comparemela.com


จันทร์ 28 มิถุนายน 2564
ธุรกิจโอดกระทบสาหัสมาตรการรัฐน็อค 'อสังหา-ร้านอาหาร'
28 มิถุนายน 2564
| โดย ทีมข่าวคอร์ปอเรท
80
ภาคธุรกิจช็อคมาตรการด่วน ปิดแคมป์ก่อสร้าง-ห้ามนั่งทานในร้าน 30 วัน อสังหาฯแนะถอดโมเดลตลาดกลางกุ้ง ลดผลกระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงัก อนุญาตแคมป์กับไซต์คนงานอยู่ที่เดียวกันทำงานได้ “ร้านอาหาร” เล็งปิดบางสาขา-ให้พนง.หยุดแบบไม่รับเงินเดือน จี้ช่วยเยียวยา
นายอิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ออกแบบและก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้มีการปิดแคมป์คนงานเป็นเวลา 1 เดือนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลรวมไปถึงพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย สงขลา นราธิวาส ยะลา และปัตตานี ที่มีการแพร่ระบาดเริ่มวันจันทร์ ที่ 28 มิ.ย. ยังมีความสับสนอยู่ในรายละเอียดถึงแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งเข้าใจได้ว่ารัฐบาลพยายามจะแก้ปัญหา แต่มาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบรุนแรง เนื่องจาก 1.เป็นการหยุดกิจกรรมในการก่อสร้างและธุรกิจเชื่อมโยงทั้งต้นน้ำและปลายน้ำทั้งหมดมีมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่มีตัวคูณทวี (Multiplier effect) ทางเศรษฐกิจที่สูงจึงมีผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงตามไปด้วย 2. ต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องงบประมาณในการชดเชยแรงงานทั้งหมด 3.ต้องใช้กำลังคนฝ่ายทหาร ตำรจหรือฝ่ายปกครองในการกำกับดูแลจำนวนมาก
ทั้งนี้ à¸ˆà¸¶à¸‡à¸¡à¸µà¸‚้อเสนอแนะที่มีแนวทางคล้ายคลึงกันโดยที่ไม่หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและธุรกิจเชื่อมกันเหมือนกับที่ประกาศออกมา กล่าวคือ
1.กรณีที่แคมป์คนงานกับไซต์งานอยู่คนละที่กัน ควรเป็นการคุมการเดินทางระหว่างแคมป์คนงานกับไซต์งาน
2.กรณีแคมป์คนงานกับไซต์งานอยู่ที่เดียวกันควรเป็นการควบคุมไม่ให้ออกนอกพื้นที่เท่านั้น
3.ทั้ง 2 กรณีข้างต้น ยังคงใช้กำลังคนฝ่ายทหารตำรวจหรือฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงกำลังคนของฝ่ายผู้ประกอบการร่วมด้วยช่วยกันเพื่อเป็นการลดงบประมาณ
4.มีการตรวจเชิงรุกสำหรับแรงงานที่ติดโรคโควิดมีผลเป็นบวก ก็ทำการแยกออกไปทำการรักษา ส่วนแรงงานปกติก็ทำงานต่อไปได้ รัฐบาลไม่สูญเสียงบประมาณในการเยียวยา เพราะแยกคนป่วยออกไปรักษาแล้ว
5.รัฐบาลควรจะนำโมเดลการแก้ปัญหาที่เคยใช้ในตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาครมาประยุกต์ใช้ด้วยการล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่และมีมาตรการคุมเข้มในรัศมีรอบนอก
ทั้งนี้ เนื่องจากลักษณะแคมป์คนงานในไซต์งาน ในกรุงเทพฯ แคมป์คนงานกับไซต์งานมักอยู่คนละพื้นที่ เพราะมีพื้นที่จำกัด ขณะที่ปริมณฑลแคมป์คนงานในไซต์งาน มักอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือพื้นที่ใกล้เคียงไซต์งาน
หวังมาตรการแก้ปัญหาได้จริง
นายอธิป พีชานนท์ นายกกิติมศักดิ์ สมาคมอาคารชุดไทยและสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า คำสั่งปิดแคมป์คนงานเป็นเวลา 1เดือนเป็นเรื่องสุดวิสัย เพราะเป็นคำสั่งจากรัฐ ที่พยายามจะแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทางผู้ประกอบการอสังหาฯ พร้อมให้ความร่วมมือแต่อยากให้มาตรการที่ออกมาตอบโจทย์ทั้งเรื่องการแก้ปัญหาแพร่ระบาดและเศรษฐกิจด้วย
มาตรการครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอสังหาฯ ในการส่งมอบโครงการให้ผู้ซื้อที่รอการโอน ซึ่งผู้ประกอบการไม่ต้องการผิดสัญญากับลูกค้า และความล่าช้าทำให้มีต้นทุนเกิดขึ้น ไม่ว่าะเป็นต้นทุนทางการเงิน ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่าย  
"มองว่า หากแคมป์คนงานกับไซต์คนงานอยู่ในรั้วเดียวกันไม่ควรจะหยุดงาน ถ้าไม่ได้ติดโควิด รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องเยียวยา เพราะคนงานได้รายได้เต็มจากการทำงาน เท่ากับประหยัดงบที่มีอยู่จำกัดไปใช้อย่างอื่นที่เป็นประโยชน์มากกว่า ซึ่งคนงานก็อยากได้เงินเต็มๆ ไม่ใช่แค่ครึ่งหนึ่ง ต่อให้นั่งๆ นอนๆ แล้วได้ครึ่งหนึ่งเขาไม่ได้อยากได้เพราะไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายประจำวัน"
โดยธรรมชาติของคนงานรับเงินค่าจ้างมาใช้จ่ายบริโภควันต่อวัน ไม่ได้มีเงินเก็บในบัญชีเช่นมนุษย์เงินเดือน จึงต้องใช้เงินที่ตกเบิกได้เร็ว “วันต่อวัน” หรืออย่างช้ารายสัปดาห์
ขณะเดียวกัน การหยุดกิจกรรมก่อสร้าง 1 เดือนทำให้ทุกอย่างหยุดชะงักแต่ก็ยังพอมีโอกาสที่ทำให้ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติได้ทันเวลา หลังจากที่ครบเดือน ผู้ประกอบการจะต้องเร่งการก่อสร้างให้ทันเวลาที่กำหนดด้วยการทำงานล่วงเวลา (โอที) แต่นั่นหมายความว่าแรงงานที่หายไปกลับมาทำงานได้ตามปกติ มิเช่นนั้นจะเกิดผลกระทบตามมาภายหลัง เพราะจำนวนแรงงานลดลง
รัฐบาลต้องมอง2ด้าน
นายปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า à¸¡à¸²à¸•à¸£à¸à¸²à¸£à¸”ังกล่าว ผู้ประกอบการอสังหาฯ ต้องปรับแนวทางดำเนินงาน โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่พยายามเร่งโอน เนื่องจากคำสั่งที่ออกมาทุกแคมป์ก่อสร้างต้องหยุดการก่อสร้างหมด ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน 
“อยากให้รัฐบาลมอง 2 ด้านทั้งเศรษฐกิจและสุขภาพควบคู่กันในการออกมาตรการแต่ละครั้ง”
ในส่วนของบริษัทได้รับผลกระทบในการชะลอการเก็บรายละเอียดงานในโครงการคอนโดมิเนียมที่กำลังแล้วเสร็จ 2 โครงการได้แก่ โครงการเดอะทรี พัฒนาการ และ à¹€à¸”อะ ไพรเวซี่ เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ จากเดิมคาดเสร็จเดือน ต.ค. อาจเลื่อนเป็น เดือน พ.ย.-ธ.ค. ซึ่งยอมรับว่าเวลานี้ à¸à¸±à¸‡à¸§à¸¥à¸¡à¸²à¸ เพราะ 2 โครงการนี้เป็นความหวังของปลายปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ยอดโอนสูงสุดคิดเป็นสัดส่วน 30% เพราะกลุ่มลูกค้ารอโอนเป็นคนไทย 80% ที่เข้ามาโอนมูลค่า 400-500 ล้านบาท ดังนั้นอาจหันมาให้ความสำคัญกับโครงการแนวราบที่กระจายตัวอยู่ทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะคนงานอยู่ในแคมป์อยู่แล้วส่วนหนึ่งแทน
ชี้น็อคธุรกิจล้มทั้งยืน
นายบุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านปิ้งย่างอากะ ร้านอาหารญี่ปุ่นเซน ฯลฯ  กล่าวว่า แม้ผู้ประกอบการร้านอาหารจะคาดการณ์ว่ามาตรการของ ศบค.จะไม่อนุญาตให้นัั่งรับประทานในร้านอีกครั้ง แต่การปิดให้บริการนั่งทานที่ร้าน 30 วัน มองว่ายาวนานเกินไป และกระทบผู้ประกอบการรายย่อยหนักมาก 
“ครั้งนี้ถือเป็นการน็อคให้ธุรกิจล้มทั้งยืน เพราะวัตถุดิบที่สต๊อกไว้เสียหาย กระแสเงินสดหดหายยิ่งขึ้น และทุกครั้งออกมาตรการมาไร้การเยียวยาภาคธุรกิจด้วย”
ทั้งนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้มาตรการห้ามนั่งรับประทานในร้าน คือ 14 วัน ซึ่งผู้ประกอบการยังสามารถบริหารจัดการสภาพคล่อง และหาทางประคองธุรกิจได้บ้าง เมื่อยืดเยื้อถึง 30 วัน เชื่อว่าทุกรายจะหันมาพิจารณาการ “ปิดร้านอาหารชั่วคราว” ในร้านที่ไม่มีลูกค้า และปรับโมเดลทำดีลิเวอรี่ไม่ได้ เพื่อลดผลกระทบ
เล็งให้พนง.หยุดงานแบบไม่รับเงินเดือน
เซ็น กรุ๊ป à¸¡à¸µà¸£à¹‰à¸²à¸™à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£à¹ƒà¸™à¹€à¸„รือหลากแบรนด์รวม 350 สาขา เป็นแฟรนไชส์ราว 200 สาขา มีพนักงานราว 3,000 คน เช้าวานนี้ (27 มิ.ย.)ได้ประชุมหารือกันถึงแนวทางการให้พนักงานหยุดงานโดยไม่ได้รับเงินเดือนหรือ Leave without pay
“ธุรกิจร้านอาหารเป็นด่านแรกเสมอที่รัฐออกมาตรการควบคุม เมื่อเกิดคลัสเตอร์ใหม่ของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่จากการทำงานอย่างใกล้ชิดกับกรมอนามัย ข้อมูลพบผู้ติดเชื้อไวรัสจากร้านอาหารมีต่ำมาก เพราะร้านมีการดูแลสุขอนามัยอย่างดี พนักงานสวมหน้ากาก ใส่เฟสชิลด์  แต่รัฐกลับไม่มองตรงนี้ ควรพิจารณามีผู้ติดเชื้อตรงไหนควรแก้ไขที่จุดนั้น”
ทั้งนี้ มาตรการภาครัฐที่ออกมาจะทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ต้องพิจารณาปิดร้านบางสาขาเป็นการชั่วคราว ให้พนักงานหยุดงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน เพื่อรักษากระแสเงินสดไว้
ส่วนการปรับโมเดลสู่บริการส่งตรงถึงบ้าน หรือ ดีลิเวอรี่ เพื่อให้อยู่รอดได้นั้น ผู้ประกอบการทุกรายไม่สามารถปรับตัวเหมือนกันทั้งหมด  เช่น ร้านบุฟเฟ่ต์ เพราะไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคไม่นิยมรับประทานที่บ้าน แต่ต้องการมานั่งที่ร้าน ดังนั้น แบรนด์อากะ มี 26 สาขา จึงได้รับผลกระทบหนักเช่นกัน 
ส่วนร้านที่ยังเป็นฮีโร่ เช่น ตำมั่ว เขียง ยังพอไปได้ เนื่องจากได้ปรับกลยุทธ์ ขยายไปย่านชุมชนที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน เพื่อให้เป็นปิ่นโตส่งถึงลูกค้า รวมถึงการผลิตอาหารพร้อมทานเพื่อรับกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารมีความเป็นส่วนตัวหรือ Personalize มากขึ้น จากเดิมเน้นแบ่งกันทาน
จี้รัฐหนุนวัคซีน-เงินเยียวยา
นายวิน สิงห์พัฒนกุล เจ้าของร้านไวน์ ไอ เลิฟ ยู และร้านชอคโกแลตวิลล์ กล่าวว่า หลังราชกิจจานุเบกษา ประกาศมาตรการคุมโรควิด-19 ตอนเที่ยงคืน ห้ามนั่งทานอาหารที่ร้านทุกแห่งให้ซื้อกลับเท่านั้น สร้างความตกใจให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างมาก เพราะส่งผลกระทบต่อธุรกิจสาหัส ร้านหลายรูปแบบไม่สามารถปรับตัวให้บริการดีลิเวอรี่ได้ เช่น ร้านหรูหรือไฟน์ไดนิ่ง แม้บางรายขยายบริการดีลิเวอรี่แต่อาจต้องประสบภาวะขาดทุนจากการแบกรับค่าการตลาด(จีพี)ที่สูง
เมื่อออกมาตรการมาแล้ว อยากเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเร่งด่วน 2 ข้อ 1.เร่งฉีดวัคซีนให้พนักงาน ผู้ประกอบการร้านอาหารให้ได้ภายใน 30 วัน เพื่อให้การล็อคดาวน์ครั้งนี้เป็นการเจ็บแต่จบจริงๆ หากกลับมาเปิดให้นั่งทานที่ร้านได้วันที่ 1 ก.ค. จะช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคกลับมาใช้บริการด้วย 2.การให้เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการ เพราะการล็อคดาวน์ทำให้ธุรกิจอยู่ในภาวะเลือดไหลหมดตัว
“ถ้ารัฐให้เงินอย่างเดียว แต่ไม่ให้วัคซีนแก่ธุรกิจร้านอาหารเชื่อว่าเหตุการณ์จะไม่จบ อาจเปิดปิดแบบนี้ไปตลอด ขณะเดียวกัน 30 วันที่ร้านต้องปิดให้บริการ ผู้ประกอบการพยายามใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ แต่กินเวลายาวนานเหลือเกิน จนไม่เหลืออะไรให้ทำแล้ว”

Related Keywords

Thailand ,Japan ,Samut Sakhon ,London ,City Of ,United Kingdom ,Thai ,A Prayuth Chan ,Yala Pattania Phrae ,International Exchange ,Thailand Association Business ,Alcoa ,Designation Association ,Council Tower ,Chairman Director Association ,Prayuth Chan ,Londonx News ,Dank South ,Phrae Province ,Construction Business ,Alcoa David ,Samut Sakhon Province ,Piya Aglaia ,Flora Rial Tas ,Windows Live ,Royal Thai Government Gazette ,May Power ,ร านอาหาร ,தாய்லாந்து ,ஜப்பான் ,லண்டன் ,நகரம் ஆஃப் ,ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் ,தாய் ,சர்வதேச பரிமாற்றம் ,அல்கோவா ,சபை கோபுரம் ,பிரயுத் சான் ,கட்டுமானம் வணிக ,ஜன்னல்கள் வாழ ,அரச தாய் அரசு கஸெட் ,இருக்கலாம் பவர் ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.