comparemela.com


จันทร์ 28 มิถุนายน 2564
‘เงินบาท’ วันนี้เปิด ‘อ่อนค่า’ที่31.82บาทต่อดอลลาร์
28 มิถุนายน 2564
204
แนวโน้มของค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนและมีโอกาสเคลื่อนไหวอ่อนค่าลง มาจากทั้ง เงินดอลลาร์แข็งค่า และฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ คาดวันนี้เงินบาทที่ระดับ 31.75-31.90บาทบาทต่อดอลลาร์
นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  31.82 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า  ที่ระดับ 31.78 บาทต่อดอลลาร์
มองกรอบเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 31.75-31.90 บาทต่อดอลลาร์และกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 31.60-32.10 บาทต่อดอลลาร์
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนและมีโอกาสเคลื่อนไหวอ่อนค่าลง
โดยในส่วนแรงกดดันฝั่งอ่อนค่านั้นอาจมาจากทั้ง เงินดอลลาร์ โฟลว์ธุรกรรมซื้อเงินดอลลาร์ของฝั่งผู้นำเข้าในช่วงปลายเดือน และ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ
เรามองว่า โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ยังมีอยู่ และพร้อมแข็งค่าขึ้น หากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ฟื้นตัวแข็งแกร่งกว่าคาดและบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างออกมาสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น นอกจากนี้ ต้องจับตาการระบาดของ โควิด-19 เพราะการระบาดที่เลวร้ายลงในยุโรปหรือเอเชีย จะเป็นปัจจัยหนุนเงินดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ในส่วนของฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ปัญหาการระบาดในไทย ก็จะยิ่งกระตุ้นแรงขายสุทธิสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ กดดันให้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงได้ จนกว่าการแจกจ่ายวัคซีนจะเร่งตัวขึ้นได้ดีขึ้น(อย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 5 แสนโดสขึ้นไป หากต้องการให้ถึงเป้าหมายสร้างภูมิคุ้มกัน 50% ของประชากรภายในปีนี้) นอกเหนือจากฟันด์โฟลว์ขายหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติ ควรระวังแรงเทขายบอนด์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่ทาง J.P. Morgan ได้ปรับสัดส่วนบอนด์ ในดัชนี Government Bond Index – Emerging Markets (GBI-EM) ทำให้นักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนตามดัชนี GBI-EM อาจเทขายบอนด์ไทยราว 1 หมื่นล้านบาท เพื่อปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับดัชนีได้ (สัปดาห์ก่อน นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายบอนด์ไทยสุทธิราว 4.3 พันล้านบาท ซึ่งอาจมองได้ว่า นักลงทุนต่างชาติอาจขายบอนด์ได้อีก 5.7 พันล้านบาท )
อย่างไรก็ดี แนวต้านสำคัญของเงินบาทยังอยู่ที่ระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์ อีกทั้ง เราคาดว่า หากเงินบาทอ่อนค่าลงไปมากในระยะสั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีโอกาสทยอยขายเงินดอลลาร์ เพื่อลดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (FX Reserves) ออกมาบ้าง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสถูกสหรัฐฯ มองว่า ประเทศไทยมีการแทรกแซงค่าเงินบาทในทิศทางเดียวทำให้เงินบาทยังคงแกว่งตัวในช่วง 31.85+/-0.15 บาทต่อดอลลาร์ และไม่เกิน 32.00 บาทต่อดอลลาร์ ไปมาก
สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้เศรษฐกิจหลายประเทศจะฟื้นตัวดีขึ้น แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 ได้ทำให้ธนาคารกลางส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายตามสำหรับสัปดาห์นี้ ควรติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) รวมถึงถ้อยแถลงบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน และ สถานการณ์การระบาด โควิด-19 รอบโลก
โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้
ฝั่งสหรัฐฯ – เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมโดย ISM (Manufacturing PMI) ที่ระดับ 61 จุด (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึงการขยายตัว) ขณะเดียวกันตลาดแรงงานก็ฟื้นตัวดีขึ้น โดยยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) จะลดลง สู่ระดับ 3.8 แสนราย ส่วนยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนมิถุนายน ก็จะเพิ่มขึ้นกว่า 7 แสนตำแหน่ง และทำให้อัตราว่างงานในสหรัฐฯ ลดลงเหลือ 5.7% หนุนโดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาคึกคักมากขึ้น หลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown
และการทยอยยุติเงินช่วยเหลือผู้ตกงานเพิ่มเติมในหลายรัฐ ทั้งนี้ ภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นยังได้หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดย Conference Board (Consumer Confidence) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 119 จุด ชี้ว่าการบริโภคครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น
นอกจากนี้ ตลาดจะติดตาม มุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของเฟด ผ่านถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดถึง 4 ท่าน อาทิWilliams, Barkin (วันจันทร์) Quarles (วันอังคาร) และ Bostic (วันพุธ)
ทางด้านฝั่งยุโรป – แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปยังสดใส หลังการแจกจ่ายวัคซีนคืบหน้ามากขึ้น(ครอบคลุมประชากรเกือบ 40% และ อาจใช้เวลา 3 เดือน เพื่อครอบคลุมประชากร 75%) หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนมิถุนายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -1.0 จุด สะท้อนว่าการบริโภคของครัวเรือนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกของเยอรมนี (Retail Sales) เดือนพฤษภาคม ก็จะขยายตัวกว่า 4.6% จากเดือนก่อนหน้า หลังกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาคึกคักมากขึ้นจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown

Related Keywords

Japan ,Germany ,Taiwan ,United States ,Thailand ,Pune ,Maharashtra ,India ,China ,Vietnam ,Republic Of ,Toronto ,Ontario ,Canada ,Japanese , ,Bank Center Japana Land ,National Post ,Banka Thailand ,Bank Thailand ,New Taiwan ,Pune Panasonic Mani ,Labor United States Recovery ,European Asia ,Bond Thailand ,Policy Financial ,Land United States ,Index Manager Daily ,Labor It Recovery ,Policy Finance ,Monday Tuesday ,Land Europe ,Land Asia ,Land Japan ,May Toronto ,Bank Center Japan ,Land Vietnam ,Eland China ,Bond Last Port ,ஜப்பான் ,ஜெர்மனி ,டைவாந் ,ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,தாய்லாந்து ,புனே ,மகாராஷ்டிரா ,இந்தியா ,சீனா ,வியட்நாம் ,குடியரசு ஆஃப் ,டொராண்டோ ,ஆஂடேரியொ ,கனடா ,ஜப்பானிய ,தேசிய போஸ்ட் ,வங்கி தாய்லாந்து ,புதியது டைவாந் ,நில ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,பாலிஸீ நிதி ,திங்கட்கிழமை செவ்வாய் ,நில ஆசியா ,நில ஜப்பான் ,நில வியட்நாம் ,நில சீனா ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.