comparemela.com


พุธ 7 กรกฎาคม 2564
รวมคอลัมนิสต์ด้านเศรษฐกิจ การเงิน จากแบงก์ชาติ
7 กรกฎาคม 2564
49
SMEs จะพลิกฟื้นอย่างไร ภายใต้ภูมิทัศน์โลกใหม่การเงินสีเขียว
บทความนี้นำเสนอมุมมองระยะยาว แนวทางที่ SMEs ไทยจะรีเซ็ตและโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไรหลังโควิด 19 ภายใต้โลกการเงินสีเขียว (Green Finance)

Don’t let a good crisis go to waste’ 
เพื่อให้ไทยพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่
new world landscape ได้อย่างมั่นคง” à¸œà¸¹à¹‰à¸§à¹ˆà¸²à¸à¸²à¸£à¸˜à¸™à¸²à¸„ารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
โลกการเงินสีเขียวก้าวไปถึงไหน
?: ยุโรปตะวันตกเป็นผู้นำขบวน จีนและญี่ปุ่นพัฒนาดีขึ้นมาก
แม้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวเกิดขึ้นทั่วโลกเมื่อ
50 ปีแล้ว แต่กระแสด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่งกลับมาได้รับความสนใจมากอีกครั้ง ล่าสุดในการประชุม Rio+20 ในปี 2555 เพื่อหาทางออกในระดับนานาชาติ นักวิชาการระบุว่า โลกอาจประสบปัญหาด้านต้นทุนทางเศรษฐกิจอย่างมาก หากยังนิ่งเฉยต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกใช้หลักการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของสังคม (
UNESCAP, 2555) ภายใต้ความตกลงปารีส (Paris Accord) ขณะที่ผู้บริโภคและธุรกิจก็หันมาใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยภาคการเงินมีส่วนสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้ภาคธุรกิจปรับเปลี่ยนบริษัทเป็นธุรกิจ
สีเขียว ที่เน้นการลงทุนแบบยั่งยืน โดยสถาบันการเงินจะปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending)
รายงานผลการสำรวจ
Global Green Finance Index (GGFI 7)
ปี
2564 ได้นำเสนอผลจัดอันดับศูนย์กลางการเงินด้านการเงินสีเขียวโลก
(รูป
1) พบว่า
มาตรฐานการเงินสีเขียวทั่วโลก ปรับดีขึ้นทั้งในเชิงความลึกและคุณภาพ ศูนย์กลางการเงินชั้นนำในยุโรปตะวันตกเป็นผู้นำกลุ่ม (ติดอันดับ
TOP-10 อยู่ถึง 8 แห่ง จากทั้งหมด 78 ศูนย์การเงินทั่วโลก) และมีศูนย์การเงินจากฝั่งอเมริกาติดกลุ่ม Top-10 คือ ศูนย์การเงินในซานฟรานซิสโกและลอสแองเจลิส
ศูนย์กลางการเงินเมืองอัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์) ติดอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ซูริค (สวิสเซอร์แลนด์) และลอนดอน (อังกฤษ) โดยพิจารณาจากความพร้อมทั้ง 4 ด้าน คือด้านความยั่งยืน ด้านธุรกิจ ด้านทรัพยากรมนุษย์ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน
สำหรับฝั่งเอเชียจากกลุ่มประเทศ
ASEAN+3 :โตเกียว (ญี่ปุ่น) ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ (จีน) และสิงคโปร์ ก้าวขึ้นมาติด Top-20 มีพัฒนาการการเงินสีเขียวดีขึ้นเป็นลำดับ ขณะที่กรุงเทพฯ (ไทย) อยู่ลำดับที่ 49 ปรับดีขึ้นมากจากปีก่อน โดยสังเกตว่าจีนปรับตัวดีขึ้นมาก จากการที่ได้ยกปัญหามลพิษทางอากาศมาเป็นวาระแห่งชาติและลงมือแก้ไขตามแผนอย่างหนัก
เหลียวมองโลก: บทเรียนจากสหภาพยุโรปและจีน
ทั้งสหภาพยุโรปและจีน มีกรอบกติกา แผนปฏิบัติการ และกรอบเวลา ขับเคลื่อนเศรษฐกิจการเงินสีเขียวชัดเจน ได้ผลักดันให้เกิดการลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม กรณีสหภาพยุโรป
1) กำหนดหมวดหมู่ธุรกิจสีเขียว ออกกฎหมายลำดับรองเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เชิงเทคนิคด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
2) กำหนดมาตรฐานพันธบัตร เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (EU Green Bond Standard) และมาตรฐานฉลากเขียว(ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนหันมาลงทุนในธุรกิจสีเขียว
3) พัฒนาเครื่องมือวัดเทียบสมรรถนะการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมองค์กรไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และ
4) กำหนดหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน (ส่วนของต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม) เป็นต้น
สหภาพยุโรปและจีน ต่างตั้งเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (
Climate neutrality) ภายในปี 2593 และ 2603 ตามลำดับ โดย
สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศแรกที่กำหนด
มาตรฐานหมวดหมู่ธุรกิจสีเขียวและมาตรฐานพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขณะที่
จีนกำหนดประเภทธุรกิจสีเขียวและ
แนวปฏิบัติระบบการเงินสีเขียวในปีที่ผ่านมา
โดยกรอบกติกาและกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรปและจีนสอดคล้องกับมาตรฐานหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อม (
Green Bond Principles: GBP) ของ ICMA ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จนถึงวันนี้การระดมทุนหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อมเติบโตต่อเนื่อง ในปี 2563 จีนและสหภาพยุโรป มียอดระดมทุนหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อมอยู่ถึง 33.3 พันล้านดอลลาร์และ 151.6 พันล้านดอลลาร์ ตามลำดับ
(รูป
2) และจีนยืนหนึ่งมีมูลค่าระดมทุนสูงสุดในเอเชีย
หันมองไทย: สินเชื่อสีเขียวกับโอกาสและความท้าทายของ
SMEs
ตลาดทุนไทยใช้มาตรฐานหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อมของ
ASEAN Green Bond Standards ซึ่งคล้ายคลึงกับมาตรฐานสากล สถาบันการเงินไทยเริ่มมีนโยบายและออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่อเนื่อง
ทั้งด้านสินเชื่อสีเขียว อัตราดอกเบี้ยพิเศษ เช่น สินเชื่อเพื่อธุรกิจพลังงานทดแทน และสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม
ด้านหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อมก็เริ่มมีผลิตภัณฑ์บ้างแล้ว แต่การสนับสนุนด้านการเงินทั้งสินเชื่อและหุ้นกู้ยังจำกัดในวงแคบเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น มีสัดส่วนน้อยจากสินเชื่อทั้งหมด
(รูป
3)
การค้าในโลกยุคใหม่ให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม หากธุรกิจ SME ที่มีอยู่ถึง 3 ล้านราย(หรือ 99.5% ของวิสาหกิจทั้งหมด จ้างงาน 13 ล้านคน หรือ72% ของแรงงานในวิสาหกิจทั้งหมด)
ไม่ปรับตัว อาจทำให้ธุรกิจไม่ได้ไปต่อ เนื่องจากผู้บริโภค ธุรกิจ และอุตสาหกรรมยุคใหม่มุ่งไปสู่สินค้าและบริการที่สร้างผลกระทบให้โลกน้อยที่สุด ผลศึกษาของ OECD นำเสนอว่า การพัฒนายกระดับ SME มุ่งสู่ธุรกิจสีเขียวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมจะทำให้ SME สามารถลดต้นทุน  ผลประกอบการดีขึ้น และ
ท้ายสุดจะทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม (
Inclusive Growth) แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน และสร้างโอกาสอย่างเสมอภาคระหว่างคนทุกกลุ่มในสังคมให้ดีขึ้น ชี้ว่าจะไปสู่จุดนั้นได้ SME ต้องปรับโครงสร้างทั้งระบบ 6 ด้าน คือ กฎระเบียบ การตลาด โครงสร้างพื้นฐาน แหล่งเงินทุน การพัฒนาทักษะแรงงานและผู้ประกอบการ และด้านความรู้ นวัตกรรม
(รูป
4)
ฉบับหน้าคณะผู้เขียนจะศึกษาเจาะลึกถึง พัฒนาการสินเชื่อสีเขียวของไทย และความเห็น SME ไทยถึงปัญหา การปรับตัวและความช่วยเหลือที่ต้องการจากรัฐ
เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและเดินไปด้วยกันสู่ “
New world landscape”
บทความนี้ เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของ ธปท.
 à¸šà¸—ความโดย... 
ดร. เสาวณี จันทะพงษ์
นางวรินธร ชัยวิวัธน์
ดร.ดวงทิพย์ ศิริกาญจนารักษ์
นายธีรพัฒน์ เขื่อนปัญญา
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)

Related Keywords

Russia ,Taiwan ,Japan ,Tokyo ,United States ,Thailand ,Netherlands ,United Kingdom ,China ,Toronto ,Ontario ,Canada ,Switzerland ,Los Angeles ,California ,Soviet ,Swiss , ,Center Finance ,Union Europe China ,International National ,Banka Thailand ,Regulationsa Soviet Union Europe China ,China Soviet Union Europe Peak ,Los Angeles Center ,Union Europe ,Thailand Ri Set ,Alcoa David Xix ,Dempsey Last ,Green Dempsey ,Europe East ,Land United States ,Los Angeles Center Finance ,Amsterdam Netherlands ,Swiss Sir Land ,London England ,Land Asia ,Country Tokyo ,Developmental Finance ,Fact Update ,Soviet Union Europe China ,Soviet Union Europe ,Regulations Disclosure Information ,Finance Division ,Rules Regulations ,New Taiwan ,Finance Thailand ,Green Thailand ,ரஷ்யா ,டைவாந் ,ஜப்பான் ,டோக்கியோ ,ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,தாய்லாந்து ,நெதர்லாந்து ,ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் ,சீனா ,டொராண்டோ ,ஆஂடேரியொ ,கனடா ,சுவிட்சர்லாந்து ,லாஸ் ஏஞ்சல்ஸ் ,கலிஃபோர்னியா ,சோவியத் ,சுவிஸ் ,சர்வதேச தேசிய ,லாஸ் ஏஞ்சல்ஸ் மையம் ,தொழிற்சங்கம் யூரோப் ,யூரோப் கிழக்கு ,நில ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,ஆம்ஸ்டர்டாம் நெதர்லாந்து ,லண்டன் இங்கிலாந்து ,நில ஆசியா ,நாடகம் புதுப்பிப்பு ,நிதி பிரிவு ,விதிகள் ஒழுங்குமுறைகள் ,புதியது டைவாந் ,நிதி தாய்லாந்து ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.