comparemela.com


อาทิตย์ 27 มิถุนายน 2564
‘สุนัข’ 5 สายพันธุ์ พบบ่อย 'โรคข้อสะโพก' หมั่นสังเกตก่อนเสียค่าผ่าตัดหลักหมื่น
27 มิถุนายน 2564
| โดย วลัญช์ สุภากร / ภาพ : โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน
58
เตือน “สุนัข” 5 สายพันธุ์ มีโอกาส "โรคข้อสะโพกเสื่อม" ถามหา ไม่อยากเห็น "สุนัข" ใช้ชีวิตลำบาก เจ้าของต้องหมั่นสังเกตอาการ พบเร็วโอกาสรักษาหายสูง ปล่อยไว้นานต้องเตรียมค่าผ่าตัดราคาหลักหมื่น
หากคิดจะเลี้ยง
“สุนัข” สัตวแพทย์แนะเจ้าของควรรู้จักสุนัขสายพันธุ์ที่ชอบหรือที่อยากเลี้ยงให้มากๆ โดยเฉพาะ ‘ทาสตูบมือใหม่’ ที่กำลังจะมองหาเจ้าตูบสักตัวมาเลี้ยง และกำลังตัดสินใจอยู่ แต่การที่จะเลี้ยงน้องหมาสักตัว ใช่ว่าอยากเลี้ยงก็เลี้ยงได้เลย เจ้าของสุนัขควรศึกษาว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้างที่อาจเกิดขึ้นก่อนจะเริ่มเลี้ยงสุนัข โดยเฉพาะ
โรคข้อสะโพกเสื่อม ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสายพันธุ์โดยตรง
เนื่องจากโรคนี้ ถ้าเกิดขึ้นกับสุนัขแล้ว นำมาซึ่งความเสียใจทั้งสุนัขและเจ้าของ
วันนี้มีข้อมูลจาก
โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน เกี่ยวกับ “โรคข้อสะโพกเสื่อมในสุนัข” โรคที่เจ้าของสุนัขทุกคนไม่ควรมองข้ามมาฝาก
โรคข้อสะโพกเสื่อม (
Hip dysplasia) à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹‚รคที่พบได้บ่อยในเพื่อนสี่ขาของเราทุกสายพันธุ์ โรคนี้เกิดจาก
ความผิดปกติของข้อต่อบริเวณสะโพก ซึ่งก่อให้เกิดการเสื่อมของ ‘ข้อต่อ’ ตามมา
อาการของสุนัขที่เป็นโรคนี้คือ
เดินได้ลำบาก เดินแบบโหย่งขา เดินลากขา ในบางตัวเดินแบบ
กระโดดคล้ายกระต่าย (Bunny–hopping) บางรายที่อาการหนักคือ
ไม่เดิน เมื่อไม่เดินนานเข้าก็ลามไปเป็นกล้ามเนื้อลีบ พิการ จนเดินไม่ได้  à¸­à¸²à¸à¸²à¸£à¸ˆà¸°à¹à¸•à¸à¸•à¹ˆà¸²à¸‡à¸à¸±à¸™à¸­à¸­à¸à¹„ปตามแต่ละพันธุ์ เพศ และอายุของสุนัข สาเหตุของโรคนี้มาจากพันธุกรรมเป็นมาแต่กำเนิดด้วยส่วนหนึ่ง
หมอตั๋ง-น.สพ.บูรพงษ์ สุธีรัตน์
น.สพ.บูรพงษ์ สุธีรัตน์ (หมอตั๋ง)
สัตวแพทย์แผนกระบบกระดูกและข้อต่อ โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน ให้ความรู้ว่า “สุนัขทุกสายพันธุ์มีโครงสร้างกระดูกที่เหมือนกันหมด โดยส่วนขาหน้าและบริเวณเชิงกรานที่มีข้อสะโพกจะรับน้ำหนักได้ 60% และขาหลังจะรับน้ำหนักได้ 40% ของน้ำหนักตัว เมื่อสุนัขเริ่มมีปัญหาข้อสะโพกเสื่อมจนก่อให้เกิดการเจ็บปวดตามข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายทุกส่วน จะทำให้เขาไม่มีความสุขในการเดินหรือวิ่ง”
โรคข้อสะโพกเสื่อม สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่สุนัขอายุ 4 เดือน  หากทราบว่าสุนัขเราเป็นแน่ๆ ก็สามารถวางแผนวิธีการรักษาได้แต่เนิ่นๆ
แต่ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของสุนัขจะพามาหาหมอเมื่ออาการลุกลามถึงขั้นเดินไม่ได้แล้ว การให้ยาลดปวดจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากข้อที่เสื่อม  ซึ่งจะเป็นการรักษาตามอาการ
ส่วนการรักษาที่ต้นเหตุเพื่อให้หายขาดนั้นคือ
การผ่าตัด  การตัดหัวกระดูกและคอกระดูก ซึ่งเป็นการบรรเทาความเจ็บปวดแบบทั่วไปที่ทำกันอยู่   สุนัขจะเดินได้โดยไม่เจ็บ แต่ไม่สามารถเดินได้แบบปกติร้อยเปอร์เซนต์  
ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก มีการพัฒนาอวัยวะเทียม เพื่อให้สร้างคุณภาพชีวิตให้สัตว์เลี้ยง เราจึงมี
ข้อสะโพกเทียม เพื่อนำมาเปลี่ยนใส่ให้กับสุนัขที่เป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม ค่าใช้จ่ายหลักหมื่นต้นๆ ไปจนถึงห้าหมื่นบาท ไม่นับหลังผ่าตัดที่ต้องพาสุนัขทำกายภาพบำบัดด้วยการว่ายน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 40 นาที เป็นอาทิ
หลังจากทำความรู้จักกับโรคข้อสะโพกเสื่อมกันไปคร่าวๆ แล้ว เรามาดูกันว่าน้องหมาสายพันธุ์ไหนบ้างที่มีโอกาสเสี่ยงจะเป็นโรคนี้ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมและเตรียมรับมือในการดูแลเจ้าตูบของเรากัน
โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
     1. โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ (
Golden Retriever)
ด้วยความเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ พี่ใหญ่ใจดีอย่างโกลเด้นเลยมีโอกาสที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นสุนัขที่มีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างสายพันธุ์อยู่แล้ว คนที่เลี้ยงโกลเด้นยิ่งต้องเอาใจใส่มาก ๆ คอยหมั่นสังเกตพี่เด้นเขากันด้วยนะ
ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์
     
2. 
ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (
Labrador Retriever)
ลาบราดอร์เป็นสุนัขรักสนุก กระตือรือร้น ช่างเอาอกเอาใจ จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นสุนัขพันธุ์นี้เป็นเพื่อนซี้สี่ขาคู่หูของหลายครอบครัว แน่นอนว่าด้วยพันธุกรรมของเขาจึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อม ถ้าครอบครัวไหนเห็นเขาเริ่มซึม ไม่ค่อยเดินหรือวิ่ง ควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจอาการ

Related Keywords

Germany , ,Panasonic ,Lauren Slick ,Germany Iv ,Huston New ,ส น ข ,ஜெர்மனி ,பானாசோனிக் ,

© 2025 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.