comparemela.com


ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผย SET CEO SURVEY ต่อวิกฤติโควิด-19 โดยผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยมองว่าการแพร่ระบาดโควิด-19 จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 64 โดยจะส่งผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ของไทยรุนแรงกว่าเหตุการณ์อื่นๆ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีที่ผลประกอบการของ บจ.จะฟื้นตัวสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนการระบาด ขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 และการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่
ผลสำรวจระบุว่า วิกฤติการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของ บจ.มากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งจากข้อมูลรายได้รวมและกำไรสุทธิรวมของ บจ.สะท้อนว่าได้รับผลกระทบจากแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าวิกฤติการณ์อื่นๆ เนื่องจากการแพร่ระบาดครั้งนี้เกิดผลกระทบทั่วโลก รวมทั้งเกิดซ้อนทับกับวิกฤติการเงินโลกที่กำลังดำเนินอยู่และเศรษฐกิจโลกอยู่ระหว่างฟื้นตัว
ขณะที่ บจ.ส่วนใหญ่นำนโยบาย Work From Home (WFH) มาใช้ และคาดว่าจะใช้ต่อเนื่องไปอีก 3-6 เดือน โดย บจ.ส่วนใหญ่จะทบทวนการใช้นโยบาย WFH ทุก 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเงื่อนไขในการพิจารณาให้พนักงานเข้าทำงาน คือมีความคืบหน้าในการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันต่ำกว่า 100 คน และการขอความร่วมมือหรือมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)
และสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ บจ.ปรับตัวมาใช้ระบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น แต่บางงานติดขัดเรื่องกฎหมายภาครัฐที่ปรับตัวไม่ทัน จึงขอให้ภาครัฐพัฒนากฎเกณฑ์และกระบวนงานรองรับการทำงานรูปแบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น
ตลท.ระบุอีกว่า กำไรสุทธิของ บจ.ในไตรมาส 1/64 ฟื้นตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเติบโต 2.37 เท่าตัว หลังจากกำไรสุทธิรวมในปี 63 หดตัวกว่า 50% จากปี 62 จากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ในช่วงต้นเดือน เม.ย.64 การแพร่ระบาดกลับมารุนแรงเพิ่มมากขึ้นเป็นระลอก 3 สอดคล้องกับผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหาร บจ.ที่คาดว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอันดับหนึ่งต่อเศรษฐกิจไทย
แม้ผลประกอบการในไตรมาส 1/64 มีทิศทางที่ดีขึ้น แต่จากสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงความไม่ชัดเจนในการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ส่งผลให้ CEO ส่วนใหญ่ยังคงคาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปีนี้ต่อเนื่องจากปี 63 หมายความรวมถึงความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาด การจัดหาและกระจายการฉีดวัคซีน ขณะที่ความชะงักงันของการท่องเที่ยว และกำลังซื้อในประเทศที่ลดลง เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 2 และ 3
สำหรับปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 64 อันดับแรกยังคงเป็นเดิมจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมา คือ นโยบายการคลังและการใช้จ่ายภาครัฐ อันดับ 2 คือ กำลังซื้อในประเทศ ขยับมาจากอันดับที่ 4 จากการสำรวจครั้งก่อน และอันดับ 3 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
CEO ส่วนใหญ่ 89% มีความวิตกกังวลสูงสุดเกี่ยวกับกำลังซื้อในประเทศที่ลดลงจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งยังคงเป็นอันดับ 1 เช่นเดียวกับการสำรวจครั้งที่ผ่านมา อันดับรองลงมา 56% คือ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย 56% ขยับขึ้นมาจากอันดับ 3 และต่อมาเป็นความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคาดแคลนฝีมือแรงงาน ขยับจากอันดับ 4 ขณะที่ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าลดลงไปอยู่ที่อันดับ 7 จากเดิมอยู่ในอันดับ 2
CEO ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความวิตกกังวลอื่นๆ สรุปโดยรวมได้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) การฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะเรื่องการจัดหาวัคซีน การกระจายการฉีดวัคซีน ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติตัวในกรณีการ lock down การปรับตัวของธุรกิจในการปรับอัตรากำลังให้สอดคล้องกับการทำงาน และผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อ Supply chain ของธุรกิจ
2) การบริหารจัดการบุคลากร ทั้งการบริหารอัตรากำลัง และการพยายามรักษาการจ้างงาน และ
3) การปฏิบัติตามกฎระเบียบภาครัฐ เนื่องจากบริษัทได้มีการปรับกระบวนงานต่างๆ ให้รองรับการทำงานดิจิทัล แต่กฎหมายภาครัฐยังเป็นรูปแบบเอกสารและต้องติดต่อตามสำนักงานต่างๆ จึงเสนอให้ภาครัฐปรับปรุงกฎหมายให้ทันการทำงานของภาคเอกชน รวมถึงกฎหมายใหม่ที่จะบังคับใช้ อาทิ กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล เป็น เพราะส่งผลให้บริษัทต้องมีการปรับกระบวนงานเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว
CEO มองว่ามาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่ช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชน โดย บจ.ในแต่ละหมวดธุรกิจได้รับประโยชน์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการประเภทธุรกิจ โดยภาพรวม บจ.ต่างๆ ได้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากมาตรการที่ช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชน ขณะที่บางมาตรการส่งผลทางตรงกับธุรกิจ อาทิ
โครงการ "เที่ยวด้วยกัน" "คนละครึ่ง" หรือ "เรารักกัน" ส่งผลต่อหมวดพาณิชย์ และหมวดท่องเที่ยวและโลจิสติกส์
การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลต่อกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร บจ.โดยให้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานปี 62-63 และระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้ในการฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับเดียวกับปี 62 พบว่า 45% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามที่ประเมินว่าผลประกอบการปี 63 แย่กว่าปี 62 และ 21% ทรงตัว ขณะที่ 34% ประเมินว่าผลประกอบการดีขึ้น
โดยบริษัทส่วนใหญ่คาดว่าจะใช้เวลาฟื้นตัวอย่างน้อย 2-3 ปี หรือประมาณปี 65 ธุรกิจจึงจะสามารถกลับสู่ระดับเดียวกับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นอยู่การความรวดเร็วในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19

Related Keywords

Thailand ,Roma ,Lazio ,Italy ,Toronto ,Ontario ,Canada ,London ,City Of ,United Kingdom ,Phrae ,Barcelona ,Comunidad Autonoma De Cataluna ,Spain , ,Alcoa ,Alcoa David ,Phrae Province ,Policy All ,Policy Finance ,Londonk State ,Business Sunday ,Barcelona Chi Logistics ,Recovery Back ,தாய்லாந்து ,ரோமா ,லேஸியோ ,இத்தாலி ,டொராண்டோ ,ஆஂடேரியொ ,கனடா ,லண்டன் ,நகரம் ஆஃப் ,ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் ,பார்சிலோனா ,காமுனிடட தன்னாட்சி டி கடலுள் ,ஸ்பெயின் ,அல்கோவா ,பாலிஸீ நிதி ,வணிக ஞாயிற்றுக்கிழமை ,மீட்பு மீண்டும் ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.