comparemela.com

Card image cap


เสาร์ 24 กรกฎาคม 2564
มีอะไร? ใน 'กล่องรอดตาย' ตัวช่วยคลายวิตกผู้ป่วยโควิด ระหว่างรอเตียง
24 กรกฎาคม 2564
127
วิศวะ จุฬาฯ ออกไอเดียรับมือวิกฤตเตียงขาด ผู้ป่วยล้น ด้วยการมอบ 'กล่องรอดตาย' ตัวช่วยผู้ป่วยโควิด-19 ระหว่างรอเตียง พร้อมอุปกรณ์สำคัญและแนวทางการดูแลตนเองที่บ้าน
ขณะที่สถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงแพร่กระจายในวงกว้างมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยอดผู้ติดเชื้อทั่วประเทศก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วันละกว่าหมื่นราย จำนวนเตียงที่มีทุกโรงพยาบาลรวมกันก็ยังไม่พอรองรับคลื่นผู้ป่วยที่ล้นออกมานอกโรงพยาบาล
ดังปรากฏในภาพข่าว
ผู้ป่วยรอเตียง นอนเรียงรายภายนอกอาคารโรงพยาบาลบ้าง ตามบริเวณลานจอดรถบ้าง และอีกมากที่ต้องรอเตียงอยู่ในที่พักอาศัยของตน ซึ่งแน่นอนย่อมเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อสู่สมาชิกในครอบครัวและเสียชีวิตในที่สุด
จากโจทย์ข้างต้น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) จึงได้ร่วมกับสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค และภาคเอกชนผู้คอยสนับสนุนอย่างบริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด และ The Sharpener ออกไอเดียสร้างสรรค์
กล่องรอดตาย à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸Šà¹ˆà¸§à¸¢à¹€à¸«à¸¥à¸·à¸­ 
ผู้ป่วยโควิด-19 ระหว่างรอเตียง
ทำไมต้อง 'กล่องรอดตาย' ของวิศวะ จุฬาฯ
“เหตุการณ์นี้เป็นภาวะวิกฤต ระหว่างที่ผู้ติดเชื้อรอเตียงอยู่ เขาจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือและเข้าสู่ระบบการดูแลและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยกล่องรอดตายเป็นกล่องสำหรับดูแลตนเอง ไม่ให้อาการทรุดลงกว่าเดิม”
ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงที่มาของกล่องรอดตาย
การตั้งชื่อ
กล่องรอดตาย แบบตรงไปตรงมาก็เพื่อหวังให้กระทบใจคนทั่วไป ซึ่งทั้งประชาชนและสื่อมวลชนต่างให้ความสนใจและพร้อมสนับสนุนโครงการ
กล่องรอดตายจะถูกส่งให้แก่ผู้ได้รับผลตรวจเป็นบวกจากการตรวจเชิงรุกของ สปคม. ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญในการผลักดันผู้ป่วยเข้าสู่ระบบเพื่อง่ายต่อการติดตามอาการ แต่ปัจจุบัน ผู้ป่วยยังจำกัดเฉพาะรายที่ตรวจโดย สปคม.เท่านั้น เบื้องต้น จุฬาฯ ได้ส่งกล่องรอดตายต้นแบบชุดแรกให้แก่ สปคม.แล้วจำนวน 100 กล่อง (7 กรกฎาคม 2564) และตั้งเป้าไว้ที่จำนวนอย่างน้อย 10,000 กล่อง กระจายให้ทั่วถึงผู้ป่วยรอเตียงให้ได้มากที่สุด
มีอะไรใน 'กล่องรอดตาย'บ้าง
กล่องรอดตาย 1 ชุด บรรจุอุปกรณ์จำเป็นในการดูแลตนเองระหว่างรอเตียงซึ่งเพียงพอสำหรับ 14 วัน หรือจนกว่าผู้ป่วยอาการไม่หนักจะหายดีหรือไม่ก็หาเตียงได้ อุปกรณ์เหล่านี้อ้างอิงจากกรมควบคุมโรค ได้แก่
ปรอทวัดไข้ 1 แท่ง
เครื่องตรวจวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 1 เครื่อง
ยาพาราเซทตามอล 500 มก. 50 เม็ด
ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล 90 แคปซูล
เจลแอลกอฮอล์ ปริมาณไม่เกิน 100 มล.
หน้ากากอนามัย 15 ชิ้น
“ผู้ป่วยรอเตียงหรือญาติที่เห็นรายการข้างต้นอาจใช้เป็นแนวทางจัดหาอุปกรณ์ดูแลตนเองและคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิต”
ผศ.ดร.จุฑามาศ กล่าว
การดูแล 
ผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการไม่หนักนั้น สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดคือการติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ โดยปกติผู้ป่วยจะต้องวัดอุณหภูมิและค่าออกซิเจนทุกวันๆ ละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น เพื่อรายงานแพทย์ให้ประเมินอาการซึ่งแพทย์ก็จะคอยแนะนำการรับประทานยาหรือให้ส่งตัวไปโรงพยาบาล

Related Keywords

Thailand , Phrae , , Alcoa , Chulalongkorn University , Panasonic , Alcoa David , Phrae Province , Board Engineering , Black Sun , Windows Live , Support Last , Ratana Varabhorn Order , Merit Chairman , Engineering Chic Medical Board , Hospital Panasonic , தாய்லாந்து , அல்கோவா , சுழலங்காரன் பல்கலைக்கழகம் , பானாசோனிக் , கருப்பு சூரியன் , ஜன்னல்கள் வாழ ,

© 2024 Vimarsana

comparemela.com © 2020. All Rights Reserved.