรการเรื่องหยุดการระบาดของโรค จำเป็นต้องวางแผนสำรองไว้ด้วย เพราะ semi-lockdown สองสัปดาห์ที่ทำอยู่นี้อาจได้ผลน้อย และไม่สามารถตัดวงจรการระบาดได้ ดังนั้นมาตรการ Full National Lockdown อย่างน้อย 4 สัปดาห์อาจหลีกเลี่ยงได้ยากหากพิจารณาจากบทเรียนต่างประเทศที่มีลักษณะการระบาดที่คล้ายกับเรา สิ่งที่ต้องพิจารณาให้ดีคือ ยิ่งการระบาดรุนแรงยาวนานไปเรื่อยๆ จะยิ่งใช้เวลาในการควบคุมโรคนานขึ้นเป็นเงาตามตัว การตัดสินใจจึงต้องแข่งกับเวลา
เจ็ด ทบทวนนโยบายเปิดเกาะ เปิดประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดในประเทศที่ยังรุนแรง แปด พิจารณานโยบายรัดเข็มขัด และรณรงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ลดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย เก้า สื่อสารสาธารณะโดยเน้นให้ประชาชนตระหนักถึงสถานการณ์ระบาดที่รุนแรงและจำเป็นต้องป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด และอาจต้องหาทางสะกิดพฤติกรรม (Nudge) ประชาชนด้วยกลวิธีต่างๆ เพิ่มเติมในทุกภาคส่วนและกิจการไปจนถึงระดับครัวเรือน อาทิ การทำ Morning question ถามไถ่อาการของทุกคนก่อนทำงานหรือตอนเจอกันทุกเช้า และทบทวนกติกาการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันตัวเองและคนใกล้ชิด ทั้งเรื่องหน้ากาก ล้างมือ ระยะห่างระหว่างกัน การไม่กินข้าวร่วมกัน การไม่ประชุมร่วมกัน และการบอกประวัติพฤติกรรมเสี่ยง เป็นต้น
ถ้าร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันต่อสู้อย่างเป็นระบบ ใช้ความรู้ที่ถูกต้องเป็นแสงส่องทาง ย่อมมีโอกาสสำเร็จ สำหรับประชาชนอย่างพวกเราทุกคน ใส่หน้ากากนะครับ สำคัญมาก สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า ประเทศไทยต้องทำได้ ด้วยรักและห่วงใย
ข่าวอื่นๆ

Related Keywords

Thailand ,United Kingdom ,Malaysia ,Mongolia ,United States ,Hong Kong ,Iran ,Brazil ,Russia ,Sri Lanka ,India ,Denmark ,Israel ,Croatia ,Italy ,Uruguay ,South Korea ,France ,Russian ,Europe Africa Asia ,Center South Division ,University Post Bush ,Dodge ,Post Bush ,Alcoa David ,Russian Saint France ,Decatur India ,Turkey United Kingdom Argentina Colombia ,United States South Europe Africa Asia ,South Korea Vietnam Malaysia ,Scandinavia Baltic ,Kazakhstan Kyrgyzstan Georgia ,North Europe United States ,North Asia ,North United States South ,Africa Oceania ,New Thailand ,Saint Croatia ,Saint Uruguay ,India Iran Strategic ,Management Academic ,தாய்லாந்து ,ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் ,மலேசியா ,மங்கோலியா ,ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,ஹாங் காங் ,இரண் ,பிரேசில் ,ரஷ்யா ,ஸ்ரீ லங்கா ,இந்தியா ,டென்மார்க் ,இஸ்ரேல் ,குரோஷியா ,இத்தாலி ,உருகுவே ,தெற்கு கொரியா ,பிரான்ஸ் ,ரஷ்ய ,டாட்ஜ் ,வடக்கு ஆசியா ,புதியது தாய்லாந்து ,மேலாண்மை ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.