comparemela.com


อินเดียเร่งสางปม ‘หนี้เสีย’ ก่อนท่วมระบบแบงก์
อินเดียเร่งสางปม ‘หนี้เสีย’ ก่อนท่วมระบบแบงก์
วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 - 10:24 น.
คอลัมน์ ชีพจรเศรษฐกิจโลก
ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์
“อินเดีย” เป็นหนึ่งในประเทศที่มี
“หนี้ด้อยคุณภาพ” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “หนี้เสีย” มากที่สุดในโลก
ปริมาณหนี้เสียในอินเดียสูงมากจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ นักวิเคราะห์เชื่อกันว่า เศรษฐกิจของอินเดียเมื่อปี 2019 จะขยายตัวสูงกว่า 4.2% มาก ถ้าหากไม่มีปัญหาหนี้เสียเป็นตัวถ่วง
สภาพหนี้ด้อยคุณภาพของอินเดียยิ่งเลวร้ายหนักข้อขึ้นไปอีก เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ ธนาคารกลางของอินเดีย (อาร์บีไอ) ประกาศเมื่อสิ้นเดือนมีนาคมปี 2020 เปิดให้ลูกหนี้ทั้งที่เป็นกิจการธุรกิจและเป็นตัวบุคคลสามารถ “ยืดชำระหนี้” ออกไปได้ โดยไม่ถือว่าเป็นหนี้เสียที่ชำระช้ากว่ากำหนด
ปัญหาก็คือ ประกาศดังกล่าวสิ้นสุดลงในเดือนมีนาคม ทำให้คาดกันว่า หนี้เสียจะพุ่งขึ้นเป็นปริมาณมหาศาลหลังจากการสิ้นสุดการผ่อนปรนดังกล่าว
กระทรวงการคลังอินเดียตระหนักในเรื่องนี้ดี จึงเตรียมนำเสนอแผนจัดตั้ง
“สถาบันบริหารสินทรัพย์” ที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า
“แบดแบงก์” ขึ้นภายในเดือนมิถุนายนนี้ และจะเริ่มรับหนี้เสียจากธนาคารต่าง ๆ เข้ามาบริหารตั้งแต่เดือนกรกฎาคม เป็นต้นไป
สถาบันที่ว่ามีชื่ออย่างเป็นทางการว่า
“บริษัทฟื้นฟูสินทรัพย์แห่งชาติ” (National Asset Reconstruction Company Limited-NARCL) ไม่ได้เป็นแนวคิดของรัฐบาลโดยตรง แต่ริเริ่มโดยสมาคมธนาคารแห่งอินเดีย (ไอบีเอ) ที่ผลักดันจนคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกับเรื่องนี้ เพื่อให้ “เอ็นเออาร์ซีแอล” ทำหน้าที่แยกเอาหนี้เสียออกจากระบบธนาคาร มากองรวมกันเพื่อสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นกับระบบธนาคาร ทำให้ธนาคารสามารถดำเนินกิจการปล่อยกู้ในระบบเศรษฐกิจต่อไปได้
ข้อมูลของบลูมเบิร์กระบุว่า แบดแบงก์ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสะสางปัญหาหนี้เสียนี้ มีแนวโน้มต้องรับมือกับปริมาณหนี้ด้อยคุณภาพมหาศาลถึงราว 2 ล้านล้านรูปี หรือราว 27,000 ล้านดอลลาร์ ที่คิดเป็นเพียง 1 ใน 4 ของหนี้เสียทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจอินเดีย
ปัญหาคือนักวิเคราะห์และนักลงทุนทั้งหลายยังคงไม่เชื่อมั่นว่า แบดแบงก์ที่ก่อตั้งขึ้นนี้จะสามารถเอาชนะปัญหาหนี้เสียที่อินเดียมีอยู่ และช่วยให้ระบบสถาบันการเงินกลับมามีเสถียรภาพใหม่อีกครั้งได้
ตราบใดที่พื้นฐานของปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข
ในความเห็นของผู้สันทัดกรณี พื้นฐานของปัญหาหนี้เสียอยู่ที่
“กฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย” ซึ่งอินเดียประกาศใช้เมื่อปี 2016 ยังไม่ดีพอ และจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข
และสถานการณ์จะยิ่งแย่มากขึ้นไปอีก หากแบดแบงก์ที่จัดตั้งขึ้นมา มุ่งทำหน้าที่เพียงส่วนเดียว คือ การแยกเอาหนี้เสียออกจากระบบธนาคาร เหมือนกับโกดังเก็บหนี้ แทนที่จะทำหน้าที่ “บริหาร” เพื่อฟื้นฟูหนี้เหล่านั้น
ทำให้ “แบดแบงก์” กลายเป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้นเท่านั้นเอง
ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงชี้ว่า การปฏิรูปกฎหมายล้มละลายในอินเดีย เป็นหนทางเดียวในการแก้ปัญหาในระยะยาว แต่นับวันความเชื่อมั่นว่าจะเกิดการปฏิรูปที่ว่า ก็ยิ่งสั่นคลอนมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อคณะกรรมการว่าด้วยภาวะหนี้สินและการล้มละลายแห่งอินเดียแสดงว่า ตัวเลขสัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้รับคืนเมื่อคดีแต่ละคดีสิ้นสุดในอินเดีย ลดลงตามลำดับ จากที่เคยได้รับคืน 46% ในเดือนมีนาคม ปี 2020 เหลือเพียง 39% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และหากตัดเอาคดีใหญ่ ๆ ที่สุด 9 คดีออกไป ก็จะเหลือน้อยลงไปอีก แค่ 24% เท่านั้น จากที่ควรจะได้
ขณะที่ธนาคารกลางของอินเดียคาดการณ์ว่า ถึงสิ้นเดือนกันยายนนี้ สัดส่วนของหนี้เสียในอินเดียจะทวีขึ้นอีกเกือบเท่าตัวสู่ระดับ 13.5%
และเศรษฐกิจอินเดียจะถูกหนี้เสียถ่วงต่อไปอีกนาน
ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น
เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat

Related Keywords

India ,Taiwan ,Phrae ,Thailand , ,Bloomberg ,Carlsbad Bank ,Association The Banka India ,Bank Centera India ,Panasonic New Jersey India ,India High ,Phrae Province ,Bank Center ,Finance India ,New Taiwan ,Executive Order ,Carlsbad Bank The Metamorphosis ,இந்தியா ,டைவாந் ,தாய்லாந்து ,ப்ளூம்பெர்க் ,இந்தியா உயர் ,வங்கி மையம் ,நிதி இந்தியா ,புதியது டைவாந் ,நிர்வாகி ஆர்டர் ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.