comparemela.com

Card image cap


โควิดเอฟเฟ็กต์! เอกชนแห่ลดพนักงาน รื้อโมเดลธุรกิจคุมต้นทุน
วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 - 09:47 น.
ธุรกิจปรับทิศรับโควิด เอฟเฟ็กต์ บิ๊กพลังงานหัวหอกพลิกเกมใหม่ ดาวน์ไซซ์องค์กร-เฉือนพื้นที่ออฟฟิศปล่อยเช่า-WFH 100% มาแรง “บางจาก” หันจ้างฟรีแลนซ์-เอาต์ซอร์ซ ผุด coworking space รองรับพนักงานจุดสำคัญทั่วกรุง “สตาร์ ปิโตรเลียม” ชูรูปแบบการทำงาน hybrid work “ปตท.” เตรียมรื้อระบบสวัสดิการ ครอบคลุมค่าไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต กลุ่มไฟฟ้า ประสานเสียงให้พนักงานทำงาน WFH ถาวร
นายอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้อำนวยการ สลิงชอท กรุ๊ป จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ต่อเนื่องถึงระลอก 3 ทำให้องค์กรธุรกิจจำนวนมากต้องรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการให้สอดรับกับสถานการณ์ โดยเฉพาะการให้พนักงานทำงานที่บ้าน (work from home-WFH) ขณะนี้หลายองค์กรประกาศนำ WFH มาใช้ 100% โดยกำหนดเป็นนโยบายองค์กรโดยตรง
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังต้องสับเปลี่ยนหมุนเวียนในบางแผนกที่มีความจำเป็น เช่น การผลิต การบริการ ฯลฯ ทั้งนี้ ในมุมของภาคธุรกิจนับจากนี้ไปจะเห็นภาพอาคารสำนักงาน มีพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เหลือเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละองค์กรอาจต้องหาแนวทางนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ อย่างเช่น เปิด “ให้เช่า” พื้นที่สำนักงานบางส่วน เป็นต้น
ดาวน์ไซซ์เทรนด์ใหม่มาแรง
ขณะเดียวกันจะเห็นภาพการ “ยุบแผนก” ที่ไม่มีความจำเป็นลง โดยพนักงานต้องปรับเปลี่ยนประเภทงาน หรือที่เรียกว่า “people transformation” เพื่อปรับแผนงานใหม่ ให้พนักงานบางส่วนไปอยู่ในแผนกอื่นที่มีความจำเป็นทางธุรกิจจริง ๆ โดยบริษัทจะว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล “ประเมินศักยภาพ” ของพนักงานว่า มีทักษะงานด้านอื่นหรือไม่ ก่อนนำมา matching กับประเภทงานที่มีอยู่
พิจารณาจากลูกค้าของสลิงชอท กรุ๊ป พบว่าลักษณะงานที่องค์กรต้องการเพิ่มทักษะให้พนักงานส่วนใหญ่เป็นงานขาย และงานบริการลูกค้า เพราะมีความจำเป็นต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ ให้บริษัทมีผลกำไร สำหรับพนักงานที่ย้ายแผนกและไม่สามารถปรับตัวได้ ไม่มีความถนัดในงานใหม่ สภาพงานอาจเป็นการกดดันกลายเป็น “แรงบีบ” ให้ต้องลาออกจากงานในที่สุด
สัญญาณลักษณะนี้ดูเหมือนชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทางหนึ่งเป็นการ “เลิกจ้าง” พนักงานที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับงานใหม่ อีกด้านหนึ่งถือเป็นสัญญาณในการ “ลดขนาดขององค์กร” (downsizing organization) ไปในตัว
Right-size คนเหมาะสมกับงาน
“วิกฤตโควิด-19 ทำให้ฝ่าย HR ต้องทำงานอย่างหนัก แม้กระทั่งการเลิกจ้างก็ทำได้ยากในภาวะแบบนี้ ยิ่งเป็นองค์กรใหญ่ หากเลิกจ้างจะถูกวิพากษ์วิจารณ์รุนแรง แต่ในแง่ของธุรกิจนั้นการลดต้นทุนที่ดีที่สุดคือ การลดจำนวนพนักงาน หรือที่เรียกว่า right-size เพื่อให้จำนวนคน และจำนวนงานสอดคล้องกัน ฉะนั้น คนทำงานยุคนี้จะต้องเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และยอมรับว่ารูปแบบการทำงานไม่มีอะไรเป็นรูปแบบตายตัว ต้องปรับเปลี่ยนตามความเสี่ยง หรือวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้” นายอภิวุฒิกล่าว
บางจากจัด Hub ทำงานทั่วกรุง
กรณีตัวอย่าง บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น องค์กรอายุยาวนาน 37 ปี และมีวัฒนธรรมการจ้างงานในรูปแบบพนักงานประจำ ชี้ให้เห็นชัดเจนถึงรูปธรรมในการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ล่าสุด นายนพชัย นุดสติ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า เร็ว ๆ นี้ ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลจะนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการด้านกำลังคนต่อ
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) 4 ประเด็น คือ 1) การขยายเวลาหรือผลักดันให้ทำงานจากที่ไหนก็ได้ “work from anywhere) เพื่อลดความแออัดในสำนักงานใหญ่ ลดต้นทุนด้านอื่น ๆ ทั้งของพนักงาน และองค์กร 2) สร้างศูนย์กลาง (hub) ในพื้นที่สำคัญใน กทม. เป็นที่รวมพนักงานแต่ละแผนกเพื่อประชุมติดตามงาน ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบ coworking space หรือรูปแบบอื่น ๆ
ใช้ Outsource ลดต้นทุน
3) เปิดให้ผู้สนใจเช่าใช้พื้นที่สำนักงาน 4) เพิ่มการจ้างงานรูปแบบรับจ้างอิสระ (freelance) และการจ้างงานแบบชั่วคราว (outsource) เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันบางจากฯมีการจ้างงานในรูปแบบพนักงานประจำเท่านั้น เพราะมองว่าจะทำให้การบริหารงานขององค์กรคล่องตัวขึ้น และช่วยลดต้นทุน เพราะช่วงวิกฤตโควิดมีการใช้น้ำมันลดลง
นายนพชัยกล่าวว่า ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาว่าจะผลักดัน WFH ถาวรในบางแผนกหรือไม่ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ที่จะ WFH ให้ได้ทั้งองค์กรด้วย เนื่องจากมองว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้เกิด platform ใหม่ ๆ อาจนำมาใช้กับการทำงานได้ ส่วนการรับพนักงานใหม่ (newcomer) ปีนี้บางจากฯจะเน้นไปที่การลงทุนใน startup เท่านั้น คาดว่าจะรับเพิ่มราว 50-100 คน เพราะมีเป้าหมายรักษาระดับพนักงานไม่เกิน 1,200 คนเท่านั้น
SPRC ตามรอยเชฟรอน
นายจิระศักดิ์ มหาสุคนธ์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) ระบุว่า บริษัทมีนโยบายให้พนักงาน WFH เช่นเดียวกัน และเตรียมนำรูปแบบการทำงานของบริษัท เชฟรอน คอร์ปอเรชั่น สำนักงานใหญ่ ในสหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ มาปรับรูปแบบทำงานเป็น hybrid work หรือทำงานโดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ทำงานที่ไหนก็ได้ ผสมผสานกับรูปแบบ WFH สลับกับการทำงานที่สำนักงาน ซึ่งใช้รูปแบบดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นปี 2564 โดยจะนำมาใช้ในองค์กร SPRC ที่มีพนักงานราว 500 คน
นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารยังได้อนุมัติให้ปรับปรุง flexible benefit หรือความยืดหยุ่นด้านสวัสดิการด้านสุขภาพ ภายใต้วงเงิน 24,000 บาท/ปี ให้กับพนักงาน โดยเพิ่ม 4 รูปแบบ คือ ซื้อโต๊ะทำงานกรณี WFH ซื้ออุปกรณ์กีฬา และอุปกรณ์เกี่ยวเนื่อง ค่าใช้จ่ายเปลี่ยนล้อยางรถยนต์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง และสามารถนำเงินสวัสดิการดังกล่าวไปใช้เพื่อการ outing หรือเดินทางท่องเที่ยวกับครอบครัวได้ พร้อมจัดวงเงินกรณีพนักงานติดเชื้อโควิด-19 ไว้สูงสุด 400,000 บาท/คน ครอบคลุมทุกคนในครอบครัวพนักงานด้วย
ทั้งนี้ SPRC ไม่มีนโยบายลดคนทำงาน เนื่องจากตามรายงานดัชนีบุคคล (Person Index) อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมที่ 75% แม้ได้รับผลกระทบจากโควิด แต่การลดต้นทุนต่อเนื่องทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ราว 2,000 ล้านบาท
ปตท.จ่อรื้อระบบสวัสดิการ
นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารองค์กรและความยั่งยืน บมจ.ปตท.ระบุว่า ปตท.อยู่ระหว่างปรับรูปแบบสวัสดิการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ และชีวอนามัยพนักงาน จะดูแลพนักงานทั้งในกรณีตรวจหาเชื้อ รักษา และค่าใช้จ่ายในการกักตัว ส่วนการทำงาน ปัจจุบัน ปตท.ได้วางแนวทางให้ยืดหยุ่นมากที่สุด และจากที่เคยนำนโยบาย work from anywhere มาใช้ หากต้องใช้ต่อเนื่องก็ไม่ต้องปรับตัวมากนัก
ส่วนสวัสดิการของพนักงาน ที่ผ่านมาพบว่าบางสวัสดิการไม่ได้ประโยชน์ เช่น ค่าน้ำมันรถ 300 บาท/เดือน พนักงานที่ไม่มีรถยนต์ไม่ได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งพนักงานต้องการให้ปรับสวัสดิการให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์มากขึ้น เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต และค่าไฟฟ้า เป็นต้น
ปัจจุบัน ปตท.มีสวัสดิการให้พนักงานรวม 15 ประเภท เช่น ค่าน้ำมัน, รักษาพยาบาล, ค่าตรวจสุขภาพ เร็ว ๆ นี้จะเปิดรับฟังความเห็นเพิ่มเติมว่าควรจัดสวัสดิการส่วนไหนเพิ่มเติม ล่าสุด ปตท.ให้พนักงานกว่า 80% WFH ส่วนที่จำเป็นต้องเข้าสำนักงานมีเพียง 20% โดยจะใช้วิธีสลับเข้ามาทำงาน
กลุ่มไฟฟ้า WFH ถาวร
ด้านนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ.มีแนวคิดใช้ WFH เป็นมาตรการถาวร เพราะช่วงที่ผ่านมาพิสูจนให้เห็นว่า งานต่าง ๆ ยังเดินหน้าต่อไปได้ แต่อาจต้องเพิ่มเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น ขณะที่พนักงานเรียกร้องให้เพิ่มสวัสดิการสนับสนุนค่าอินเทอร์เน็ต ค่าไฟฟ้า แต่ยังไม่มีการพิจารณา
เพราะมองว่าการทำงาน WFH พนักงานได้ลดค่าใช้จ่ายบางส่วนแล้ว ส่วนอาคารสำนักงานที่ว่างเพราะ WFH กฟผ.อยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางนำมาใช้ประโยชน์ เป็นไปได้ว่าจะเปิดให้เช่า ส่วนการรับพนักงานใหม่ช่วงนี้งดรับไปก่อน พร้อมทบทวนทักษะพนักงานที่มีในปัจจุบันว่าจะเพิ่มทักษะการทำงานใหม่ได้หรือไม่
นางอุรุวสี สุประกอบ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บมจ.ผลิตไฟฟ้า หรือ EGCO ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ เปิดเผยทำนองเดียวกันว่า เอ็กโกมีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่ไหนก็ได้ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นที่บ้านเท่านั้น ส่วนบางแผนก เช่น งานด้านเอกสาร งานธุรกิจกับพาร์ตเนอร์ สามารถเข้าสำนักงานได้ 1 วัน/สัปดาห์เท่านั้น
หากโควิดยังไม่ลดความรุนแรงอาจต้องมีแผนงานรองรับกรณียืดเยื้อ 1-2 ปี และต้องปรับเปลี่ยนการทำงานแบบ WFH เป็นมาตรการถาวร รวมถึงจัดเวลาทำงานให้เหลื่อมเวลากันในบางแผนกที่ไม่สามารถ WFH นอกจากนี้ ได้จัดทำกรมธรรม์ประกันชีวิตหมู่ให้พนักงานกรณีติดเชื้อโควิด โดยจะได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลที่บริษัทเจรจาไว้ จัดเตรียมสถานที่กักตัว หรือ “hospitel” เฉพาะ ฯลฯ
รายงานว่า บมจ.บ้านปู เป็นอีกรายที่ WFH 100% โดยพนักงานสามารถเบิกค่าอุปกรณ์ อาทิ โต๊ะ, เก้าอี้, ค่าอินเทอร์เน็ต ภายในวงเงิน flexible benefit ที่จัดสรรให้ และทำประกันโควิดเป็น “สวัสดิการพิเศษ” ให้ด้วย
บี.กริมฯ เน้น Hybrid Work
ขณะที่นายนพเดช กรรณสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส-การเงินและบัญชี บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ กล่าวว่า ในส่วนของบริษัทขณะนี้ใช้แนวทางผสมผสาน (hybrid work) ทำงานที่บ้าน และที่สำนักงานตามปกติ แต่ระดับปฏิบัติการของโรงไฟฟ้าจะต้องมีพนักงานอยู่ประจำการ สำหรับระบบสวัสดิการได้เพิ่มมาตรการดูแลพนักงาน เช่น การจัดหาวัคซีนให้กับพนักงาน กรณีเปิดรับพนักงานใหม่จะตรวจสอบย้อนหลังว่าครอบครัวมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิดหรือไม่ เป็นต้น

Related Keywords

Bangkok , Krung Thep Mahanakhon , Thailand , United States , London , City Of , United Kingdom , Phrae , , Business The Company , Chevron Corporation Office , Roy Chevron Corporation Mr , Health Chi , Office Iv , Scan Office , Alcoa , Alcoa David , Alcoa David Big , Free Source , Bang Light Suriya , Phrae Province , Trend New , Corporation Private , Management Director Manager Daily , Roy Chevron Corporation , Last Office , Manager Daily , Windows Live , பாங்காக் , தாய்லாந்து , ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் , லண்டன் , நகரம் ஆஃப் , ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் , அல்கோவா , இலவசம் மூல , நிறுவனம் ப்ரைவேட் , மேலாளர் தினசரி , ஜன்னல்கள் வாழ ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.