comparemela.com


จันทร์ 28 มิถุนายน 2564
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ
28 มิถุนายน 2564
141
เปิดประเทศ
การ 'เปิดประเทศ' ในความเห็นของผมประเด็นที่สำคัญไม่ใช่ 'เมื่อไหร่' 100 วัน 120 วันหรือ 150 วัน แต่ต้องให้คำตอบกับประชาชนว่าจะต้องทำอย่างไร
การเปิดประเทศเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและการใช้ชีวิตของประชาชนกลับมาสู่ภาวะปกตินั้น ปัจจุบันนี้ดูเสมือนว่าคำตอบคือจะสามารถเปิดประเทศได้ภายใน 120 วันเพราะว่า ณ เวลานั้นจะสามารถฉีดวัคซีนได้ครบ 50 ล้านโดส ทำให้เชื่อได้ว่าคนไทยจะได้รับภูมิคุ้มกันหมู่ไปแล้ว แต่เราก็กำลังเห็นตัวอย่างของประเทศอังกฤษที่ต้องเลื่อนการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดออกไปอีก 1 เดือนเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการที่จำนวนผู้ติดเชื้อกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
 
จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละ 2,000 คนในกลางเดือนพฤษภาคมมาเป็นวันละ 10,000 คน สาเหตุเพราะโคโรน่าสายพันธุ์เดลต้า (จากอินเดีย) ซึ่งแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิมคือสายพันธุ์อัลฟ่า (จากอังกฤษ) ได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่กระจายในอังกฤษ ณ วันนี้
 
สำหรับประเทศไทยซึ่งมีประชากรจำนวนใกล้เคียงกับอังกฤษนั้นก็พบว่าสายพันธุ์เดลต้ากำลังแพร่กระจายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กล่าวคือเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้พบสายพันธุ์เดลต้าคิดเป็นสัดส่วนเพียง 6% แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วพบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 10% แล้วและผู้เชี่ยวชาญของไทยก็ได้ออกมาเตือนแล้วว่าสายพันธุ์เดลต้าจะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทยได้ภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้สายพันธุ์เดลต้าแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟ่าประมาณ 40-60%
 
นอกจากนั้นวัคซีนหลักของไทยในอนาคตคือ AstraZeneca น่าจะสามารถคุ้มครองผู้ที่ฉีดครบ 2 โดสจากการติดเชื้อได้เพียง 60% นอกจากนั้นประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ เช่น ชิลีที่ใช้วัคซีน Sinovac และ AstraZeneca จำนวนมากก็พบว่าจำนวนผู้ที่ติดเชื้อรายใหม่ยังเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับสูงแม้ว่าได้ฉีดวัคซีนให้ประชาชนคิดเป็นสัดส่วน 63% ของประชากรไปแล้ว
 
ตัวเลขของชีลีในรายละเอียดนั้นสรุปได้ดังนี้
1.ฉีดวัคซีนไปแล้ว 21.4 ล้านโดสเทียบกับประชากร 19.3 ล้านคน
2.สัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1  โดสเท่ากับ 63% ของประชากรทั้งหมด
3.ผู้ติดเชื้อและรักษาหายแล้ว 1.5 ล้านคนหรือ 7.8% ของประชากรทั้งหมด
4.ดังนั้นในหลักการแล้วชิลีควรมีภูมิคุ้มกันหมู่แล้วเพราะประชากรที่มีภูมิคุ้มกันน่าจะอยู่ที่ 63+7.8= 70.8% ของประชากร
5.แต่ปรากฏว่ายังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5,489 คนต่อวันในช่วงเฉลี่ย 7 วันถึงวันที่ 22 มิถุนายนและผู้เสียชีวิต 118 คนในวันเดียวกัน
6.ชิลีมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่เป็น Active case รวม 37,301 คน เฉลี่ย 7 วันถึงวันที่ 22 มิถุนายน มากกว่าไทยที่ 35,386 คน
 
ผมเห็นด้วยว่าการฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลายและทั่วถึงนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มภูมิคุ้มกันเพื่อลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิตของประชาชน แต่ก็ต้องยอมรับว่าวัคซีนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะในกรณีของประเทศอังกฤษนั้นก็ได้ฉีดวัคซีนไปให้ประชาชนแล้วกว่า 68 ล้านโดส โดยเร่งฉีดวันละ 5 แสนโดสมาตั้งแต่ต้นปีนี้จนมีจำนวนประชาชนเหลือให้ฉีดลดน้อยลง ปัจจุบันจึงฉีดเพียง 3 แสนกว่าโดสต่อวัน ซึ่งใกล้เคียงกับที่ประเทศไทยกำลังทำอยู่ในขณะนี้ นอกจากนั้นอังกฤษยังได้สั่งวัคซีนมาสำรองเอาไว้แล้วมากกว่า 500 ล้านโดส โดยเลือกใช้หลายยี่ห้อเพราะคงรู้ดีว่าน่าจะต้องฉีดโดสที่ 3 หรืออาจต้องฉีด Booster shot ทุกปีก็เป็นไปได้
 
แต่ประเด็นที่ยังต้องมีคำตอบในการจะเปิดประเทศและการ “อยู่กับโควิด” คือจะต้องตอบให้ได้ว่าการอยู่กับโควิดนั้นหมายความว่าอย่างไรในทางปฏิบัติ เช่น การอยู่กับโควิดแปลว่าประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่วันละไม่เกิน 300 คนทั่วประเทศและสำหรับจังหวัดขนาดเล็กไม่เกิน 10 คนต่อวันและสำหรับจังหวัดใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานครไม่เกิน 60 คนต่อวัน ทั้งนี้ย่อมหมายความว่าคนไทยจะต้องยอมให้มีผู้เสียชีวิตจากโควิดวันละประมาณ 3-4 คน
 
การมีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละ 200-300 คนอย่างเป็นปกตินั้นน่าจะหมายความว่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อ (active cases) 3,000 คนและผู้ที่ป่วยหนักประมาณ 150-200 คน แปลว่าระบบสาธารณสุขของประเทศไทยจะต้องมีศักยภาพในการรองรับภารกิจดังกล่าวเป็นภาวะปกติ ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีศักยภาพสำรองอีก (สมมุติว่า) 100% เพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหากเกิดการระบาดระลอกใหม่ กล่าวคือระบบสาธารณสุขจะต้องสามารถรองรับ active cases ได้ 6,000 คนและผู้ป่วยหนัก 600 คน เป็นต้น
 
หมายความว่าความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่ย่อมจะสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นที่สำคัญไม่น้อยกว่าศักยภาพในการรักษาผู้ติดเชื้อคือ การตรวจคัดกรอง (Test) เพื่อรับรู้การติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งตรงนี้น่าจะหมายถึงการตรวจเชื้ออย่างกว้างขวางและบ่อยครั้งจนเป็นเรื่องปกติเกือบเหมือนกับการแปรงฟันทุกวัน เป็นต้น โดยเฉพาะบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงกว่า เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ที่ทำงานในภาคขนส่งสาธารณะ ครู นักเรียน คนงานในแคมป์ก่อสร้างและพนักงานในโรงงานอาจจะต้องตรวจคัดกรองแบบ Rapid Test เป็นประจำแบบวันเว้นวัน (ซึ่ง Test Kit จะต้องมีใช้อย่างแพร่หลายในราคาถูกหรือแจกฟรี) และหากพบผู้ติดเชื้อก็จะต้องรีบทำ PCR Test  à¸•à¸²à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸¢à¸·à¸™à¸¢à¸±à¸™à¹à¸¥à¸°à¸„วบคุมการระบาดอย่างรวดเร็ว
 
เมื่อพบต้นตอการระบาดแล้วการแยกผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยต้องรีบทำอย่างรวดเร็วและเป็นระบบที่ประชาชนจะต้องรู้หน้าที่และความรับผิดชอบของตัวเอง ที่สำคัญคือสำหรับประชาชนที่มีรายได้น้อยก็ควรได้รับความช่วยเหลือโดยอัตโนมัติจากภาครัฐ เช่น การจ่ายเงินช่วยเหลือและการจัดหาเสบียงอาหาร หากต้องปิดโรงงานขนาดใหญ่ทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ใกล้เคียงได้รับผลกระทบไปด้วย ก็น่าจะมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและพนักงาน โดยภาครัฐช่วยจ่ายเงินเดือนของพนักงานเอสเอ็มอีดังกล่าวครึ่งหนึ่งในระหว่างที่โรงงานดังกล่าวต้องปิดตัวลงชั่วคราวเพื่อควบคุมการระบาดดังกล่าว เป็นต้น
 
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็ยังไม่ได้ตอบโจทย์ที่สำคัญกว่าคือโลกหลังโควิดจะเป็นอย่างไรและประเทศไทยจะวางตัวอย่างไรในโลกดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีงานทำที่ให้ผลตดอบแทนสูงและมีความอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องมาขบคิดกันต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างมีประสิทธิผลครับ.

Related Keywords

Thailand ,Chile ,Roma ,Lazio ,Italy ,United Kingdom ,Chi Lee ,Deltaa Phrae ,Public Health ,Country Economics ,New Day ,Alcoa Roma ,Indian Phrae Province ,United Kingdom The Metamorphosis ,Phrae Province ,Delta Phrae Province ,New Haven ,Donetsk Smart ,Alcoa David ,Great City ,New Enterprises ,Medical Office ,Transport Public ,Camp Construction ,ศ ภว ฒ สายเช อ ,เป ดประเทศ ,สายพ นธ เดลต า ,แคมป ก อสร าง ,คนงานก อสร าง ,โคว ด ,தாய்லாந்து ,சிலி ,ரோமா ,லேஸியோ ,இத்தாலி ,ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் ,சி லீ ,பொது ஆரோக்கியம் ,நாடு பொருளாதாரம் ,புதியது நாள் ,புதியது புகலிடம் ,நன்று நகரம் ,புதியது நிறுவனங்கள் ,மருத்துவ அலுவலகம் ,போக்குவரத்து பொது ,முகாம் கட்டுமானம் ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.